สึนามิกลายเป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่คนทั่วโลกรู้จักมากที่สุดในเวลานี้ เป็นคำที่มี
ความหมายไม่ต่างจากคำว่าหายนะ โศกนาฏกรรมและความตาย
ครั้งหนึ่งเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2004 คนไทยรู้จักคำว่าสึนามิเป็นครั้งแรก
ด้วยต้นทุนที่แพงมหาศาล
จุดแดงของธงชาติญี่ปุ่นเหมือนเป็น
การชี้เป้าให้ถูกโจมตีอยู่เสมอๆ(?)
แต่ในวันนี้สึนามิกลับคืนสู่ญี่ปุ่นด้วยความรุนแรงอย่างมหาศาลถึง 9.0 ริก
เตอร์ เทียบเป็นพลัง 40,000 เท่าของระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโรชิม่าเมื่อปี 1945
ในรอบหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา คงไม่มีชาติไหนที่ต้องประสบกับหายนะและ
โศกนาฏกรรมที่รุนแรงและขมขื่นที่สุดเท่าญี่ปุ่นอีกแล้ว
รุนแรงและขมขื่นทั้งทางกายภาพ
รุนแรงและขมขื่นทั้งทางจิตวิทยา
ญี่ปุ่นกลายชาติแรกและชาติเดียวในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติที่ลิ้มรส
ระเบิดปรมาณูนิวเคลียร์อย่างสาหัสสากรรจ์เป็นที่สุด เป็นความเสียหายที่เจ็บ
ปวดที่สุดเท่าที่ชาติๆหนึ่งจะประสบ
เป็นชะตากรรมที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกัน ด้วยความจำเป็นเพื่อยุติ
สงครามโลกครั้งที่ 2
ชื่อของ "ฮิโรชิม่า" และ "นาฮาซากิ" กลายเป็นความทรงจำที่ขมขื่นภายใน
ที่หลอกหลอนคนญี่ปุ่นอย่างไม่อาจจะลบเลือนได้ง่ายๆ
ราบเรียบพนาสูญในปี 1945 ราบเรียบพนาสูญในปี 2011
ความพินาศจากน้ำมือมนุษย์ ความพินาศจากน้ำมือธรรมชาติ
ในปี 1945 ในปี 2011
เหม่อมองด้วยความขมขื่นสุดใน เหม่อมองด้วยความเศร้าสุดในผลงาน
ผลงานของระเบิดนิวเคลียร์ ของเมกะสึนามิ
หายนะที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์และหายนะที่เกิด
จากน้ำมือธรรมชาติหาได้มีความแตกต่างกันไม่
ผลงานที่เกิดจากความโหดเหี้ยมของจิตใจมนุษย์
และความโหดร้ายของธรรมชาติ
ซากจักรยานจากระเบิดปรมาณู ซากกองรถจากเมกะสึนามิ
ซากสุดท้าย...หายนะที่โหดร้ายนี้จะโทษใคร?
ภายหลังหายนะและความตาย ผู้รอดชีวิตคือผู้โชคดีที่สุด
แต่ใครจะเชื่อว่า
66 ปีผ่านไป คนญี่ปุ่นต้องประสบชะตากรรมครั้งวิกฤติที่สุดอีกครั้งหนึ่ง
ถึงแม้ว่าคนญี่ปุ่นจะคุ้นเคยกับแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเฉลี่ยวันละสามครั้ง แต่
สึนามิที่ถล่มญี่ปุ่นในครั้งนี้รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของชนชาติที่เป็นต้น
กำเนิดของซูโม่และบอนไซ
ภาพเก่าๆที่เคยเกิดขึ้นในปี 1945 กำลังหลอกหลอนคนญี่ปุ่นอีกครั้ง
นั่นคือภาพของซากปรักหักพัง ภาพของความหายนะ ภาพของความตาย
และภาพแห่งความพ่ายแพ้
ปี 1945 ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างไม่มีทางสู้
แต่ปี 2011 ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้กับธรรมชาติอย่างราบเรียบหมดทางต่อต้าน
ไม่มีคนญี่ปุ่นคนไหนที่ไม่รู้เรื่องช่วงประวัติศาสตร์ที่ขมขื่นที่สุดที่ฮิโรชิม่า
และนาฮาซากิถูกถล่มด้วยระเบิดนิวเคลียร์
เครื่องบินB62ผู้สังหารเหยื่อนับ ซากเครื่องบินรบที่ไม่อาจป้องกันตัวเอง
แสนในปี 1945 ได้แต่เป็นหนึ่งในเหยื่อนับแสนในปี 2011
ไฟพวยพุ่งเนื่องจากเมกะสึนามิในเซนไดในสภาพไม่ต่างจาก
ไฟพวยพุ่งในฮิโรชิม่าเนื่องจากระเบิดนิวเคลียร์
ถึงแม้จะห่างกัน 66 ปี แต่ทั้งสองเหตุการณ์กลับมีภาพความหายนะไม่ต่างกัน
ภาพ "เห็ด" นิวเคลียร์ที่ฮิโรชิม่ากำลังตามมา
หลอกหลอนคนญี่ปุ่นอีกครั้งหนึ่ง
แต่ในวันนี้คำว่า "นิวเคลียร์" ได้ตามมาหลอกหลอนให้คนญี่ปุ่นหวาดกลัว
อีกครั้งด้วยแรงฤทธิ์ของคลื่นสึนามิ ถึงแม้จะไม่ใช่ระเบิดนิวเคลียร์ แต่การรั่ว
ไหลของสารกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ก็สามารถคร่าชีวิตผู้
คนได้
คนญี่ปุ่นกำลังหวั่นวิตกกับคำว่า "นิวเคลียร์" อย่างหวาดผวา แต่คนญี่ปุ่น
กลับมีความหวังอยู่เสมอ
หนึ่งในแหล่งของความหวังสำหรับคนญี่ปุ่นก็คือคำว่า "วิกฤติ" ที่เขียน
ด้วยตัวอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่นนั้น ประกอบด้วยคำสองคำ คำแรกคือ
"อันตราย"และคำที่สองคือ "โอกาส"
อย่างน้อยที่สุด คนญี่ปุ่นเชื่อว่า อันตรายที่เกิดจากวิกฤติแต่ละครั้งนั้น ต้อง
มีโอกาสตามมาเสมอ
มนุษย์เราอาจจะเรียกร้องไม่เอาสงครามได้ |
แต่ไม่มีมนุษย์หน้าไหนสามารถเรียกร้องหรือ อ้อนวอนไม่เอาความรุนแรงจากธรรมชาติได้ |
เป็นภาระกิจของคนรุ่น 2011
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น