สังเกตว่า ทุกครั้งที่มีข่าวเกี่ยวกับการปฏิวัติในเมืองไทย โดยเฉพาะช่วงที่มีโอกาสเอ๊กเซอร์ไซท์มากที่สุด มักจะเกิดกรณีพิพาททางทหารตามแนวพรมแดนกับกัมพูชาจนถึงกับมีคนไทยเสียชีวิตและต้องอพยพหลบหนีเพื่อรักษาชีวิต
ภาพที่เริ่มชินตาตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา |
ความขัดแย้งภายในประเทศที่อาจเป็นต้นตอ ของการปะทะทางทหารกับต่างประเทศ |
ทฤษฏีสบคบคิดแรกก็คือ การเจตนาจุดพลุให้เกิดความขัดแย้งและการสู้รบระหว่างกัน เพื่อเบี่ยงเบนหรือลดดีกรีความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ(ชั่วคราว) ซี่งมักจะใช้ได้ผลอยู่บ่อยๆ และบางครั้ง ความขัดแย้งกับต่างประเทศหากผลออกมาในทางที่เป็นบวกเป็นคุณกับประเทศแล้ว ก็อาจจะช่วยสร้างความชอบธรรมและเพิ่มเครดิตให้กับ "ตัวละคร" หรือ "ตัวแสดง" บางตัวที่เกี่ยวข้องอยู่ในวังวนแห่งความขัดแย้งนี้
ทฤษฏีสบคบคิดที่สอง จะเหมือนกับทฤษฏีแรกตรงที่ว่าเป็นความตั้งใจที่จะให้เกิดความขัดแย้งกับต่างประเทศ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ ไม่ได้มีเจตนาเพื่อเบี่ยงเบนหรือหันเหความขัดแย้งภายในประเทศเป็นสำคัญ แต่เชือว่า เป็นการลดกำลังหรือทำให้ "ตัวละคร" บางตัวในความขัดแย้งภายในประเทศ ต้องชะลอแผนการหรือการกระทำบาง อย่าง เรียกว่าการเปิดศึกด้านที่สอง ทำให้ "ตัวละคร" นั้นๆ พะว้าพะวงไม่อาจดำเนินการใดๆ ได้อย่างที่คิด
ลองพิจารณาเทียบเคียงเหตุการณ์ที่เรียกว่า สงครามสั่งสอนเวียดนามเมื่อร่วมๆ 30 ปีที่แล้ว ที่มีลักษณะโดยพื่นฐานใกล้เคียงกับทฤษฏีสบคบคิดแบบที่สองนี้ ในช่วงเวลานั้น หลังจากที่เวียดนามได้บุกยึดกัมพูชาได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็มีการคาดการณ์กันว่าการบุกประเทศไทยจะเป็นเป้าหมายต่อไป
ในทางทหารแล้ว เชื่อว่า ในเวลานั้น กองทัพไทยเสียเปรียบและไม่สามารถจะต้านทานกองทัพคอมมิวนิสต์เวียดนามได้ และไม่ว่าจะมีความพยายามอย่างไรจากฝ่ายไหนบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ แต่อยู่ๆ จีนก็ส่งกองทัพทำสงครามกับเวียดนามอย่างเหนือความคาดหมาย เป็นสงครามครั้งสุดท้ายระหว่างสองประเทศนี้ในศตวรรษที่ 20 เรียกกันทั่วไปว่า เป็นสงครามที่จีนต้องการสั่งสอนเวียดนาม
ผลแรกสุดที่ตามมาของสงครามนี้ ก็คือเวียดนามต้องรีบส่งกองกำลังทหารไปยันสู้รบกับกองทัพจีนตามแนวพรมแดนทางภาคเหนือ และส่งผลต่อมาก็คือ กองทัพเวียดนามต้องยับยั้งและชะลอแผนการทหารตามทฤษฏีโดมิโนที่จะบุกประเทศไทย และทำให้เวียด นามไม่สามารถปฏิบัติการทางทหารเพื่อเป้าหมายทางการเมืองในการยึดประเทศไทยได้อีกเลย
เพราะฉะนั้น การเจตนาเปิดศึกที่สอง มีผลทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถเดินหน้าเพื่อเป้าหมายในศึกด้านแรกได้อย่างเต็มที่
ความสูญเสียของบ้านเรือนที่เป็นผลมา จากความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ |
การปะทะกันทางทหารล่าสุดตามแนวพรมแดนบริเวณจังหวัดสุรินทร์นี้ เป็นสิ่งที่เรียกว่าอยู่นอกเหนือความคาดหมายมากๆหรือไม่มีเหตุจูงใจให้กระทำในพื้นที่นอกเหนือจากอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารที่เป็นหัวใจของความขัดแย้งระหว่างสองประเทศ
ภายใต้ทฤษฏีสบคบคิดที่สองนี้ มีการกล่าวหาว่า คู่ขัดแย้งในการเมืองไทยอาจจะมีส่วนสำคัญและสมคบคิด (โดยอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวกับผู้นำกัมพูชา)ในการร้องขอให้กองทัพกัมพูชาเปิดศึกกับทหารไทย เป็นศึกสองด้านที่กองทัพไทยไม่ปรารถนาและทำให้กองทัพต้องชะลอ "ปฏิบัติการพิเศษ" ตามข่าวลือที่เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น