ประวัติศาสตร์ของหลายๆประเทศได้บันทึกไว้ว่า
สร้างชาติด้วยสองมือของมนุษย์ ในขณะ เดียวกัน
ประวัติศาสตร์ของบางชาติก็ถูกเปลี่ยนแปลงด้วยพลังของสองขาอย่างที่มีบันทึกไว้ให้ศึกษา
โดยข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ
จะเห็นได้ว่า พลังสองขามีบทบาทสำคัญมากๆต่อประวัติศาสตร์ยุคใหม่ยุคสร้างชาติสร้างประเทศของยักษ์ใหญ่อย่างอินเดียและจีน
ในการต่อสู้กับมหาอำนาจอังกฤษเพื่อเอกราชของอินเดีย
มหาตมะ คานธีเลือกใช้แนวทางการต่อสู้บนรากฐานของสัจจะและความรักที่เรียกว่า“สัตยาเคราะห์” กลยุทธ์หนึ่งที่มหาตมะ
คานธีเลือกใช้และเป็นจุดเริ่มต้นของการขัดขืนดื้อแพ่งต่ออังกฤษก็คือ
การเริ่มเดินเท้าจากเมืองหนึ่งไปยังอีกหลายๆ เมืองเมื่อ 83 ปีที่แล้ว เพื่อคัดค้านไม่เห็นด้วยกับคำสั่งผูกขาดการผลิตและจำหน่ายเกลือในอินเดียโดยอังกฤษ
เรียกว่าเป็นคำสั่งที่ห้ามคนอินเดียผลิตและจำหน่ายเกลือภายในประเทศของตัวเอง
หากใครฝ่าฝืนก็จะถูกจำคุก
|
มหาตมะ คานธีกับการเดินเท้า |
ใครจะเชื่อว่า
ด้วยรูปลักษณ์ภายนอกที่ดูผอมแห้งแรงน้อยอย่างมหาตมะ คานธี
จะมีพลังจิตใจพลังสองขาที่แข็งกล้ามากเกินที่สายตาจะประเมินเห็น
จากจุดเริ่มต้นที่มีคนร่วมเดิน
78 คน ใช้เวลาเดินเท้ากว่า 23 วันผ่านเมืองต่างๆตลอดระยะทางร่วม 386 กิโลเมตร จนกระทั่ง
มหาตมะ คานธีประสบความสำเร็จในการ “จุดติด” กระแสการแสดงอารยะขัดขืนต่ออังกฤษและเริ่มได้รับการสนับสนุนจากคนอินเดียมากขึ้นตลอดทางของการเดินเท้า
เมื่อเดินถึงที่หมายที่เป็นชายทะเล มหาตมะ คานธีและผู้ร่วมเดินเท้าก็ใช้โอกาสนี้ผลิตเกลือแบบง่ายๆ
เป็นสัญลักษณ์ของอารยะขัดขืนเพื่อต่อต้าน ดื้อแพ่งและท้าทายต่ออังกฤษ และคนอินเดียทั้งประเทศได้ตระหนักว่า
ถึงเวลาแล้วที่คนอินเดียจะผลิต จำหน่ายและบริโภคเกลือเอง
การกระทำของมหาตมะ
คานธีเข้าข่ายผิดกฎหมาย จึงถูกเจ้าอาณานิคมอังกฤษจับกุมพร้อมพวกนับหมื่นคน ในวันที่ขึ้นในการต่อศาล
มหาตมะ คานธีได้กล่าวว่า
“.. การที่ข้าพเจ้ามิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่นั้น
มิใช่เพราะข้าพเจ้าไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง แต่เป็นเพราะข้าพเจ้าต้องการปฏิบัติตามคำสั่งที่สูงยิ่งไปกว่านั้น
นั่นคือคำสั่งแห่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของข้าพเจ้าเอง...”
จากจุดเริ่มต้นของการเดินเท้าของมหาตมะ
คานธีที่เรียกว่า “Salt
March” หรือ “เดินเพื่อเกลือ” ในครั้งนั้น จุดประกายให้คนอินเดียหลายล้านคนสนับสนุนและทำตาม
เริ่มต้นต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดียจากอังกฤษ
เรียกว่าจากสองขาที่จุดประกายให้มีการต่อสู้กว่าสองทศวรรษ จนกระทั่งประสบความสำเร็จในปีพ.ศ.
2490
เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของอินเดียที่เริ่มต้นด้วยการเดินเท้า
ประวัติศาสตร์จีนยุคใหม่ก็มีความคล้ายคลึงกัน ถ้าหากการเดินเท้าเป็นการเริ่มต้นสร้างชื่อ
ศรัทธาและบารมีของมหาบุรุษนามอุโฆษอย่างมหาตมะ คานธีแล้ว ประวัติศาสตร์ของจีนและเหมา
เจ๋อตุงก็มีลักษณะไม่แตกต่างกันก็ว่าได้
|
เหมา เจ๋อตุงกับการเดินทัพไกล |
ว่ากันว่า
จุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่นามอุโฆษของเหมา
เจ๋อตุงเกิดขึ้นจากการเดินทางทัพทางไกลในปี 2477 ในช่วงเวลานั้น เหมา
เจ๋อตุงกลายเป็นผู้นำรับบทนำพากองทัพแดงและสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ร่วมแสนคนเดินถอยทัพจากการต่อสู้กับกำลังทหารของรัฐบาลเจียง
ไคเช็ก
“Long March” หรือการเดินทางทัพทางไกลเป็นเวลาหนึ่งปีเต็มจากทางใต้ขึ้นไปทางเหนือเป็นระยะทางไกลกว่า
12,000 กิโลเมตร อย่างชนิดที่ไม่มีใครในยุคปัจจุบันที่สามารถทำได้อีกแล้ว
ตลอดระยะเวลาและเส้นทางที่เส้นหฤโหดกว่าหนึ่งปีเต็ม
ถือเป็นบททดสอบที่สำคัญที่สุดของผู้นำประเทศที่ชื่อเหมา เจ๋อตุงคนนี้
และทำให้เหมา เจ๋อตุงกลายเป็นผู้นำของชาวคอมมิวนิสต์จีนไปโดยปริยาย
เมื่อมองย้อนกลับมาประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยเองก็มีจุดน่าสนใจให้เทียบเคียงได้ไม่น้อย
แน่นอนที่สุดว่า
ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยจะไม่มีวันผลิตผู้นำอย่างมหาตมะ
คานธีและเหมาเจ๋อตุงอย่างแน่นอน
และไม่มีวันที่จะเทียบเคียงประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงอย่างกรณีของอินเดียและจีนได้เป็นแน่แท้
นอกเหนือจากหนังสือประวัติศาสตร์การเมืองไทยยุคใหม่
จะได้มีโอกาสต้อนรับเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมเข้าทำเนียบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หลังจากที่เรามีเดือนเมษายน (2553) เดือนพฤษภาคม
(เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535) และเดือนตุลาคม (2516 และ 2519) ก่อนหน้านี้ให้ระลึกถึงและศึกษา
ประวัติศาสตร์การเมืองไทยก็ได้บันทึกว่ามีมวลชนมาร่วมชุมนุมนับล้านคนเป็นสถิติใหม่ที่อาจ
จะไม่มีวันทำลายได้ เวบไซต์ของ Wikipedia บันทึกตัวเลขประมาณการณ์ว่า
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 มีมหามวลชนมาร่วมชุมนุมทางการเมืองอย่างสันติในกรุงเทพมหานครร่วม
5 ล้านคนเป็นสถิติของประวัติศาสตร์ชาติไทย
ถือว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองที่เป็นสถิติโลกรองจากการชุมนุมในอียิปต์ในปีนี้ก็ว่าได้
|
การชุมนุมเป็นล้านในกรุงไคโร อียิปต์ |
วันที่ 9 ธันวา
56 อาจจะเป็นอีกวันหนึ่งที่สร้างประวัติศาสตร์หลายๆหน้าให้เป็นสถิติทางการ เมือง
ด้านหนึ่ง ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนที่จะเห็นคนไทยร่วมชุนนุมและเดินเท้าเป็นระยะทางไกลสิบๆกิโลเมตรในเขตเมืองหลวงของประเทศ
ทั้งๆที่คนไทยโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯมีธรรมชาติไม่ชอบเดิน
|
วันเก้าเดิน วันแห่งประวัติศาสตร์หน้าใหม่ |
การกำหนดเส้นทางเดินหลายๆเส้นทางพร้อมๆกันเพื่อมุ่งหน้าไปสู่ทำเนียบรัฐบาล
อาจจะกลาย เป็นสถิติโลกที่กินเนสส์บุคต้องบันทึก และมีโอกาสเป็นไปได้ว่า
หากรวมทุกเส้นทางของ “วันเก้าเดิน” นี้เข้าด้วยกันแล้ว อาจจะยาวมากกว่า 12
กิโลเมตรที่เคยเป็นสถิติของนางเบนาซีร์ บุตโต อดีตผู้นำหญิงคนแรกของปากีสถาน
ในวันที่เดินทางกลับมาประเทศหลังจากต้องลี้ภัยในต่างแดนกว่า 9 ปี
และมีผู้คนแห่แหนมาต้อนรับเป็นล้านคนตลอดระยะทาง 12 กิโลเมตร
ท้ายที่สุดแล้ว
คงต้องติดตามว่า พลังสองขา และ“วันเก้าเดิน” แห่งประวัติศาสตร์นี้ จะทำให้ประเทศก้าวไปอีกระดับหนึ่ง
และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทยหรือไม่
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น