18 พฤศจิกายน 2558

“นายกฯคนนอก” ไม่ต้องลอก(แบบ)ใคร

.


               ในขณะที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)กำลังทำงานอย่างขะมักเขม้น เพื่อเค้นหาสูตรที่เหมาะสมลงตัวกับสังคมไทย แก้โรคร้ายในวงการเมือง และให้สอดคล้องกับเป้าหมายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการเห็นการปฏิรูปการเมืองเกิดขึ้นจริง นั้น



ดูเหมือนกรณีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร หรือเรียกว่า “นายกฯคนนอก” จะเป็นประเด็นที่อ่อนไหวและมีการถกเถียงมากที่สุดประเด็นหนึ่งทั้งที่ผ่านๆมาและ ณ ปัจจุบันที่กำลังมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ล่าสุด ฝ่ายที่คัดค้านแนวคิดนี้ เชื่อว่า “นายกฯคนนอก” ขัดกับหลักการประชาธิปไตยเพราะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้ยึดโยงใยกับประชาชน  ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนเพราะเห็นว่า ด้วยข้อจำกัดของมนุษย์เราที่ไม่สามารถคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคตได้อย่างแม่นยำถูกต้อง โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดวิกฤติไร้ทางออกจริงๆ ดังนั้น จึงควรเปิดทางไว้บ้างเผื่อเหลือเผื่อขาด เพื่อป้องกันไม่ให้บ้านเมืองสู่จุดอับจุดอุดตัน




การพิจารณาประเด็นเรื่องนี้ ก่อนอื่นควรต้องยอมรับว่า หนึ่ง โดยพื้นฐานแล้ว คนไทยทุกคนควรมีสิทธิที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ (เหมือนที่คนอังกฤษเชื่อและคิด)  สอง เราไม่ควรปิดประตูในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแบบสนิทปิดตาย แต่ควรเผื่อเป็นเสมือน “ทางออกฉุกเฉิน” ที่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆไว้บ้าง
ในความเป็นไปได้ที่น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง “นายกฯคนนอก” ของประเทศไทยจะเกิดขึ้นได้ในสองกรณี ภายใต้หลักการว่า “นายกฯคนนอก” คือ “นายกฯรักษาการ” เป็นแนวทางข้อเสนอที่เข้าข่ายเป็นรูปแบบใหม่ มีลักษณะเฉพาะแบบไทยๆและไม่ขัดมาตรฐานสากลใดๆ  ดังนี้
กรณีแรก เมื่อเกิดวิกฤติจนประเทศหยุดชะงักไม่สามารถเดินหน้าได้  “นายกฯคนนอก” นี้จะเข้ามาทำหน้าที่ รักษาการและบริหารจัดการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอีก 2-4 เดือนข้างหน้า(หรือตามความเหมาะสม) ทั้งนี้  “นายกฯคนนอก” ควรจะต้องมีอำนาจมากในระดับหนึ่ง ที่จะสามารถกำหนดและบังคับใช้เพื่อทำให้การเลือกตั้งดำเนินไปได้โดยไม่เกิดการได้ เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมืองมากเกินไป 



ทางเลือกนี้น่าจะช่วยผ่อนคลายความกังวลหรือข้อเรียกร้องว่านายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นมาส.ส.เท่านั้นเนื่อง          จาก “นายกฯคนนอก” ตามแนวทางนี้จะเข้ามาทำหน้าที่บริหารจัดการการเลือกตั้งเป็นการเฉพาะเท่านั้น นอกเหนือ
จากการทำหน้าที่รักษาการในช่วงระยะเวลาสั้นๆเพียงไม่เกินสามสี่เดือน(หรือจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่)
เปรียบเหมือนเช่นกรณีของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ที่แต่งตั้งคณะกรรมการกลางหรือคณะกรรม การฟื้นฟู (normalization committee) เข้ามาทำหน้าที่บริหารสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเป็นการชั่วคราว คณะกรรมการกลางนี้ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเนื่องจากเกิดเหตุการณ์ “ไม่ปกติ” หรือถึงขั้นวิกฤติขึ้น ดังนั้น  ฟีฟ่าจึงต้องการให้คณะกรรมการเฉพาะกิจชุดนี้เข้ามาทำหน้าที่หลักเพื่อให้สถานการณ์กลับคืนสู่จุดปกติ (normalise) ภายในระยะ เวลาที่กำหนด ภายใต้หลักการเดียวกันนี้ “นายกฯคนนอก” จึงควรเข้ามาทำหน้าที่บริหารเพียงชั่วคราวเท่านั้น   ด้วยเป้าหมายเพื่อทำให้เหตุการณ์ในบ้านเมืองกลับคืนสู่จุดปกติ หรือกลับไปสู่จุดเริ่มต้นใหม่
ในกรณีที่สอง เมื่อรัฐบาลประกาศยุบสภาแล้วกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ควรจะต้องมีการตั้ง “นายกฯคนนอก” เข้ามาทำหน้าที่รักษาการและบริหารจัดการการเลือกตั้ง (ร่วมกับ กกต.) เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและยุติธรรมที่สุด ป้องกันไม่ให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างพรรคการเมืองต่างๆมากเกินไปเหมือนที่ผ่านๆมา เพราะด้วยฐานะความเป็น “นายกฯคนนอก” นี้ น่าเชื่อว่าจะดำรงหรือวางตัวเป็นกลางมากกว่านายกรัฐมนตรีที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งและสังกัดพรรคการเมือง
ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า การให้อำนาจรัฐบาลในการตัดสินใจเลือกยุบสภาและกำหนดช่วงวันเลือกตั้ง ตลอดจนรักษาการในตำแหน่งหน้าที่เดิมในช่วงระหว่างการเลือกตั้ง ไม่อาจนับว่าเป็นเรื่องแฟร์และยุติธรรมได้เลย เพราะการที่ยังสามารถควบคุมอำนาจรัฐไว้ในมือ ทำให้พรรครัฐบาลนั้นๆได้เปรียบพรรคการเมืองอื่นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลยในการแข่งขันที่เป็นประชาธิปไตยที่สุด  
นอกจากนี้ ประเด็นเรื่องเสถียรภาพและวาระการดำรงตำแหน่งของรัฐบาลหนึ่งๆถือเป็นปัญหาสำคัญหนึ่งที่เกิดขึ้นในระบบการเมืองไทยมาตลอดจนส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในหลายๆด้าน  สมควรพิจารณาควบคู่
กับประเด็น“นายกฯคนนอก” ด้วย
  รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรจะสร้างโอกาสหรือหลักประกันว่า รัฐบาลแต่ละชุดสามารถอยู่ในภาวะที่ “นิ่ง” ได้นานพอที่จะบริหารประเทศได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องแรงกดดันทางการเมืองใดๆ นั่นคือการสร้างกฏกติกาให้เป็นที่ยอมรับกันว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆจะเกิดขึ้นในทุกๆสองปีเท่านั้น ยกเว้นกรณีการปรับคณะรัฐมนตรีที่สามารถกระทำได้ตามความเหมาะสม
นั่นคือ ควรเปิดโอกาสให้รัฐบาลได้บริหารประเทศอย่างเต็มที่ โดยไม่มีใครสามารถกดดันหรือชุมนุมขับไล่ได้ (เป็นการนำเอาจุดแข็งหนึ่งของระบบประธานาธิบดีมาประยุกต์ใช้)   เมื่อรัฐบาลบริหารได้ครบสองปีแล้ว ฝ่ายค้านจะสามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้โดยอัตโนมัติ โดยฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถขัดขวางใดๆได้  เมื่ออภิปรายเสร็จสิ้นแล้ว แทนที่จะมีการโหวตลงมติในรัฐสภา (ซึ่งเสียงข้างมากทำให้ฝ่ายรัฐบาลชนะอยู่เสมอ) ควรให้ประชาชนทั้งประเทศลงประชามติ (หลังจากฟังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ)ว่า จะยังคงสนับสนุนรัฐบาลหรือเห็นด้วยกับฝ่ายค้าน
วิธีการนี้จะเพิ่มจูงใจให้ฝ่ายค้านพยายามทำหน้าที่ตรวจสอบมากเป็นพิเศษ เพราะหากประชาชนเห็นด้วยกับฝ่ายค้านและเสียงส่วนใหญ่ลงประชามติไม่ยอมรับ(ผลงานหรือข้อแก้ตัวของ)รัฐบาล รัฐบาลต้องพ้นจากตำแหน่งและให้ฝ่ายค้านก้าวขึ้นมาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศแทนที่
ทั้งนี้ ภายใต้แนวคิดข้อเสนอนี้ เท่ากับว่า จะไม่มีการประกาศยุบสภาโดยนายกรัฐมนตรีอีกต่อไป เพราะทุกๆอย่างจะเป็นไปตามกรอบระยะเวลาปกติทุกๆสองปี  
เมื่อนั้น “นายกฯคนนอก” ตามแนวทางข้อเสนอข้างต้นก็จะทำหน้าที่ “นายกฯรักษาการ” ได้จริงๆ
 

.
.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...