สั่นสะเทือนไปทั้งวงการโลกลูกหนัง
เมื่อสองผู้นำแห่งวงการฟุตบอลโลกอย่างเซปป์ แบล็ตเตอร์ ประธานสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ FIFA และ มิเชล
พลาตินี่ ประธานสหพันธ์ฟุตบอลแห่งสหภาพยุโรป (UEFA)
ควบตำแหน่งรองประธาน FIFA
ซึ่งเป็นสองผู้นำที่มีอำนาจอิทธิพลในโลกลูกหนังมากที่สุดถูกคำสั่งแบนจากคณะกรรมการว่าด้วยจริยธรรมแห่ง
FIFA มีคำสั่งห้ามยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกมฟุตบอลทุกประเภทไมว่าจะในฐานะหรือในนามองค์หรือตำแหน่งเป็นเวลา
90 วัน
สองผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการโลกลูกหนัง |
เรื่องของเรื่องเกิดขึ้นหลังจากที่ทางการสวิสเซอร์แลนด์(ในฐานะเป็นประเทศที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ FIFA และ
UEFA) รับลูกต่อจากทางการสหรัฐฯในการดำเนินการสอบสวนสวบสวนการทุตจิตคอรัปชั่นภายในองค์กร
FIFA จนนำไปสู่การจับกุมผู้บริหารระดับสูง 7 คนนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา
จากการสืบไปสืบมา ทางการสวิสพบว่า
มีเงื่อนงำของเงินจำนวน 2 ล้านฟรังค์สวิส (ประมาณ 70 ล้านบาท) ที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับเซปป์
แบล็ตเตอร์และมิเชล พลาตินี่โดยตรง โดยเฉพาะแล้ว การติดค้างเงินและจ่ายคืนในภายหลังไม่น่าจะเป็นปัญหาใดๆ
หากไม่ใช่เป็นเพราะทางการสวิสที่ส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการจริยธรรมของFIFA พบความผิดปกติบางประการที่อาจถึงขั้นเป็นความผิดอาญา
ในวันที่มิเชล พลาตินี่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของเซปป์ แบล็ตเตอร์ |
มิเชล พลาตินี่เคยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคให้แก่เซปป์ แบล็ตเตอร์ในช่วงระหว่างปี
1999-2002 (ซึ่งแบล็ตเตอร์เพิ่งได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธาน FIFA เป็นสมัยแรกในปี
1998) ในฐานะที่พลาตินี่เป็นคนดังที่มีบารมีแห่งวงการฟุตบอลโลก
ทั้งในฐานะอดีตกัปตันทีมชาติฝรั่งเศสที่เก่งกาจจนถึงขั้นได้รับยกย่องให้เป็น
“นโปเลียนลูกหนัง” และในฐานะประธาน(ร่วม)จัดงานฟุตบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพ
8 มิถุนายน 1998 คือเริ่มต้นของยุคแบล็ตเตอร์ |
ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีครึ่งที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้บอสใหญ่ของ
FIFA มิเชล พลาตินี่ได้รับเงินค่าจ้างตามสัญญาปีละ 3 แสนฟรังค์สวิส (ประมาณ 10 ล้านบาท) ซึ่งไม่ใช่ตัวเงินที่เป็นปัญหา แต่ที่เป็นปัญหาจนนำมาสู่คำสั่งแบน ก็คือเงินจำนวนเกือบ
2 ล้านสวิสฟรังค์ที่แบล็ตเตอร์สั่งจ่ายภายหลังให้พลาตินี่ในปี 2011
มิเชล พลาตินี่อ้างว่าเงินจำนวน 2 ล้านฟรังค์สวิสที่ได้รับนี้เป็นเงินค่าจ้างที่(เซปป์
แบล็ตเตอร์ซึ่งจริงๆแล้วก็คือ FIFA) ค้างจ่ายมานานตั้งแต่ปี 2002 (เนื่องจากในเวลานั้น FIFA ประสบปัญหาด้านการเงิน
ไม่มีเงินจ่าย) โดยมีข้อตกลง “สัญญาลูกผู้ชาย” เป็นการส่วนตัวกับแบล็ตเตอร์ว่าจะได้รับเงินค่าจ้างเพิ่มอีกปีละ
5 แสนฟรังค์สวิส (นอกเหนือจากจำนวน 3
แสนฟรังค์สวิสที่ได้รับตามปกติ) แต่ทั้งพลาตินีและแบล็ตเตอร์ไม่มีเอกสารยืนยันใดๆว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินค่าจ้างจากการทำหน้าที่
technical advisor เนื่องจากเป็นดีลหรือข้อตกลงทางวาจาระหว่างสองผู้นำแห่งวงการฟุตบอลโลก
(ที่ไม่มีบุคคลที่สามเกี่ยวข้องหรือรับรู้) นั่นคือไม่ได้เป็นจำนวนเงินที่ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่สัญญาว่าจ้าง
ตามกฎหมายของสวิสเซอร์แลนด์แล้ว ลูกจ้างสามารถฟ้องร้องนายจ้างเรียกเงินค่าจ้างหรือเงินค้างจ่ายภายในระยะเวลาห้าปี พ้นจากนี้แล้ว
ความเป็นหนี้เป็นสินจะหมดไปตามกฎหมาย การที่มิเชล พลาตินี่ไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมาย น่าจะเป็นเพราะเหตุผลอย่างน้อยสองประการ
หนึ่ง หากจะฟ้องศาล พลาตินีจะต้องดำเนินการภายในปี 2007 เมื่อปล่อยให้เวลาล่วงเลยผ่านไปเกินอายุความ
พลาตินีจึงไม่สามารถฟ้องร้องใดๆได้อีก อีกทั้งเชื่อว่าพลาตินี่คงหลีกเลี่ยงทางเลือกนี้เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกับผู้ยิ่งใหญ่ของ
FIFA
ทั้งนี้ อาจเป็นไปได้ว่า เพราะมีเป้าหมายใหญ่ที่จะลงชิงชัยตำแหน่งประธานสหพันธ์แห่งยุโรป
ในปี 2007 พลาตินี่จึงจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงหรือทวงเงินเพราะต้องการพลังสนับสนุนจากแบล็ตเตอร์ในการแข่งขันกับเลนนาร์ด
โจฮาดสัน ผู้ยึดครองตำแหน่งประธานมายาวนานกว่า 17 ปี
ก้าวแรก : ใน;yนที่มิเชง พลาตินี่ได้รับเลือกให้เป็นประธานสหพันธ์ฟุตบอลแห่งยุโรปในปี 2007 |
สอง เพราะเป็นข้อตกลงทางวาจาที่ไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
จึงทำให้มิเชล พลาตินี่ไม่สามารถดำเนินการใดๆทางกฏหมายได้เลย
เพราะข้อจำกัดทางกฎหมายดังกล่าว มิเชล
พลาตินีจึงไม่มีทางเลือกอื่นมากนัก นอกจากคาดหวังว่า เซปป์ แบล็ตเตอร์จะรักษาคำพูดลูกผู้ชาย ไม่มีใครรู้ว่า พลาตินีได้พูดถึงและทวงถามเงินจำนวนนี้กับแบล็ตเตอร์หรือไม่และเมื่อไหร่ แต่ครั้งล่าสุดที่มีการพูดถึงเงินค้างจ่ายระหว่างผู้นำสองคนนี้คาดว่าเกิดขึ้นในปี
2010
เพราะไม่มีใครรู้เรื่องรู้รายละเอียดหนี้สินค้างจ่ายจำนวน
2 ล้านฟรังค์สวิส
และด้วยข้อได้เปรียบทางกฏหมายตามที่ได้กล่าวข้างต้น เซปป์ แบล็ตเตอร์สามารถบิดพริ้วไม่จ่ายเงินจำนวนนี้ก็ได้หากคิดจะเบี้ยวจริงๆ
และนับจนถึงจุดนี้ อาจกล่าวได้ว่า ทั้งแบล็ตเตอร์และพลาตินี่ไม่ได้ทำผิดกฏหมายใดๆ นั่นคือเงินจำนวน
2 ล้าน ฟรังค์สวิสนี้จะไม่กลายเป็น “ระเบิด”
ที่ทำลายล้างทั้งสองคนอย่างที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ ถ้าหากว่าไม่มีการจ่ายเงินจำนวนนี้ในปี
2011 จนเรื่องแดงฉาวโฉ่ขึ้นมา
เพราะเงิน |
ในการสอบสวนสืบสวนของทางการสวิสที่ทำงานประสานร่วมกับทางการสหรัฐฯในการจัดการปัญหาการคอรัปชั่นในวงการฟุตบอลทั่วโลก
มีเป้าหมายหลักอยู่ที่เซปป์ แบล็ตเตอร์ในฐานะบอสใหญ่หมายเลขหนึ่งของ FIFA
แต่เมื่อเงินจำนวน 2 ล้านฟรังค์สวิสถูกจ่ายให้มิเชล
พลาตินี่ จึงทำให้พลาตินี่ต้องติดบ่วงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้จะมีฐานะเป็นเพียง
“ผู้ให้ข้อมูล” ตามกฎหมายสวิส (แตกต่างจากจากแบล็ตเตอร์ที่ตกอยู่ในฐานะ “ผู้ตกสงสัย”
ที่อาจจะกลายเป็น “ผู้ต้องหา” ได้หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้แน่นอน)
สิ่งที่สำคัญมากๆที่สร้างความยุ่งยากให้กับมิเชล
พลาตินีร่วมทั้งเซปป์ แบล็ตเตอร์ก็คือเงื่อนไขเวลาที่มีการอนุมัติจ่ายเงินในเดือนกุมภาพันธ์
2011 จนเป็นเงื่อนงำชวนน่าสงสัยและมีมูลเหตุให้เชื่อว่าสัมพันธ์โยงใยกับการเลือกตั้งประธาน
FIFA ที่มีกำหนดในอีกสามเดือนข้างหน้า และเกี่ยวเนื่องกับการประชุม
FIFA สองเดือนก่อนหน้านั้น (ธันวาคม 2010) ซึ่งมีวาระสำคัญเพื่อเลือกเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2018
และปี 2022
โดยหลักการแล้ว ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆของ FIFA ที่จะห้ามความทะเยอทะยานหรือความตั้งใจของใครสักคนหนึ่งตราบเท่าที่ไม่เคยกระทำผิดใดๆ
มิเชล พลาตินี่ก็ไม่ได้อยู่เกณฑ์ยกเว้นนี้ หลังจากได้รับเลือกให้เป็นประธานของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งยุโรปในปี
2007 แล้ว พลาตินีย่อมมีความฝันว่าสักวันหนึ่งจะก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของ
FIFA ซึ่งเป็นองค์กรที่บริหารเกมกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
ก่อนหน้าจะถึงวันเลือกตั้งประธาน FIFA ซึ่งกำหนดลงคะแนนเสียงในวันที่
1 มิถุนายน 2011 มิเชล พลาตินี่ได้รับแรงสนับสนุนและเสียงเรียกร้องให้ขึ้นสมัครท้าชิงตำแหน่งแข่งกับเซปป์
แบล็ตเตอร์ แต่สุดท้ายก็เลือกที่จะไม่ลงสมัคร ด้วยเหตุผลสองประการ
ในวันที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานสหพันธ์ฟุตบอลแห่งยุโรปเป็นสมัยที่ 2 |
ประการแรก มิเชล พลาตินี่เพิ่งได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานสหพันธ์ฟุตบอลแห่งยุโรปเป็นสมัยที่ 2 เมื่อเดือนมีนาคม 2011 แบบไร้คู่แข่งจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรีบลงสมัครตำแหน่งประธาน FIFA
ประการที่สอง ในการคิดคำนวณของมิเชล
พลาติมี่ ถือว่า “อดเปรียวไว้กินหวาน” น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะการรอในปี
2015
ก็ไม่ได้เป็นเรื่องสายเกินไปเลยสำหรับวัย 60
ปีเมื่อถึงวันนั้น เนื่องจากมั่นใจว่า เซปป์ แบล็ตเตอร์จะวางมืออย่างแน่นอน
การสนับสนุนแบล็ตเตอร์ในปี 2011 จะเป็นหลักประกันที่ดีที่สุดสำหรับพลาตินี่ที่จะสืบทอดตำแหน่งในปี
2015 ดีกว่าสนับสนุนมูฮัมเหม็ด
บินฮัมมัน ประธานสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชียจากกาตาร์ เพราะหากสนับสนุนผุ้ท้าชิงจากเอเซียคนนี้ให้ได้รับเลือกตั้งเป็นประธาน
FIFA ในปี 2011 แล้วก็คาดหมายว่าน่าจะอยู่ในตำแหน่งต่อไปอีกหลายปีหลายสมัย
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็จะทำให้โอกาสของพลาตินี่หดหายไปเลยจนถึงขั้นหมดโอกาส
คู่ศึกคู่ชิงตำแหน่งประธาน FIFA 2011 |
ภายใต้ทฤษฏีสมคบคิด เชื่อกันว่า ณ เวลานั้น มีการพูดคุยเจรจากันระหว่างสองผู้ยิ่งใหญ่แห่งวงการฟุตบอลโลก ในสองประเด็น ดังนี้
ดีลหนึ่ง ถ้าหากได้รับการรับสนับสนุนจากมิเชล
พลาติมี่ให้ชนะเลือกตั้งในปี 2011 เซปป์
แบล็ตเตอร์ก็จะตอบแทนด้วยการสนับสนุนพลาตินีให้เป็นประธานฟีฟ่าในปี
2015 ซึ่งแบล็ตเตอร์ได้ประกาศชัดเจนให้เป็นที่ประจักษ์ว่า
หากชนะเลือกตั้งในปี 2011 ก็จะวางมือในอีก 4 ปีข้างหน้าอย่างแน่นอน เพื่อเป็นหลักประกันและเปิดทางให้กับพลาตินี่ต่อไป
พลาตินี่แสดงความยินดีหลังแบล็ตเตอร์ได้รับชัยเป็นประธานฟีฟ่าสมัยที่ 4 |
ดีลสอง เซปป์ แบล็ตเตอร์จะเคลียร์และคืนเงินแก่มิเชล
พลาตินี่ที่ติดค้างมานานกว่า 9 ปี ประเด็นนี้กลายเป็นปัญหาสั่นสะเทือนพลาตินีมากๆ เนื่องจากการจ่ายเงินเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาสามเดือนก่อนถึงวันโหวตเลือกตั้ง
จึงเป็นเรื่องยากที่จะป้องกันหรือปิดกั้นข้อครหาใดๆได้
เพราะการจ่ายเงินที่ติดค้างมานานกว่า 9 ปีในช่วงเวลาประจวบเหมาะใกล้วันเลือกตั้งนั้น
ย่อมถูกตีความได้ว่า เป็นเสมือนเงินอามิสสินจ้างหรือเงินจูงใจเพื่อแลกกับสนับสนุนสำหรับการเลือกตั้งประธาน
FIFA
ชะตากรรมชีวิตที่ดูเหมือนแขวนบนเส้นด้าย |
ถึงแม้ว่าความผิดของมิเชล พลาตินีในทางกฏหมายแล้วอาจจะดู
"เบา" หรือ "อ่อน" กว่าเซปป์ แบล็ตเตอร์
แต่ชื่อเสียงเครดิตของพลาตินี่ก็เสียหายไปไม่น้อยจนยากจะซ่อมแซมให้เหมือนเดิมได้
ด้วยเหตุนี้เอง สถานการณ์ของมิเชล พลาตินี่
อดีตนักเตะหมายเลขหนึ่งของโลก จึงตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงมากๆ และมีโอกาสความเป็นไปได้ในระดับสูงที่จะพลาดโอกาสในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธาน
FIFA ซึ่งกำหนดวันเลือกตั้งในปลายเดือนกุมภาพันธ์
ศกหน้า
ชีวิตมันสวยงามเพราะไม่รู้จะเกิดอะไรในวันพรุ่ง? |
เว้นเสียแต่ว่า
จะสามารถพิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ปราศจากความผิดใดๆ
แน่นอนที่สุดว่า
ความเปลี่ยนแปลงใดๆใน FIFA ในอนาคตย่อมต้องมีผลกระทบต่อสมาคมฟุตบอลไทยในระดับที่ยากเกินจะจินตนาการได้
นอกจากความวาดหวังว่า จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกว่าเดิม
..
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น