7 เมษายน 2560

ระเบิดเคมี : สหรัฐฯ VS รัสเซีย


ข้อเท็จจริงที่ยากจะมีผู้นำคนไหนกล้าเห็นแย้งก็คือเครื่องบินรบได้ทิ้งระเบิดลงในเขตจังหวัด Idlip ของซีเรียซึ่งอยู่ห่างจากพรมแดนตุรกีประมาณ 50-100 กิโลเมตร ของเช้าตรู่วันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา จนทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 80 คน
แต่ด้วยเป้าหมายทางการเมืองที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีการสรุปตีความข้อเท็จจริงดังกล่าวออกมาเป็นสองมุมสองด้านที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ด้านหนึ่ง ฝ่ายสหรัฐฯ (ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างท้วมท้นจากประเทศตะวันตกและตะวันออกกลางหลายๆประเทศ) ปักใจเชื่อมั่นเต็มร้อยว่า  ระเบิดที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตในครั้งนี้เป็นระเบิดเคมี ซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามโดยเด็ดขาด 

ในขณะที่ฝ่ายรัสเซีย (รวมทั้งอิหร่านและรัฐบาลซีเรีย) ยืนยันว่า โศกนาฏกรรมครั้งนี้ เกิดจากการที่เครื่องบินรบ(ของกองทัพซีเรีย) ทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายจริง แต่โชคร้ายว่า ระเบิดตกใส่ตรงบริเวณอาคารที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลใช้กักเก็บสารพิษจนระเบิดออกฤทธิ์ทำลายล้าง

ในมุมมองของฝ่ายสหรัฐฯ ระเบิดเคมีถือเป็นจุดอ่อนไหวที่สุดถึงขั้นเรียกว่าเป็นจุดตายสำหรับผู้นำซีเรียก็ว่าได้  เพราะเป็นสิ่งที่ทั่วโลกห้ามใช้โดยเด็ดขาดถือว่าละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศทุกฉบับ ขณะเดียวกัน รัฐบาลซีเรียก็มีประวัติเคยใช้ระเบิดเคมีและสารพิษร้ายในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามมาก่อน (จากการยืนยันของสหประชาชาติเรียกว่าเคยมีประวัติไม่ดี  เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวหาหรือฟันธงอีกครั้งก็ไม่ใช่เรื่องเกินเหตุหรือไร้มูลใดๆ





ภาพและลักษณะอาการทุกข์ทรมานของผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตบ่งบอกได้อย่างชัดเจนว่าเป็นผลมาจากก๊าซพิษอย่างแน่นอน ด้วยเหตุและตรรกะดังกล่าวนี้ จึงนำไปสู่ข้อสรุปในทันทีว่าทหารซีเรียใช้ระเบิดเคมีอย่างแน่นอน (เพราะน่านฟ้าบริเวณนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมโดยเด็ดขาดของรัสเซียและซีเรีย)
ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุร้าย ฝ่ายความ มั่นคงและกลาโหมของสหรัฐฯเชื่อมั่นในข้อมูล(โดยเฉพาะที่ได้จากการดักรับสัญญาณสื่อสารของฝ่ายทหารซีเรีย) และให้คำตอบยืนยันกับทรัมป์ว่ากองทัพซีเรียใช้ระเบิดเคมีจริง ทำให้ท่านผู้นำตัดสิน ใจสั่งให้เรือรบสหรัฐฯถล่มฐานทัพอากาศซีเรียจนย่อยยับ
ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า การตัดสินใจของผู้นำสหรัฐฯครั้งนี้ ละเมิดทั้งกฏหมายรัฐธรรมนูญของประเทศ(ที่ต้องให้รัฐสภาอนุมัติเห็นชอบก่อน)และกฏหมายระหว่างประเทศ (ที่ต้องผ่านมติเห็นชอบจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ)      
แต่ท่าทีของ"ทำเนียบขาว" เหมือนพยายามจะยืนหยัดว่าการทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อปกป้องมนุษยชาติ นั้นเป็นหน้าที่ที่ถือว่าสำคัญที่สุดเหนือกว่ากฏหมาย ใดๆ
คำอ้าง "ระเบิดเคมี" มีพลังและสร้างความชอบธรรมอย่างเหลือหลายให้กับรัฐบาลสหรัฐฯ มั่นใจได้เลยว่า "ทำเนียบขาว" จะยืนหยัดท่องเป็นคาถาไปตลอด (หรือจนกระทั่งทรัมป์พ้นจากตำแหน่ง)
ที่สำคัญก็คือระเบิดเคมี ได้กลายเป็น"อาวุธ" ทางการเมืองที่สหรัฐฯหวังผลเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของรัสเซีย เพราะการที่รัสเซียพยายามปกป้องรัฐบาลซีเรียอย่างที่สุด ก็ไม่ต่างจากการเห็นดีเห็นงามกับการใช้ระเบิดเคมีนั่นเอง  
ยิ่งไปกว่านั้น การที่ทรัมป์ยืนยันอย่างมั่นใจว่า รัสเซีย (แทนที่จะใช้คำว่า "ปูติน") น่าจะรับรู้ล่วงหน้าถึงแผนการชั่วร้ายใช้ระเบิดเคมีครั้งนี้ ก็ยิ่งตอกบย้ำทำให้รัสเซียตกอยู่ในฐานะผู้ร่วมสมคบคิดไปด้วยเพราะไม่ห้ามทั้งๆที่รู้ 
เป้าหมายหนึ่งของสหรัฐฯก็คือกดดันให้รัสเซีย(ซึ่งก็คือปูติน) มาถึงจุดที่ต้องเลือกระหว่างสหรัฐฯหรือซีเรีย




   



สำหรับท่าทีของฝ่ายรัสเซียนั้น แน่นอนที่สุดว่า ณ เบื้องต้น จะต้องยืนหยัดถือหางปกป้องซีเรียไว้ก่อนด้วยเหตุผลทางทหารและทางการเมืองระหว่างประเทศ (ทำนองผิดถูกอย่างไรค่อยไปว่ากันทีหลัง)
บนหน้าเสื่อแล้ว รัสเซียจำเป็นต้องยึดหลักกฏหมายระหว่างประ เทศ (หลักอธิปไตยของรัฐ) มาเป็นแนวทางในการต่อสู้และหักล้าง เหมือนที่เคยประสบความสำเร็จนับตั้งแต่ตัดสินใจส่งทัพทหารมาช่วยรัฐบาลซีเรียเมื่อปลายเดือนกันยายน 2015
นั่นคือ สหรัฐฯไม่มีสิทธิที่จะไปรุกล้ำหรือโจมตีรัฐใดรัฐหนึ่งด้วยอาวุธหนักตามใจปรารถนา เนื่องจากยังไม่มีการพิสูจน์ยืนยันแน่ชัดร้อยเปอร์เซนต์ว่านักบินซีเรียยิงระเบิดเคมีจริงหรือไม่ การกระทำของสหรัฐฯจึงถือเป็นการละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศ
ผู้นำรัสเซียได้ยกตัวอย่างในอดีตเมื่อปี 2003 มาเป็นอุทาหรณ์เตือนความทรงจำว่า ครั้งนั้นสหรัฐฯตัดสินใจบุกอิรัคข้อมูลข้ออ้างที่ว่าซัดดัม ฮุสเซนครอบครองอาวุธทำลายล้าง(และอาวุธเคมี) ซึ่งพิสูจน์ในภายหลังว่าไม่เป็นความจริง
ดังนั้น ถ้าเคยตัดสินใจพลาดด้วยข้อมูลผิดๆมาก่อน แล้วทำไมประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยไม่ได้
ข้อมูลข้ออ้างที่ว่าซัดดัม ฮุสเซ็นครอบครองอาวุธทำลายล้าง(และอาวุธเคมี)
โดยเชื่อ(ข้อมูลของหน่วยข่าวกรองลับแบบผิดๆ)ว่าซัดดัม ฮุสเซ็นครอบครองอาวุธทำลายล้าง(และอาวุธเคมี)จึงต้องรีบกำจัด

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...