หลักเกณฑ์สำคัญหนึ่งที่ทำให้รางวัลโนเบลมีคุณค่ามากที่สุดในโลกและได้รับการยอมรับอย่างมากก็คือการพิจารณาบนพื้นฐานของ "สิ่งที่ทำ" ไม่ใช่ "สิ่งที่เป็น"
.
คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลจะมุ่งเน้นว่าใครได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติ โดยไม่ให้น้ำหนักหรือนำพาว่าใครคนนั้นคือใคร ต่อให้เป็นคนหลังเขา ต่อให้เป็นคนที่แม้กระทั่งไม่ได้ติดขอบใดๆในสังคม เพราะนั่นไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คนหนึ่ง
.
กรณีของเด็กหญิงมาลาลาเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนที่สุด ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ โดยที่ก่อนหน้านี้ ชาวโลกไม่เคยได้ยินไม่เคยเห็นมาก่อนเลย
.
รางวัลอันยิ่งใหญ่นี้มอบให้แก่เด็กหญิงชาวปากีสถานคนนี้ในฐานะความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวที่ต่อสู้เพื่อสิทธิพื้นฐานของเด็กและของสตรีจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด เป็นดาวที่โผล่แสงมาในยามข้างแรม
'
เป็นการตอกย้ำในหลักการว่า คุณค่าของคนๆหนึ่งอยู่ที่สิ่งที่กระทำไม่ใช่ฐานะหรือสิ่งที่เป็น
.
ตัวอย่างล่าสุดในเมืองไทยที่น่าปลื้มใจเป็นที่สุดก็คือกรณีของลุงชัช อุบลจินดา ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากการทำความดีเล็กๆในการช่วยเหลือชาวต่างชาติที่ติดหล่มโคลน โดยไม่คิดวางแผนหวังผลหรือตั้งใจใดๆ
.
ในสายตาของผู้คนในสังคมไทยแล้ว นี่คือความยิ่งใหญ่ของคนเล็กๆคนหนึ่ง คนที่(ก่อนหน้านี้)ไม่เคยเป็นข่าว ไม่ใช่คนดัง ไม่มีใครรู้จัก
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น