โดยสถิติตัวเลขที่มีการบันทึก ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์
มากกว่าประเทศอื่นๆ และสึนามิก็เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่ใช้เรียกคลื่นยักษ์ที่สร้าง
ความเสียหายให้กับมนุษย์อย่างใหญ่หลวง เป็นธรรมชาติหมายเลขหนึ่งของโลก
ก็ว่าได้
โดยธรรมชาติแล้ว คลื่นยักษ์สึนามิคือคลื่นที่เกิดจากแผ่นดินไหว (seismic sea
waves) ใต้ท้องทะเล(submarine earthquake) ก่อให้เกิดคลื่นพายุหมุนหรือพายุ
ซัดฝั่ง (storm surge) ที่มีพลังมหาศาลเกินกว่าทีมนุษย์ต้านทานได้
โดยทางภูมิศาสตร์แล้ว นับเป็นความโชคไม่ดีเป็นที่สุดของญี่ปุ่นที่ตั้งอยู่ในเขต
“วงแหวนแห่งไฟ”ซึ่งเป็นโซนที่มีมีการมุดตัว(slab)ของเปลือกโลก(subduction
zone) มากที่สุด มีผลทำให้เกิดแรงกดแรงดัน (strains) ใต้พื้นผิวโลกจนเกิด
แผ่นดินไหวได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตั้งอยูในเขตตรงกลางเกือบจะพอ
ดิบพอดีระหว่างรอยเลื่อนหรือร่องลึกซุนดะ (Sunda megatrench) และรอยเลื่อน
ซานแอนดริส (San Andreas Fault) ซึ่งเป็นเขตที่เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ สึนามิรุนแรงที่สุดในโลก ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อภัยธรรม
ชาติเหล่านี้อยู่เสมอ
ในเขตอิทธิพลของรอยเลื่อนซุนดะนั้น เกาะสุมาตรา (Sumatra)ของอินโดนิเซีย กลายเป็นเหยื่อรายใหญ่สุด โดยเฉพาะแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิหรือที่
เรียกในภาษาท้องถิ่นว่าคลื่นยักษ์สมัง (smong) ในปี 2547, 2548 และ 2550 ซึ่ง
รุนแรงสุดขีดในระดับ 8.5-9.2 ริกเตอร์ และเชื่อว่า การเกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุด
ในเขตรัฐฉาน (Shan) ของพม่าที่ส่งผลสะเทือนต่อเขตภาคเหนือของไทยก็มี
ส่วนมาจากรอยเลื่อนนี้
ในขณะที่อิทธิพลของรอยเลื่อนซานแอนดริสก็ส่งผลที่รุนแรงไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
โดยเฉพาะที่เกิดขึ้น ณ บริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก (San Francisco Bay) ในปี 2449 (7.8 ริกเตอร์) และ 2532 (6.9 ริกเตอร์) ส่วนการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณแนว
แผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ (South American Plate) ที่อยู่เชื่อมต่อกับรอยเลื่อน
ซานแดนดริสถือว่ารุนแรงที่สุดในโลก โดยเฉพาะการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.5
ริกเตอร์ที่ชิลีในปี 2503 ซึ่งถือเป็นระดับ (scale) ที่รุนแรงที่สุดเท่าที่มนุษย์เคย
ประสบ เป็นความบังเอิญที่มหาเมกะภัยนี้เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ (Sunday) เช่น
เดียวกับที่เกิดขึ้นในแถบอ่าวอันดามันและสุมาตราในปลายเดือนธันวาคมปี 2547
ในขณะเดียวกัน แผ่นดินไหวที่รุนแรงครั้งล่าสุดในชิลีขนาด 8.8 ริกเตอร์เกิดขึ้น
ในวันเสาร์ (Saturday) ที่22 ก.พ. 2553 มีผลอย่างมหาศาลทำให้ตำแหน่งทาง
ภูมิศาสตร์ของกรุงซานติอาโก (Santiago) ขยับเขยื้นเลื่อนไปทางตะวันตกอีก 11 นิ้วหรือประมาณ 27 เซ็นติเมตร
เช่นเดียวกับเขตแปซิฟิคใต้(South Pacific)ที่ต้องประสบกับเมกะภัยธรรมชาติที่
รุนแรงไม่แพ้กัน โดยเฉพาะแผ่นดินไหวในโซโลมอน(Solomon) ในปี 2550,
ซามัว (Samoa) ในปี 2552 และล่าสุดที่เกาะใต้ South Island) ของนิวซีแลนด์
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
หากพลิกย้อนกลับไปดูหลักฐานทางธรวิทยาที่เก่าแก่ที่สุดพบว่าเคยเกิดแผ่นดิน
ไหวและคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อประมาณแปดพันปีก่อนในเขตรอยเลื่อนของชั้นหิน
ที่เรียกว่าสตอเลกก้า (Soregga) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างสก๊อตแลนด์ (Scotland) และ สแกนดิเนเวีย (Scandinavia) ถัดมาก็คือการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ ระเบิดที่เกาะซานโตรินี (Santorini)ทางตอนใต้ของกรีซเมื่อประมาณสามพันปี
ที่แล้ว
ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มหาเมกะภัยธรรมชาติที่สร้างความหายนะแก่มนุษย์
อย่างใหญ่หลวงที่สุดเกิดขึ้นที่เมืองฉานซี (Shaanxi) ของจีนเมื่อปี 2099 โดย ประมาณการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่าแปดแสนคน นอกจากนี้การเกิดแผ่นดิน
ไหวในซีเรีย (Syria) ในปี 1681 และเกาะซิซีลี (Sicily) ประเทศอิตาลีเมื่อปี 2451 จนมีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่าสองแสนคนนั้น ถือเป็นหายนะที่ร้ายแรงที่สุดที่เคย
เกิดขึ้นในตะวันออกกลางและยุโรป ตามลำดับ
สำหรับรัสเซียซึ่งถือเป็นประเทศหนึ่งที่เสี่ยงกับภัยธรรมชาติเช่นนี้ เหตุการณ์แผ่น
ดินไหวที่รุนแรงที่สุดขนาด 9.0 ริกเตอร์เกิดขึ้นในปี 2495 บริเวณเกาะเซวีโร-คูริลส์
(Severo-Kurilsk) ติดกับภาคเหนือของญี่ปุ่น
ในกรณีของญี่ปุ่นเอง หากชี้เฉพาะลงไปแล้วบริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวและคลื่น
ยักษ์สึนามิในระดับมหาเมกะภัยนั้นมักจะกระจุกตัวอยู่ในสองเขต เขตแรกอยู่ใน
บริเวณอ่าวซากามิ (Sagami) ใกล้กรุงโตเกียว และอ่าวซูรุกะ (Suruga) ใกล้กับ
ภูเขาไฟฟูจิ เมกะภัยที่รุนแรงที่สุดขนาด 7.9 ริกเตอร์ เกิดขึ้นที่คันโตเมื่อ 88 ปี
ถือว่ารุนแรงที่สุดในญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 20 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติ
ศาสตร์ของญี่ปุ่นนับแสนคน และถึงแม้ว่าโกเบจะไม่ได้อยู่ในแนวรอยเลื่อนนี้
แต่การเกิดแผ่นดินไหวในปี 2538 ก็สร้างความเสียหายเป็นมูลค่ามหาศาลและ
เป็นภาพความเสียหายทางกายภาพที่ติดตาคนญี่ปุ่นมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง
นับตั้งแต่นั้นมา ญี่ปุ่นเริ่มประกาศใช้หน่วยมาตรวัดความรุนแรงแบบใหม่ที่เรียกว่า
ชินโด (shindo) ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป