ในความคิดเห็นของแซมมวล ฮาวเวลล์และวินสตัน เบร็มเบ็ด สองนักวิชาการอเมริกันแล้ว การตั้งฉายานาม(เคย)เป็นสิ่งที่ผิดจริยธรรม โดยเฉพาะการตั้งฉายานามเรียกขานฝ่ายตรงข้ามเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ
แต่ในวงการการเมืองสมัยใหม่แล้ว การตั้งฉายานามของผู้นำ กลายเป็นศิลปะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่เพิ่มสีสันที่ขาดเสียไม่ได้ ฉายานามสำหรับผู้นำคนหนึ่งๆ ทั้งในต่างประเทศและในประเทศ ไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ แต่มักจะต้องเกี่ยวข้องหรือเป็นสิ่งที่สะท้อนมาจากตัวผู้นำโดยตรงในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง และฉายานามนั้นๆ อาจจะไม่ใช่ข้อเท็จจริงหรือเป็นการสะท้อนเกี่ยวกับผู้นำที่ถูกต้องทั้งหมดเสมอไป
วินสตัน เชอร์ชิล "บุลด๊อก" |
ประธานาธิบดีเจอรัล ฟอร์ด "มิสเตอร์ไนซ์กาย" |
ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ "คนขายถั่ว"
|
พล อ. เปรม ติณสูลานนท์ "เตมีย์ใบ้" |
พล อ. สิทธิ จิระโรจน์ "เปาปุ้นจิ้น"
ชวน หลีกภัย "ชวน เชื่องช้า" / "ช่างทาสี" พล อ. ชวลิต ยงใจยุทธ "จิ๋ว หวานเจี๊ยบ"
|
ปุระชัย เปิ่ยมสมบูรณ์ "มือปราบสายเดี่ยว"/ "ไม้บรรทัด" |
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา "สฤษดิน้อย" |
ฉายานามมีทั้งที่เป็นบวกเป็นลบ แต่ก็มีบ้างที่เป็นกลางๆ
ผู้นำบางคนโชคดีที่ได้ถูกตั้งฉายานามเป็นบวก ที่เป็นผลมาจากการบริหารปกครองหรือภาวะผู้นำที่เข้มแข็ง กลายเป็นทุนภาพพจน์ที่ทรงคุณค่า ถูกนำไปต่อยอดขยายผลสร้างมูลค่าเพิ่ม
แต่ผู้นำอีกหลายๆคนกลับได้ฉายานามที่เป็นลบ ซึ่งเป็นผลสะท้อนมาจากจุดด้อย ความผิดที่เคยกระทำ หรือความล้มเหลวในความเป็นผู้นำ ซ้ำร้าย หากดำเนินต่อเนื่องไปนานๆ ฉายานามนั้นจะกลายเป็นภาพพจน์ติดตัวผู้นำคนนั้นจนยากที่จะลบล้างได้ง่ายๆ หรืออาจจะเป็นอุปสรรคกีดขวางเส้นทางสู่ตำแหน่งระดับสูง
ในบางครั้ง ฉายานามของผู้นำบางคนก็เป็นผลสะท้อนมาจากสะท้อนถึงพื้นฐานแบล็กกราวด์ทางครอบครัว หรือสะท้อนมาจากบุคลิกลักษณะประจำตัว
ในสภาพการแข่งขันทางการเมืองที่เข้มข้นนี้ ฉายานามกลายเป็นอาวุธหรือสามารถนำมาใช้เป็นอาวุธได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น