31 ตุลาคม 2556

พระวิหารพิพาท - ความบังเอิญหรือมหัศจรรย์แห่งตัว S

.


                เทศกาลวันสงกรานต์ (Songkran) ที่ผ่านมาถือว่าร้อนแรงกว่าปกติ ด้วยเหตุกรณีข้อพิพาทปราสาทพระวิหารถูกนำขึ้นเวทีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกเป็นครั้งที่ 2 ในประวัติศาสตร์  เป็นการตอกย้ำว่า นี่คือประเด็นที่อ่อนไหวที่สุดในความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชา
    ปราสาทเขาพระวิหารอันยิ่งใหญ่วิจิตราสร้างขึ้นหลักๆในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่1 (Suryavarman I) ตั้งอยู่บริเวณตำบลเสาธงชัย (Saothongchai) จังหวัดศรีษะเกส (Srisaket)  และระหว่างเมืองเสียมราฐ (Siem Reap) และสตึงเตรง (Stung Treng)ในทางฝั่งกัมพูชา 



ปราสาทเขาพระวิหารถือเป็นเสมือนวิหารสวรรค์อันศักดิ์สิทธิ์ (Sanctuary) ของผู้คนในอาณาบริเวณเทือกเขาพนมดงรักมาหลายศตวรรษ มีชื่อเดิมตามปรากฏในศิลาจารึกคือ ศีรศิขเรศวร” (Sikharesvara)  และเปรียบเป็นเพชรยอดมงกุฎขององค์ศิวะเทพ (Shiva)   


ความวิจิตรของปราสาทพระวิหารที่สงบนิ่ง


อาจกล่าวได้ว่า ความยิ่งใหญ่อลังการและโดดเด่นของปราสาทเขาพระวิหารถูกเก็บให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวในป่าทึบดงรักมากว่า 4 ศตวรรษโดยไม่สร้างปัญหาใดๆให้กับมนุษยชาติของทั้งสองประเทศ   จน กระทั่ง ปราสาทเขาพระวิหารเริ่มเข้าสู่บทใหม่ของประวัติศาสตร์ชาติสยาม (Siam) ภายหลังจากที่ถูกค้นพบโดยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (Prince Sanphasit) ในปีพ.ศ. 2442  ก่อนที่รัฐสยามจะบรรลุข้อตกลงในอนุสัญญากับฝรั่งเศสในอีก 5 ปีต่อมา (ปี ค.ศ.1904 และ 1907)  โดยมีการเปิดเผย(และอ้าง)ว่า ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์  (Sathan Sanitwong) เป็นตัวแทนของฝ่ายสยามในการสำรวจและจัดทำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000  ร่วมกับฝรั่งเศสภายใต้อนุสัญญาดังกล่าว ซึ่งได้กลายเป็นเอกสารหลักฐานสำคัญในการตัดสินของศาลโลกในปีพ.ศ. 2505 (และอาจจะรวมถึงปี 2556 ด้วย?)



กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ผู้สร้างประวัติศาสตร์ค้นพบปราสาทพระวิหาร


จารึกคำว่า "สรรพสิทธิ" สลักเป็นหลักฐาน

ม.ร.ว. สท้าน สนิทวงศ์ ผู้ร่วมในการจัดทำแผนที่

ในยุคสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถือเป็นช่วงจุดเริ่มต้นของกรณีพิพาทปราสาทเขาพระวิหาร   กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นโบราณสถานของชาติเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2483 หนึ่งปีหลังจากที่เปลี่ยนชื่อประเทศ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่า ชื่อ สยาม มีความหมายดั้งเดิมตามภาษาเขมรและนัยยะทางประวัติศาสตร์(ที่ไม่เป็นมงคล)ว่าหมายถึง ขโมย (steal) ดินแดนของกัมพูชา และเป็นทาส (slave) ของคนเขมร  และหนึ่งปีก่อนที่ไทยจะเปิดศึกทำสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส 


               
สยามในอดีต




 ประวัติศาสตร์ไทยมักพูดถึงดินแดน 4 จังหวัดที่ได้รับคืนจากฝรั่งเศส(เนื่องจากแรงกดดันจากญี่ปุ่น) นั่นคือจำปาศักดิ์ เสียมราฐ พระตะบอง และไชยะบุรี  แต่ที่สมควรกล่าวถึงเป็นพิเศษก็คือเขตที่เรียกว่าสตึงเตรง รัฐบาลไทยในขณะนั้นถึงกับประกาศว่านี่คือรางวัลอันทรงคุณค่า เพราะปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งถือเป็นศาสนสถานอันเก่าแก่ที่มีความสวยงามอลังการและความศักดิ์สิทธิ์ (sacred) ที่สำคัญยิ่งใหญ่เทียบเท่ากับนครวัดตั้งอยู่ในเขตเมืองสตึงเตรงนั่นเอง

ว่ากันว่า การสูญเสียดินแดนเหล่านี้ให้แก่ประเทศไทยสร้างความรู้สึกเคียดแค้นเกลียดชังในหมู่คนเขมรทุกระดับเป็นอย่างมาก แบบเรียนประวัติศาสตร์เขมรระบุว่า ถึงกับทำให้สมเด็จศรีสวัสดิ์มณีวงศ์ (Sisowath Monivong) แห่งกัมพูชาเสด็จสวรรคตด้วยความเจ็บปวดพระทัยเป็นยิ่งนัก และเชื่อได้ว่า สมเด็จเจ้าสีหนุ (Prince Sihanouk) ซึ่งได้รับเลือกให้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ของกัมพูชาพระองค์ต่อมาย่อมมีความรู้สึกไม่แตกต่างกัน(หรืออาจจะมากกว่า)

ในวันที่สมเด็จสีหนุก้าวเดินขึ้นพระวิหาร

การสละราชสมบัติ และก้าวสู่เวทีการเมืองในฐานะนายกรัฐมนตรีและประมุขแห่งรัฐ  คือช่วงเวลาที่เจ้าสีหนุสามารถแสดงบทบาททางการเมืองได้สอดคล้องกับความทะเยอทะยาน โดยเฉพาะบทบาทที่เกี่ยวข้องกับกรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร
              สมเด็จเจ้าสีหนุมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะได้ปราสาทเขาพระวิหารกลับคืนมาเป็นสมบัติของชาติกัมพูชา  เพราะ(เชื่อว่า)จะทำให้พระองค์ได้รับนิยมอย่างล้นหลามจากเขมรอย่างไม่มีข้อสงสัยท่ามกลางความยุ่งยากทางการเมืองภายในประเทศ ณ เวลานั้น

          ในขณะเดียวกัน   เมื่อการเจรจากับรัฐบาลไทยไม่ประสบความสำเร็จ  สมเด็จเจ้าสีหนุจึงได้นำเรื่องกรณีพิพาทนี้เข้าสู่กระบวนการของศาลโลกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2502 แบบไม่เกินความคาดหมายของรัฐบาลไทย  เพราะท่าทีของรัฐบาลกัมพูชาในช่วงขณะนั้นชัดเจนเหลือเกิน  เริ่มจากนายซัม ซารี (Sam Sari)  เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำกรุงลอนดอนตีพิมพ์บทความระบุว่า  การใช้กำลังเข้ายึดครองพระวิหารของกำลังทหารไทยนั้นเป็นการกระทำแบบฮิตเลอร์ และที่เลวร้ายกว่านั้น ยังได้กล่าวพาดพิงหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ไทยด้วย 
ต่อมา นายซิม วาร์ (Sim Var) นายกรัฐมนตรีกัมพูชา(ในขณะนั้น)ได้กล่าวประณามคนไทยทั้งชาติอย่างรุนแรง และว่าผู้นำไทยเป็นเหมือนเสือหิว ควรใช้อีแร้งเป็นเครื่องหมายของชาติแทนครุฑจึงจะเหมาะสม(กว่า)  และชัดเจนที่สุด เมื่อนายซอนซาน (Son San) เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยได้แถลงยืนยันว่า กัมพูชาจะยุติการเจรจากับรัฐบาลไทยและ(จะ) อาศัยศาลโลกเป็นที่พึ่งพา(สุดท้าย)
เมื่อเริ่มเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลโลกในช่วงปี 2502  รัฐบาลไทยโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ (Sarit Thanarat) ได้ดำเนินการด้วยจุดยืนที่ชัดเจนและแข็งกร้าวอย่างที่สุด  พร้อมทั้งแต่งตั้งม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช (Seni pramoj) เป็นหัวหน้าคณะทนายความฝ่ายไทย โดยมีเซอร์แฟรงค์ ซอสคิซ (Sir Frank Soskice) เป็นหัวหน้าทนายชาวต่างชาติ


.
ในวันที่จอมพลสฤษดิ์หลั่งน้ำตา


หม่อมเสนีย์กับความล้มเหลวไม่สามารถเป็นฮีโร่ของคนไทยได้




ในที่สุด ศาลโลกได้พิจารณาตัดสินในปี 2505 ว่าปราสาทพระวิหารตั้งอยู่อาณาเขตภายใต้อธิปไตย (sovereignty) ของกัมพูชา  สร้างความโกรธแค้นและผิดหวังให้กับคนไทยอย่างมาก  นอกจากนี้ ศาลโลกยังระบุให้รัฐบาลไทยมีพันธะที่จะต้องส่งมอบวัตถุโบราณต่างๆ รวมทั้งสิ่งประติมากรรม (sculptures) แผ่นศิลา (stelae)  ตลอดจนรูปหินทราย (sandstone model)  ต่างๆที่ได้ถูกโยกย้ายออกไปจากปราสาทพระวิหารโดยฝ่ายไทยนับตั้งแต่ปี 2497 คืนให้แก่รัฐบาลกัมพูชาด้วย
หลังจากนั้น ดูเหมือนว่า กรณีปราสาทพระวิหารได้ถูก พักอย่างค่อนข้างสงบเป็นระยะเวลากว่า 4 ทศวรรษ  แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่สหัสวรรษใหม่ที่ 21 กรณีปราสาทพระวิหารก็กลับฟื้นคืนชีพ และพัฒนากลายเป็นประเด็นที่อ่อนไหวที่สุด(อีกครั้ง)ในความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกรุงเทพฯและพนมเปญ ตราบเท่าที่ไม่สามารถหาข้อสรุปหรือข้อตกลง (settlement) ที่ชัดเจนที่สุดได้  จนเลวร้ายนำไปสู่การปะทะกันทางทหาร (skirmishes) โดยมีกองกำลังสุรนารี (Suranari Force) กองทัพภาคที่ 2 (Second Army) ทำหน้าที่ปกป้อง (safeguard) อธิปไตยของประเทศ ครอบคลุมตั้งแต่จังหวัดศรีษะเกสไปจนถึงสุรินทร์ (Surin)  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแต่งตั้งล่าสุดให้พ.อ.สมชาย เพ็งกรูด (Somchai Pengkrut) นายทหารสายบู๊ที่เคยเป็นผบ.กองกำลังเฉพาะกิจพระวิหารหมายเลข 1 และปะทะสู้รบกับทหารเขมรมาก่อน ขึ้นเป็นรองผบ.กองพลทหารราบที่ 6 (Sixth Infantry Division) ทำหน้าที่เป็นผบ.หน่วยเฉพาะกิจกองกำลังสุรนารีที่ 1 ที่ดูแลเขาพระวิหารด้วย ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงท่าทีของกองทัพบกได้ดีที่สุด  ในสถานการณ์ที่อาจจะตึงเครียด ณ วินาทีที่ศาลโลกอ่านคำตัดสินในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้



หากมองย้อนกลับไป เชื่อว่าคงไม่มีใครในยุคสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัยที่มีดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (Surin Pitsuwan) เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศจะคาดคิดว่า ปี 2543 จะถูกนำมาเชื่อมโยงและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความยุ่งยากต่างๆ ในเวลาต่อมา     ภายหลังจากที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร(Sukhumbhand Paribatra) รมช.ต่างประเทศลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับรัฐบาลกัมพูชา จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง กลายเป็นเหมือนดาบสองคมที่ไม่อาจระบุได้ชัดเจนว่า โดยเนื้อหาและเจตนารมณ์แล้ว “MOU’43” เป็น วัคซีนหรือไวรัส ต่อประเทศไทยกันแน่

 

ถึงที่สุดแล้ว กรณีปราสาทพระวิหารกลายเป็นจุดศูนย์กลางแห่งความขัดแย้งและข้อพิพาท ภายหลังจากที่กัมพูชาพยายามที่จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียวตั้งแต่ต้นปี 2548 แต่ถูกทักท้วงและคัดค้านโดยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ (Surayud Chulanont) เพราะเชื่อว่ากัมพูชามีเจตนาพ่วงเอาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรของไทยเข้าไปด้วย



ต่อมา ในยุคสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช (Samak Sundaravej) ดูเหมือนว่า ฝ่ายไทยมีท่าทีที่เป็นมิตรกับกัมพูชามากขึ้น จนนำไปสู่การลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาระหว่างนายนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศและนายสก อาน (Sok An) รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยฝ่ายกัมพูชายินยอมขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว ไม่รวมพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร  ท่ามกลางกระแสคัดค้านและท้วงติงจากหลายๆฝ่าย  จนกระทั่ง ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า คำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญของประเทศและถือเป็นโมฆะ



กระแสการต่อต้านทางการเมืองภายในประเทศอันเนื่องมาจากกรณีปราสาทพระวิหารยังคงร้อนแรงยิ่งจนดูเหมือนเป็นอาถรรพ์ และได้กลายเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยภายใต้การนำของนายสนธิ ลิ้มทองกุล (Sondhi Limthongkul)  เดินขบวนขับไล่รัฐบาลชุดต่อมาที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (Somchai Wongsawat) เป็นนายกรัฐมนตรี 

 

สนธิ ลิ้มทองกุลกับพระวิหารพิพาทที่แยกกันไม่ออก

 

ในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ    ถึงแม้ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ (Suthep Thaugsuban) รองนายกรัฐมนตรีจะสร้างวาทกรรมเปรียบเปรยพื้นที่ซับซ้อน 4.6 ตร.กม. ว่ามีขนาดเพียงเท่าแมวดิ้นตาย    แต่บทบาทของนายสุวิทย์ คุณกิตติ (Suwit Khunkitti) รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถือว่าโดดเด่นที่สุด โดยเฉพาะการคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของยูเนสโก กระทั่งนำไปสู่การประกาศถอนตัวออกจากภาคีสมาชิกมรดกโลกอย่างคาดไม่ถึง

ใครจะคาดคิดว่า ถึงที่สุดแล้ว กรณีพิพาทปราสาทพระวิหารก็นำทั้งสองประเทศกลับคืนสู่เวทีของศาลโลกอีกครั้งหนึ่งในปี 2556  ด้วยความวิตกว่า ประเทศไทยอาจจะต้องสูญเสียดินแดนบริเวณรอบๆปราสาทพระวิหารกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร รวมไปถึงพื้นที่แหล่งโบราณสถานที่สำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับตัวปราสาทอย่างสระตราว (Sa Tao)  และสถูปคู่ (Sathup Khu)
ตลอดช่วงระหว่างวันที่ 15-19 เมษายน 2556  เอกอัคราชทูตวีรชัย พลาศรัยและคณะทนายที่ปรึกษาทางกฎหมายสร้างความประทับใจแกคนไทยเป็นที่สุด จนดูเหมือนว่า บดบังบทบาทของนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล (Surapong Tovichakchaikul) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ และพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต (Sukumpol Suwanathat) รัฐมนตรีกลาโหม เสียสนิท


ตลอดช่วงเวลาของการให้การด้วยวาจาที่ศาลโลก ทูตวีรชัยหรือทูตแสบ (Sab) ผู้มีดีกรีปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne Universités) และมีศรีภรรยาคู่ชีวิตเชื้อสายสวิส (Swiss) ได้ยึดหลักในการทำหน้าที่ครั้งนี้ว่า สู้เต็มที่(soo-tem-ti)  และ สนุกแน่ (sa-nook-nae) จนชนะใจคนไทยทั้งประเทศ 


ทูตแสบที่อาจทำให้ผู้นำเขมรปวดแสบ?

ในขณะเดียวกัน นอกเหนือจากอลินา มิรอง ทนายความผู้ช่วยที่โชว์ความสามารถในการชี้นำและให้เหตุผลจนกลายเป็นดาวเด่นของสังคมไทยแล้ว นามของวิลเล่ม สเกมาฮอน (Willem Schermerhorn) ก็สมควรต้องได้เครดิตไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน เพราะเป็นผู้เพียงพยายามอย่างเหลือหลายจนค้นพบแผ่นที่  “ big map” ได้ที่เมืองสตุ๊ตการ์ด (Stuttgart) เยอรมนี เป็น “big map” ที่อลินา มิรองใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงทำลายความน่าเชื่อถือของแผนที่ภาคผนวก 1 ของทางฝ่ายกัมพูชาได้อย่างน่าประทับใจ 


วิลเล่ม สเกมาฮอนอดีตนายกฯเนเธอร์แลนด์ที่ผันตัวเองมาร่วมในทีมฝ่ายไทย


แต่อย่างไรก็ตาม  การร้องขอของผู้พิพากษาชาวโซมาเลีย (Somalia) ที่ให้ทั้งสองประเทศส่งเอกสารเพิ่มเติมและชี้แจงเรื่องพิกัดในแผนที่ ก็ย่อมสร้างความหวั่นวิตกให้แก่ฝ่ายไทยไม่น้อย เพราะอาจจะมีผลต่อการพิจารณาตัดสินใจของคณะตุลาการทั้ง 17 คน (seventeen) ที่มีผู้พิพากษาจากสโลวาเกีย (Slovakia) เป็นประธาน เพื่อยุติมหากาพย์ (saga) แห่งความยุ่งยากยุ่งเหยิงระหว่างสองประเทศมานานกว่า 60 ปี 


ผู้พิพากษาโซมาเรียที่อาจะเข้าสู่ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์?

แน่นอนว่า หากศาลโลกตัดสินให้เป็นคุณเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายกัมพูชาแล้ว คงไม่มีใครที่จะมีความสุขมากไปกว่าสมเด็จฮุนเซน  (Somdech Hun Sen) อีกแล้ว เพราะปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเขตเมืองสตึงเตรงบ้านเกิดของผู้นำคนนี้  และเชื่อว่า จะใช้เป็นอาวุธหยุดยั้งพลังของนายสม รังสี (Sam Rainsy) ผู้นำฝ่ายค้านที่กำลังมาแรงและท้าทายอำนาจทางการเมืองของสมเด็จฮุนเซนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
หากเป็นเช่นนั้นจริง สองผู้นำแห่งตระกูลชินวัตร (Shinawatra) ทั้งนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์และ พ.ต.ท.ทักษิณย่อมตกเป็นเป้าหมายทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน เหมือนเช่นที่อดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวชและสมชาย วงศ์สวัสดิ์ต้องเผชิญมาก่อนหน้านี้

ภาพประวัติศาสตร์ในวันที่อ.ศิลป์ พีระศรีพากลุ่มนักศึกษาไปที่ปราสาทพระวิหารในปี 2502


แต่อย่างน้อยที่สุด ตลอดช่วงเวลาร่วม 6 ทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยก็ได้รู้จักชื่อของบุคคลชั้นครูที่มีบทบาทและมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรณีพระวิหารพิพาทนี้มากหน้าหลายตา ตั้งแต่อาจารย์ศิลป์ พีระศรี(Silpa Pirasri)  มจ.สุภัทรดิศ ดิศกุล (Subhadradis Diskul)  อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม(Srisak Walliphodom) อาจารย์สมปอง สุจริตกุล (Sompong Sucharitkul)  รวมทั้งอาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ (Sujit Wongthes)


.

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...