นอกเหนือจากรถยนต์ประจำตำแหน่งของท่านผู้นำแล้ว
รถจักรยานยนต์ก็ถือว่ามีบทบาทเชื่อมโยงกับฐานะความเป็นผู้นำอย่างน่าสนใจ
รวมทั้งจักรยานที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้นำในโลกปัจจุบัน
ถึงแม้จะไม่ได้มีฐานะเป็น
“รถประจำตำแหน่ง” เหมือนรถยนต์คันหรูคันโตโก้ขรึม
แต่มอเตอร์ไซค์กลับมีบทบาทหลายๆประการ ที่รถยนต์ทำไม่ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการการหนุนเสริมภาพลักษณ์ของท่านผู้นำในหลายๆมิติ
โดยพื้นฐานที่สุด จักรยานยนต์มีฐานะเป็น “ยานพาหนะ” ที่ใช้สำหรับการคมนาคมเดินทางทั่วไปและสำหรับคนทั่วๆไป แต่สำหรับบุคคลในระดับผู้นำหรือผู้มีชื่อเสียงในวงการต่างๆแล้ว มอเตอร์ไซค์เป็นอะไรที่มากกว่าเพียงแค่ยานพาหนะคันหนึ่ง ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองกลุ่ม
โดยพื้นฐานที่สุด จักรยานยนต์มีฐานะเป็น “ยานพาหนะ” ที่ใช้สำหรับการคมนาคมเดินทางทั่วไปและสำหรับคนทั่วๆไป แต่สำหรับบุคคลในระดับผู้นำหรือผู้มีชื่อเสียงในวงการต่างๆแล้ว มอเตอร์ไซค์เป็นอะไรที่มากกว่าเพียงแค่ยานพาหนะคันหนึ่ง ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรกคือบรรดาผู้นำ
(รวมทั้งคนมีชื่อเสียงในวงการต่างๆ) ที่รักและหลงใหลในมอเตอร์ไซค์อย่างจริงจัง
มีความสุขกับการได้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ไปในพื้นที่ต่างๆด้วยตนเอง ได้สลัดความเป็น “ทางการ” ออกจากรถยนต์ประจำตำแหน่งที่ไม่สามารถขับขี่เองได้ และรู้สึกถึงความเป็นอิสระบนหลักอานสองล้อยนต์ที่มีเสน่ห์เหลือล้น ถือเป็นวิธีการพักผ่อนหย่อนใจที่มีคลาสมีราคา
(เหมือนเช่นกีฬากอล์ฟที่กลายเป็นกีฬาเฉพาะสำหรับผู้นำ)
ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่ง
มองหรือใช้มอเตอร์ไซค์ในฐานะ “เครื่องมือ” หนึ่งในการหนุนสร้างภาพพจน์ของผู้นำ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
ด้วยเอกลักษณ์หรือรูปแบบเฉพาะตัวของมอเตอร์ไซค์ (โดยเฉพาะฮาร์เลย์ เดวิดสัน)
ที่แตกต่างจากจักรยานยนต์ของคนทั่วๆไป จึงกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงตัวตนของผู้นำที่แตกต่างจากคนอื่นๆ
ที่สำคัญที่แตกต่างจากการขับเรือยอร์ชหรือเครื่องบินส่วนตัวก็คือ
การขับขี่มอเตอร์ไซค์ช่วยหนุนเสริมภาพลักษณ์ของผู้นำให้มีความเป็นมนุษย์
เหมือนเช่นปุถุชนตาดำตาสีฟ้าคนอื่นๆ
เพราะการขับขี่มอเตอร์ของผู้นำแทบจะไม่มีความเป็นพิธีการให้ยุ่งยาก
แต่คงความเป็นส่วนตัวหรือตัวตนของผู้นำคนนั้นๆ
จึงเป็นเหมือนการสื่อสารไปถึงสาธารณชนว่า ตัวผู้นำไม่ได้แตกต่างจากคนทั่วๆไป
สามารถเข้าถึงหรือสัมผัสได้
ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อความนิยมชมชอบผู้นำคนนั้นๆไม่มากก็น้อย
ด้วยความที่อังกฤษเป็นประเทศแรกๆที่ผลิตมอเตอร์ไซค์และมอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะหนึ่งที่จำเป็นในสมรภูมิศึกสงครามโลก ดังนั้น
การเชื่อมโยงระหว่างผู้นำกับมอเตอร์ไซค์จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกๆที่นี่
ถึงแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 (พระอัยกาของสมเด็จควีนอลิซาเบธที่ 2) จะทรงไม่เห็นด้วยกับการที่พระโอรสคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 (พระบิดาของสมเด็จควีนอลิซาเบธที่ 2) ทรงหลงใหลในมอเตอร์ไซค์
เพราะเชื่อว่า สุภาพบุรุษควรขับรถยนต์(ไม่ใช่มอเตอร์ไซค์) ก็ตาม
แต่ก็ไม่สามารถบังคับห้ามได้
แม้กระทั่ง สมเด็จควีนอลิซาเบธที่ 2
ในขณะที่ยังดำรงฐานะเป็นเจ้าฟ้าหญิงก็ทรงชื่นชอบมอเตอร์ไซค์เหมือนพระบิดา
พระองค์เคยทำหน้าที่เป็น “พลขับและช่างเครื่อง” ของกองทัพอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
และหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 1952 ก็ไม่เคยปรากฏให้เห็นว่า
พระองค์จะทรงขับขี่รถมอเตอร์ไซค์อีกเลย
อย่างไรก็ตาม
หลายๆพระองค์ก็ได้ชื่อว่าทรงชื่นชอบจักรยานยนต์อย่างมากๆ นับตั้งแต่เจ้าฟ้าชายฟิลิป (พระสวามี)
และเจ้าฟ้าชายชาลส์ (พระโอรส)
โดยเฉพาะเจ้าฟ้าชายวิลเลี่ยมและเจ้าฟ้าชายแฮร์รี่ที่ทรงชื่นชอบมากเป็นพิเศษ
ขณะเดียวกัน
กษัตริย์ในประเทศอื่นๆที่ได้ชื่อว่าชื่นชอบและหลงใหลในมอเตอร์ไซค์เป็นอย่างมาก ก็คือกษัตริย์ฮวน คาร์ลอสแห่งสเปน(1975-2014) กษัตริย์อัลแบร์ที่ 2
แห่งเบลเยี่ยม (1993-2013)
และพระเจ้าชาร์(กษัตริย์พระองค์สุดท้าย) แห่งอิหร่าน
ที่ควรจะต้องกล่าวถึงมากเป็นพิเศษก็คือกษัตริย์ฮุสเซน(1952-1999) และกษัตริย์อับดุลเลาะห์ที่ 2 แห่งจอร์แดน (1999-ปัจจุบัน)
ที่ปรากฏภาพเป็นประจักษ์ว่าทรงรักและหลงใหลในมอเตอร์ไซค์อย่างหาใครเทียบไม่ได้ ทั้งสองพระองค์ทรงขับขี่มอเตอร์ไซค์ด้วยพระองค์เอง
ถือเป็นการเสด็จไปเยี่ยมราษฏรในส่วนต่างๆทั่วประเทศ นอกจากนี้
สุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ มาเลเซียคนปัจจุบันก็ถือว่าทรงชื่นชอบรถจักรยานมากๆ เช่นกัน
โดยเฉพาะการตกแต่งรถของพระองค์เป็นลายเสือเหลืองสัญญลักษณ์ของประเทศ
การที่กษัตริย์และเจ้าฟ้าชายของหลายๆประเทศนิยมและรักในมนต์เสน่ห์ของมอเตอร์ไซค์ ทำให้มอเตอร์ไซค์กลายเป็นพาหนะที่มีระดับไปในตัว (บวกกับภาพยนตร์หลายๆเรื่องและพระเอกหลายๆ คนที่ทำให้ภาพพจน์ของจักรยานยนต์ดูดีขึ้นไปด้วย)
ในฟากผู้นำของสหรัฐฯซึ่งถือเป็น
“บ้าน” ของสุดยอดจักรยานยอดนิยมสำหรับผู้นำอย่างฮาร์เลย์
เดวิดสัน ดูเหมือนแทบจะไม่ปรากฏว่ามีอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ
คนใดที่หลงรักการขับขี่มอเตอร์ไซค์อย่างมากๆ
แต่กลับกลายเป็นกลุ่มวุฒิสมาชิกและผู้ว่าการรัฐหลายๆคนที่นิยมชมชอบมอเตอร์ไซค์
อาจจะมีผู้นำบางคนที่อาจจะอยู่ในระดับ “สนใจ” อย่างเช่น ดไวท์ ไอเซนฮาวร์ โรนัลด์ เรแกน และจอร์จ บุช ในขณะที่บิล คลินตันก็เคยพยายามสื่อภาพว่าเป็นคนรักมอเตอร์ไซค์ในช่วงระหว่างรณรงค์หาเสียงเป็นประธานาธิบดีสมัยแรก แต่ที่ได้ชื่อว่าเป็น “นักบิด” ตัวจริงคนหนึ่งก็คือจอห์น เคอรี่ รัฐมนตรีต่างประเทศ รวมทั้งอาร์โนลด์ ชวาร์เซเน็กเกอร์ในฐานะผู้ว่าการรัฐแคลิเฟอร์เนีย ที่คนอเมริกันยังคงประทับใจภาพมอเตอร์ไซค์คันดุสวมแว่นดำถือปืนโตในภาพยนต์เรื่อง Terminator 2 แบบไม่จางหาย
ประธานาธิบดี
จิลมา รูเซฟแห่งบราซิลก็เคยแอบซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ให้รัฐมนตรีว่าการความมั่นคง
แห่งสังคมเป็นผู้ขับตระเวนไปทั่วเมืองหลวงแบบปิดบังไม่มีใครทราบไม่มีใคร เห็น
ชนิดที่ทำให้คนบราซิลทั้งประเทศช๊อคแบบไม่เชื่อ
แต่สุดท้ายก็พากันชื่นชมในตัวผู้นำหญิงคนนี้ที่แสดงออกซึ่งภาพลักษณ์ของความ
เป็นปุถุชนคนหนึ่ง ว่ากันว่า ถึงแม้จะเป็นผู้หญิงวัยเกิน 60 แล้ว
แต่ท่านผู้นำหญิงก็เกิดหลงใหลมนต์เสน่ห์ของช๊อปเปอร์คันใหญ่ขึ้นมาทันที
ผู้นำระดับโลกที่รู้จักใช้ประโยชน์จากมอเตอร์ไซค์เพื่อผลทางการเมืองมากที่สุดคนหนึ่งก็คือ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูตินแห่งรัสเซีย เป็นที่รับรู้โดยทั่วไปว่า
ปูตินชอบแสดงออกให้โลกเห็นว่าเป็นผู้นำที่มากความสามารถได้ทั้งบู๊ทั้งบุ๋น
สามารถทำอะไรๆได้หมด
โดยเฉพาะการแสดงออกให้ประจักษ์ว่าเป็นผู้นำแบบชายชาตรีมีสามศอกทรหดแข็งแรงที่สุด
ตั้งแต่ว่ายน้ำ ขี่ม้า ขับเครื่องบิน ขับรถแข่ง เล่นยูโด และอีกสารพัด
แต่การขับมอเตอร์ไซค์กลับมีความหมายมากที่สุด
นอกเหนือจากการขับมอเตอร์ไซค์ฮาร์เลย์ เดวิดสัน(สามล้อ) เพื่อโชว์ความเป็นแมนๆแล้ว
ปูตินกลับใช้ประโยชน์เพื่อผลทางการเมืองอย่างน่าทึ่ง
โดยเฉพาะการประกาศนับญาติเป็นพี่น้องกับกลุ่ม “หมาป่าราตรี” ซึ่งถือเป็นกลุ่มมอเตอร์ไซค์ที่ใหญ่ในประเทศมีสมาชิกกว่าห้าพันคน
จนประสบความสำเร็จในดึงกลุ่มที่ทรงพลังที่สุดกลุ่มหนึ่งในประเทศเข้าเป็นพวกอย่างสนิทใจด้วย
แก๊งค์ “หมาป่าราตรี” (ที่ดูเหมือนเป็นกองทัพทหารนี้)
ได้สร้างคุณูปการทางการเมืองให้แก่ปูตินอย่างมาก เพราะทำหน้าที่เป็นกองกำลังแนวหน้า(แบบเนียนๆ)เปิดทางให้มีการบุกยึดไครเมียร์แยกออกจากยูเครนเมื่อปีที่แล้ว
จนหัวหน้าแก๊งค์ถูกขึ้นแบล็คลิสต์จากรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อปลายปีที่แล้ว
นอกจากนี้
ภาพของปูตินขับรถฮาร์เลย์ เดวิดสันอย่างทะมัดทะแมงนำขบวนแก็งค์ “หมาป่าราตรี” รุกคืบเข้าไปในยูเครน(ก่อนยึดจริง)
ถูกเปรียบเทียบกับภาพความเป็นแฟมิลี่แมนของประธานาธิบดีบารัค
โอบาม่าขณะกำลังปั่นจักรยานธรรมดาๆ
ว่านี่คือความแตกต่างระหว่างผู้นำที่เข็มแข็งและผู้นำที่อ่อนแอ(?)
แต่ผู้นำที่ดูเหมือนเท่ห์ที่สุดก็คือรัฐมนตรีคลังคนปัจจุบันของกรีซ ที่หลงใหลและขับมอเตอร์ไซค์ไปทำงานและร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีโดยไม่อายใคร จนสื่ออังกฤษขนานนามว่า “นักบิดมาสซิสต์”
แต่ผู้นำที่ดูเหมือนเท่ห์ที่สุดก็คือรัฐมนตรีคลังคนปัจจุบันของกรีซ ที่หลงใหลและขับมอเตอร์ไซค์ไปทำงานและร่วมประชุมคณะรัฐมนตรีโดยไม่อายใคร จนสื่ออังกฤษขนานนามว่า “นักบิดมาสซิสต์”
ในบรรดานายกรัฐมนตรีของประเทศไทย
ต้องถือว่า พลเอกชาติชาย
ชุณหะวัณเป็นผู้นำไทยคนแรกๆที่หลงใหลมอเตอร์ไซค์ช็อปเปอร์มานานแล้ว
(เหมือนเช่นกษัตริย์ฮุสเซนแห่งจอร์แดนและอดีตประธานาธิบดีซูฮาร์โตแห่งอินโดนิเซีย)
แต่ไม่เคยปรากฏภาพหรือเป็นข่าวมาก่อนเลย
จนกระทั่งก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศในปีพ.ศ. 2531
ทั้งนี้
ก่อนที่รับตำแหน่ง พลเอกชาติชายเคยยอมรับว่า “อายุมากแล้ว ตอนนี้ผมอายุ 69 ปี เป็นนายกรัฐมนตรีตอนอายุ
70-71 ปี ไม่สนุกแน่ ผมแก่แล้วทำไม่ไหว” แต่เมื่อรับตำแหน่งหน้าที่ผู้นำประเทศแล้ว
พลเอกชาติชายไม่อาจปล่อยให้สังคมมอง(ผิดๆ)ว่าเป็น “ผู้นำแก่” ที่ไร้น้ำยาได้ มิฉะนั้น จะกลายเป็นอุปสรรค(ทางจิตวิทยา)
ต่อการบริหารประเทศได้ ทำให้ประชาชนหมดความเชื่อถือตั้งแต่ต้น
ด้วยเหตุนี้
มอเตอร์ไซค์จึงถูกเลือกใช้ให้เป็น “เครื่องมือ”
หนึ่งในการสร้างภาพพจน์ของท่านผู้นำอย่างได้ผล ทำให้ “น้าชาติ” (ไม่ใช่ “ลุงชาติ”)
กลายเป็นคนที่ดูกระฉับกระเฉง มีชีวิตชีวาและร่ำรวยเสน่ห์
จนได้รับฉายาว่า “น้าชาติมาดนักซิ่ง”
อย่างเหมาะสมที่สุด
สำหรับ “น้าชาติ” แล้ว ความรู้สึกที่ว่า “ความสนุกสนานในอายุผมดูเหมือนจะหมดไปแล้ว” นั้น
จะไม่หมดจริงยามเมื่ออยู่บนหลังอานมอเตอร์ไซค์คันโปรด
การสร้างอนุสาวรีย์ของ
“น้าชาติ” คู่กับมอเตอร์ไซค์
และภาพ 3 มิติของพลเอกชาติชายขี่ช็อปเปอร์ ที่จังหวัดนครราชสีมา ย่อมเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของอดีตนายกรัฐมนตรีคนนี้ได้เป็นอย่างดี
การขับขี่รถช็อปเปอร์ของพลเอกชาติชายต้องถือเป็นความชอบความหลงใหลเป็นรสนิยมส่วนตัวอย่างแท้
จริง (ควบคู่กับการเต้นรำ) แต่
ภาพที่สังคมเห็น พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตรกำลังขับขี่มอเตอร์ไซค์ผู้หญิงสีเหลืองต้องถือเป็นภาพที่ตรงกันข้าม
กับภาพของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้นิยมสูบซิการ์อย่างสิ้นเชิง
ดูเหมือนว่า
พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้มีพื้นฐานชื่นชอบหลงใหลในมอเตอร์ไซค์เหมือนพลเอกชาติชาย
และคงไม่มีมีความคิดที่จะเริงร่าหาความสนุกจากการขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างแน่นอน
แต่พ.ต.ท.ทักษิณเลือกขับขี่มอเตอร์ไซค์แบบบ้านๆที่ชาวต่างจังหวัดนิยมใช้ (นอกเหนือจากการการอาบน้ำนุ่งผ้าขาวม้า กินข้าวกับชาวบ้าน และนอนวัด เพื่อสื่อสารและสร้างภาพพจน์ทางการเมืองว่า
เป็นกันเองหรือไม่แปลกแยกกับประชาชน
ถึงแม้จะมีความรักหลงใหลที่แตกต่างกันอย่างมาก
แต่ทั้งพลเอกชาติชายและพ.ต.ท.ทักษิณเลือกใช้มอเตอร์ไซค์ในฐานะ “เครื่องมือ” สร้างภาพพจน์มากกกว่าการเป็นเพียง
“ยานพาหนะ” เพื่อสัญจรหรือเป็นงานอดิเรกเพื่อความสนุกสนาน
ล่าสุด แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาก็ขับขี่มอเตอร์ไซค์สวมหมวกแก๊ปสีแดงอวดโชว์รอบทำเนียบจนเป็นข่าวฮือฮา เข้าใจว่า น่าเป็นการขับขี่แบบไม่มีสคริ๊บเขียนล่วงหน้าเพื่อผลทางการเมืองใดๆ อุปมาเหมือนบิ๊กตู่เห็นมอเตอร์ไซค์แล้ว “อดเปรี้ยวไม่ได้” (เพราะมีความชอบความหลงใหลเป็นทุนเดิมที่ไม่ต่างจากพลเอกชาติชาย) เหมือนเช่นอดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชที่เห็นโต๊ะทำอาหารเมื่อไหร่เป็นต้องรีบปลี่เข้าไปทันที
เพราะฉะนั้นแล้ว
มอเตอร์ไซค์สำหรับท่านผู้นำแต่ละคน
อาจจะมีความหมายหรือความสำคัญแตกต่างกันได้เสมอ
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น