ณ ปัจจุบันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า
วิกฤติสงครามการเมืองในซีเรียคือศูนย์รวมความสนใจและความหวั่นวิตกของคนทั้งโลก
เพราะมีเงื่อนไขที่สามารถพัฒนาไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 ได้
หากกล่าวชี้ชัดเป็นกรณีพิเศษแล้ว ตุรกีถือเป็นตัวละครตัวเอกที่สำคัญมากๆในความขัดแย้งครั้งนี้ โดยเฉพาะบทบาทและฐานะทั้งเป็นผู้เปิดเกมและผู้ปิดเกมให้กับรัสเซียต่อปัญหาวิกฤติซีเรียที่ยืดเยื้อมานานกว่าสี่ปี
ที่จะต้องบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์
ตุรกีผู้เปิดเกมให้รัสเซีย:
ในบทวิเคราะห์เรื่อง “วิกฤตซีเรีย
: รัสเซียมาแล้ว” (มติชนรายวัน, 16 ตุลาคม 2558) ได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นแรกๆที่ผู้นำทหารอิหร่านโน้มน้าวและผลักดันให้รัสเซียก้าวเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิกฤติในซีเรีย
จนกระทั่งนำมาสู่ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในซีเรียตั้งแต่วันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันนี้
หากวิเคราะห์เจาะลึกในรายละเอียดเพิ่มเติมแล้ว
จะพบว่า การเปลี่ยนแปลงจุดยืนของตุรกีต่อปัญหาวิกฤติในซีเรียแบบกลับลำคือมูลเหตุที่สำคัญมากถึงมากที่สุดที่ส่งผลทำให้ผู้นำทหารอิหร่านจำเป็นต้องขยับและเดินทางไปมอสโคว์ด้วยภาระกิจลับและเร่งด่วนที่สุด
ก่อนหน้านั้น ในช่วงระยะเวลากว่า 9-10
เดือนแรกที่สหรัฐฯนำกับพันธมิตรนานาประเทศเปิดฉากปฏิบัติการโจมตีกองกำลังกลุ่ม ISIS
ในซีเรียตั้งแต่เดือนกันยายน 2014 บทบาทของตุรกีถือว่าน่าผิดหวัง(ในสายตาของตะวันตก) เพราะรั้งรอ อิดออดและสงวนตัวไม่ยอมเข้าร่วมแบบเต็มตัวทั้งๆที่มีพรมแดนชิดติดกันและได้รับผลกระทบจากวิกฤตซีเรียมากที่สุดชาติหนึ่ง
ด้วยเหตุว่าเป้าหมายหลักของตุรกีไม่ใช่อยู่ที่กลุ่ม ISIS แต่อยู่ที่การกำจัดประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาดแห่งซีเรียและกองกำลังชาวเคิร์ด
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญมากที่ทำให้ตุรกีต้องกลับลำและปรับเปลี่ยนนโยบายต่อปัญหาในซีเรียจนกลายเป็นจุดพลิกผันครั้งใหญ่สำหรับวิกฤติในซีเรียชนิดที่ประธานาธิบดีอัสซาดต้องขอบคุณ
ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุ การณ์สำคัญๆอย่างน้อยสองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายเดือนมิถุนายนและกรกฏาคม
ดังนี้