6 เมษายน 2554

วาทศิลป์ของผู้นำ

.
วาทศิลป์เป็นสิ่งจำเป็นสำคัญประการหนึ่งของผู้นำในการให้เหตุผล โต้แย้ง ถกเถียง โน้มน้าวหรือแม้กระทั่งเพื่อทำให้เกิดความสับสน
.
ว่ากันว่า อานุภาพของวาทศิลป์นั้น สามารถทำให้เรื่องขาวกลายเป็นดำ หรือเรื่องดำกลายเป็นขาวได้อย่างไม่น่าเชื่อ
.
ผู้นำหลายๆ คนโชคดีที่เกิดมามีวาทศิลป์เป็นอาวุธคู่กาย บางคนใช้วาทศิลป์เป็นใบเบิกทางก้าวสู่อำนาจ  ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือกรณีของบารัก โอบาม่าที่ประสบความสำเร็จในการใช้วาทศิลป์สร้างชื่อจากผู้สมัครธรรมดาคนหนึ่งที่แทบจะไม่มีใครรู้จัก จนชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯคนปัจจุบัน
.
ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สามารถโน้มน้าวคนอเมริกันด้วยวาทศิลป์ที่เป็นอมตะ "อย่าถามว่าประเทศจะทำอะไรให้กับท่าน แต่ให้ถามตัวเองว่า ท่านจะทำอะไรให้กับประเทศบ้าง"
.
อดีตนายกรัฐมนตรีไทยอย่างคุณสมัคร สุนทรเวชเคยได้รับคำยกย่องถึงความความสามารถในการใช้วาทศิลป์อย่างไม่เป็นสองรองใคร โดยอุปมาว่าสามารถกล่อมลิงให้หลับให้คล้อยตามได้ถึงขนาดนั้น
.
วาทศิลป์จึงกลายเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำ โดยเฉพาะการใช้วาทศิลป์เพื่อโต้แย้ง
.
ในการใช้วาทศิลป์โต้แย้งข้อกล่าวหาของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธที่วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ภาคใต้ว่า ถ้าปล่อยให้น้ำท่วมแบบนี้ก็ไปกระโดดน้ำตายนั้น นายชวน หลีกภัยในฐานะประธานที่ปรึกษาพรรคฯ ได้กล่าวโต้แย้งว่า
.
การที่น้ำท่วมใหญ่นั้น ไม่ได้อยู่ที่รัฐบาลหรือเป็นฝ่ายค้าน เพราะนั่นคือธรรมชาติ ไม่เกี่ยวกับพรรคการเมือง  ถ้าจะมาว่ารัฐบาลบกพร่อง แปลว่ารัฐบาลบกพร่องที่ทำให้ฝนตกเหรอ รัฐบาลไปห้ามไม่ให้ฝนตกไม่ได้  แต่เกิดแล้ว มาตรการในการดูแลแก้ปัญหาถือว่าสำคัญ และผมคิดว่ารัฐบาลทำได้ดี ส่วนที่พลเอกชวลิต วิจารณ์ก็เป็นเรื่องของท่าน ท่านก็กระโดดน้ำตายไปหลายปีแล้ว
.
วาทศิลป์ที่ว่า "รัฐบาลบกพร่องที่ทำให้ฝนตกเหรอ รัฐบาลไปห้ามไม่ให้ฝนตกไม่ได้"  มีนัยยะว่า การห้ามฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  เพราะฉะนั้น เมื่อห้ามไม่ได้ ก็ต้องยอมรับกับผลทีเกิดตามมาคือน้ำท่วม  เป็นการพูดเหมือนปิดทางไม่ให้โต้แย้งได้อีก เนื่องจากรัฐบาลหรือใครก็ตามก็ไม่สามารถห้ามหรือหยุดฝนได้ เป็นการอ้างกฏเกณฑ์ธรรมชาติที่อยู่เหนือความสามารถของมนุษย์เราเหมือนที่ครั้งหนึ่ง พล ต. จำลอง ศรีเมืองในสมัยเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวด้วยตรรกะคล้ายๆกันว่า เพราะเหตุแห่งฝนพันปี กทม. จึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้  ถ้าหากรัฐบาลห้ามฝนได้หรือฝนไม่ได้ตกหนักที่สุดในรอบพันปี ปัญหาน้ำท่วมก็ไม่เกิดขึ้น
.
นอกจากจะโต้แย้งเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว คุณชวนยังใช้วาทศิลป์ด้วยการอ้างว่า "ท่านก็กระโดดน้ำตายไปหลายปีแล้วเพื่อเจตนาที่ต้องการจะสื่อความหมาย "คนตาย" พูดความจริงไม่ได้ และชี้ให้เห็นว่า คำกล่าวของพลเอกชวลิตซึ่งได้ "กระโดดน้ำตายไปหลายปีแล้ว" นั้นไร้สาระหรือเชื่อถือไม่ได้

หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจจำเป็นต้องหานอมินีไปกระโดดน้ำแทน
 

ส่วนกรณีของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้โต้แย้งคำพูดของนายสุเทพ เทือกสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่กล่าวด้วยเหตุผลแบบผูกเงื่อนไขที่เชื่อ (มั่นลึกๆ)ว่าไม่มีทางเกิดขึ้นเป็นจริงได้  
.
นั่นคือถ้าหากคุณทักษิณ(สามารถ)กลับมาเมืองไทยได้ คุณสุเทพก็พร้อมที่จะใส่สูทผูกเนกไทไปรับที่สนามบินพร้อมจะเช็ดรองเท้าให้เรียบร้อย  คำพูดของคุณสุเทพ (หากว่าพูดจริง) คือการท้าทายให้อีกฝ่ายหนึ่ง(คุณทักษิณ)กระทำในสิ่งที่ผู้พูด(คุณสุเทพ)เชื่อมั่นว่ามีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้น้อยมาก 
.
ในการโต้แย้งคำพูดเชิงท้าทายของคุณสุเทพ  คุณทักษิณให้เหตุผลว่า "เพราะตนเองอยากกลับบ้านแล้ว แต่ไม่ต้องให้ใครมาขัดรองเท้าให้ เวลาที่ตนไปพักตามโรงแรมในแถบแอฟริกา ก็มักจะมีคนมาขัดรองเท้าให้ ส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำ ใจจริงไม่อยาก แต่ก็คิดว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือเขา แต่กลับมาไทยแล้ว คงไม่มีคนตัวดำๆ มาขัดรองเท้าให้ เดี๋ยวจะหลงเข้าใจผิดว่าอยู่แอฟริกา"
  .
คำพูดของคุณทักษิณอาจเทียบเคียงได้กับวาทศิลป์แบบเยาะเย้ยถากถาง โดยการเน้นให้เห็นถึงจุดด้อยของ "คนตัวดำๆ" เป็นการใช้อุปมากลายๆเพื่อเยาะเย้ยถากถาง "คนตัวดำๆ" ว่า หาก(ยอมลดเกียรติ)มาขัดรองเท้าให้จริงถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ก็อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่า กำลังอยู่แอฟริกา 
.
แน่นอนที่สุด วาทศิลป์เช่นว่านี้ ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง (และผู้พูดไม่ต้องการหรือไม่คิดว่าจะมีผู้ฟังคนไหนมาแย้ง) นั่นคือ "คนตัวดำๆ" ถึงแม้ว่าจะถูกเปรียบเปรยว่าเป็น "คนหน้าดำ" แต่ไม่ใช่ดำสนิทแบบคนแอฟริกันเป็นแน่


อาจจะเป็นไปได้ว่า คุณสุเทพนึกถึงธรรมเนียมทาง
ภาคใต้ที่เช็ดรองเท้าให้เจ้าบ่าวก่อนจะเข้าเรือน 


และประการที่สอง คนไทยที่เมืองไทยหรือหากจะชี้เฉพาะว่าหมายถึงกลุ่มคนไทยที่จะไปรอรับคุณทักษิณที่สนามบิน ก็ไม่มีใครที่จะผิวดำเป็นแอฟริกันอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น การอ้างเหตผลแบบว่า "เดี๋ยวจะหลงเข้าใจผิดว่าอยู่แอฟริกา" จึงน่าจะเป็นการใช้หลักเหตุผลแบบเกินจริง 
แต่เหนือสิ่งอื่นใด เชือ่ว่า ผู้พูดเพียงต้องการใช้อุปมาเช่นนี้เพื่อเป็นเยาะเย้ยถากถางคำพูดของอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น



    

 .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...