ในแผนที่ของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีจุดสีแดงที่แสดงถึงความขัดแย้งอันร้อนแรงที่สุดใน
ปัจจุบันอยู่สองจุด นั่นคือความร้อนแรงในความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา และระหว่างมาเลเซียกับ
อินโดนิเซีย ที่ลุกลามเลวร้ายถึงขั้นนำไปสู่การเผชิญหน้าทางการทหารและความตึงเครียดทางการทูต
เป็นความบังเอิญอย่างยิ่ง ที่กรณีความขัดแย้งของคู่ประเทศดังกล่าวโดยเฉพาะในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา
มีลักษณะร่วมอย่างน้อยสามประการ คือ หนึ่ง เป็นความขัดแย้งในเรื่องการอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ
สององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เข้ามามีบทบาทเกี่ยว
ข้อง และสามก่อให้เกิดกระแสชาตินิยมเกลียดชังอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้ความสัมพันธ์ทาง
การทูตระหว่างคู่ประเทศดังกล่าวเลวร้ายจนเรียกว่าถึงจุดต่ำสุดในรอบ(หลาย)ทศวรรษ
เดิมพันเขาพระวิหารกับความขัดแย้งระหว่างสองชาติ? |
กรณีข้อพิพาทในเรื่องเขาพระวิหารระหว่างไทยและกัมพูชานั้น เป็นผลมาจากบาดแผลที่เรื้อรังตั้งแต่ปี
2505 ภายหลังจากที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขต
อธิปไตยของกัมพูชา นั่นคือกัมพูชาเป็นเจ้าของปราสาทพระวิหารโดยนิตินัย นับเป็นชัยชนะเชิงสัญญ
ลักษณ์ (รวมทั้งชัยชนะทางการทูต) ครั้งแรกๆ ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่กัมพูชามีต่อประเทศไทย
เนื่องจากฝ่ายไทยไม่เคยยอมรับคำตัดสินดังกล่าวตั้งแต่ต้น บาดแผลที่เกิดขึ้นนี้จึงยากที่สมานให้สนิทได้
แม้ว่าเวลาจะผ่านล่วงมาแล้วกว่า 47 ปีก็ตาม และเป็นที่เข้าใจได้ว่า กรณีพิพาทเหนือปราสาทพระวิหาร
นั้นยุติเฉพาะที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของศาลโลก) เท่านั้น แต่หาได้นำมาซึ่ง
ความสมานฉันท์ระหว่างไทยและกัมพูชาอย่างยั่งยืนไม่
โดยข้อเท็จจริงแล้ว ภายหลังจากที่ภัยคอมมิวนิสต์ได้สูญสลายหายไปเมื่อสองทศวรรษก่อน กรณีปราสาท
พระวิหารได้พัฒนากลายเป็นจุดที่อ่อนไหวที่สุดแทนที่ในความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกรุงเทพฯ และ
พนมเปญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า ความขัดแย้งในกรณีพิพาทดัง
กล่าวนี้ ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเพื่อนบ้านนี้อย่างรุนแรง
มันเขี้ยวเพราะอยากรบ? |
ถึงแม้จะได้มีความพยายามที่จะผลักดันให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี 2535 แต่จุดเริ่ม
ต้นของปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบันเกิดขึ้นในปี 2550 เมื่อฝ่ายกัมพูชาได้ยื่นขอจดทะเบียน(แต่ฝ่ายเดียว)
ต่อองค์การยูเนสโกให้ประกาศรับรองปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก(ของกัมพูชาแต่ผู้เดียว) กระแส
คัดค้านจากหลายๆ ฝ่ายในประเทศไทยค่อยๆ ก่อตัว จนถึงจุดเดือดสุดในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม
2551 เพราะมีการต่อต้านและกล่าวหาทางการเมืองอย่างแข็งกร้าวต่อรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชว่ากำลัง
ทำให้ประเทศไทยสูญเสียดินแดงบริเวณโดยรอบปราสาทพระวิหาร (หรือส่วนที่เรียกว่าเขาพระวิหาร)
กว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร อันเนื่องมาจากนโยบาย(แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา) สนับสนุนให้กัมพูชา
จดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
ยินดีต้อนรับสู่เขตชายแดนไทย-กัมพูชา |
ในที่สุด ถึงแม้ว่า องค์การยูเนสโกจะได้ประกาศขึ้นทะเบียนรับรองตามคำขอของรัฐบาลกัมพูชาให้ปรา-
สาทพระวิหารเป็นมรดกโลก(ของกัมพูชาแต่ผู้เดียว) ตั้งแต่เดือนกรกฏาคมปีที่แล้ว แต่โชคร้ายที่ปัญหา
ความขัดแย้งระหว่างสองประเทศกลับพัฒนารุนแรงยิ่งขึ้น จนนำไปสู่การเผชิญหน้าทั้งทางทหารและ
ทางการทูต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่าทีและคำพูดที่แข็งกร้าวอย่างยิ่งของผู้นำสูงสุดในกัมพูชานั้น ไม่ต่าง
จากการราดน้ำมันใส่กองไฟ เพราะยิ่งทำให้บรรยากาศการเผชิญหน้าตึงเครียดและเลวร้ายมากยิ่งขึ้น
เครื่องหมายแห่งมิตรภาพระหว่างไทย-กัมพูชา |
ยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า ไม่ว่าจะอยู่ในระบอบการเมืองการปกครองใด ผู้นำกัมพูชามักจะมีท่าทีแข็ง
กร้าวไม่แตกต่างกัน และไม่ยอมประนีประนอมกับรัฐบาลไทยในกรณีปราสาทพระวิหาร(และพื้นที่โดย
รอบ)เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นครั้งหนึ่งในปี 2501 เมื่อรัฐบาลกัมพูชาโดยสมเด็จนโรดม สีหนุถึงขั้นตัด
ความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงในกรรมสิทธิ์เหนือ
ปราสาทพระวิหาร(และบริเวณโดยรอบ) ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเป็นประเทศแรกสุดที่รับรองความเป็น
เอกราชของกัมพูชาในปี 2493 และนั่นคือจุดเริ่มต้นของปัญหาความขัดแย้งเหนือปราสาทเขาพระวิหาร
ในความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่ยืดเยื้อต่อเนื่องกันมากว่าห้าสิบปี
ความร้อนแรงและอ่อนไหวของกรณีพิพาทดังกล่าว ได้กลับมา “หลอกหลอน” ความสัมพันธ์ระหว่าง
ไทยและกัมพูชาอีกครั้งหนึ่งในปีพ.ศ.นี้ จนถึงขั้นทำให้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะต้องยกขึ้นมา
เป็นประเด็นหารือกับนายบัน คี มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติเกี่ยวกับบทบาทขององค์การ
ยูเนสโก เพราะเชื่อว่า องค์การยูเนสโกมีส่วนสร้างเงื่อนไขให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา
มากกว่าก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน
แต่ในอีกด้านหนึ่งที่ห่างจากจุดขัดแย้งนี้ไปทางใต้ประมาณสองพันกิโลเมตร ผู้นำอินโดนิเซียย่อมมีความ
คิดที่แตกต่างจากผู้นำไทยอย่างแน่นอน เพราะมีเหตุให้เชื่อว่า บทบาทขององค์การยูเนสโกมีส่วนสำคัญ
อย่างมากที่ทำให้ความร้อนแรงตึงเครียดล่าสุดระหว่างอินโดนิเซียกับมาเลเซียผ่อนคลายลง
ในช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างจาร์กาต้าและกัวลาลัมเปอร์ได้ถึงจุดเดือดที่
เรียกว่าเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในรอบห้าทศวรรษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งอันเนื่องมาจากข้อพิพาท
เกี่ยวกับทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของทั้งสองชาติ ที่ทำให้เกิดการเผชิญหน้าของคนทั้งสองประเทศจนถึง
ขั้นประกาศสงคราม
โดยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์แล้ว คงจะไม่ผิดนักที่จะกล่าวว่า มาเลเซียและอินโดนิเซียมีรากเหง้ามา
จากครอบครัวเดียวกัน ทั้งในเรื่องของภาษา วัฒนธรรมและศาสนา แต่ไม่น่าเชื่อว่า ในความสัมพันธ์
ระหว่างสองประเทศนี้กลับอุดมไปด้วยปัญหาความขัดแย้งสารพัด โดยเฉพาะข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับ
การอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของเหนือดินแดนและวัฒนธรรม เรียกได้ว่า เป็นคู่กรณีที่มีข้อพิพาทขัดแย้ง
มากที่สุดในบรรดาสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
ดูเหมือนเป็นความบังเอิญอย่างยิ่ง ที่รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งระหว่างมาเลเซียและอินโดนิเซีย
ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่เริ่มต้นในช่วงใกล้เคียงกันกับกรณีของไทยและกัมพูชา โดยอินโดนิเซียเปิดฉาก
ทำสงครามสี่ปีกับมาเลเซียในสมรภูมิเกาะบอร์เนียวเมื่อปี 2505 เพื่อคัดค้านการจัดตั้งสหพันธรัฐมาเลเซีย
(ที่รวมเอาซาบาร์และซาราวัค) บาดแผลจากความพ่ายแพ้ทางทหารต่อมาเลเซีย (ซึ่งได้รับความช่วยเหลือ
อย่างเต็มที่จากกองทัพอังกฤษ) ในครั้งนั้น ถูกตอกย้ำด้วยบาดแผลใหม่จากความพ่ายแพ้ต่อมาเลเซียเป็น
ครั้งที่สองในปี 2545 เมื่อศาลโลกได้ตัดสินให้เกาะ Sipadan และ Ligitan เป็นของมาเลเซีย
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่อินโดนิเซียจะยอมรับความพ่ายแพ้อีกครั้งหนึ่ง ในกรณีพิพาทเหนือ
เกาะ Ambalat ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันที่อุดมสมบูรณ์ ความขัดแย้งล่าสุดจนเกือบจะเกิดยุทธนาวีระหว่าง
กองทัพเรือของทั้งสองประเทศเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานั้น เป็นดัชนีชี้วัดความเป็นปฏิปักษ์ที่ร้าว
ลึกได้อย่างดี และตอกย้ำว่า นโยบายการเผชิญหน้าหรือ konfrontasi ที่เป็นมรดกตกทอดมาจากสมัย
ประธานาธิบดีซูการ์โนเมื่อห้าสิบปีก่อนยังดำรงอยู่ในปัจจุบันนี้
ความเกลียดชังอย่างร้าวลึกที่ถูกสะสมมานานระหว่างคนสองชาตินี้ได้กลายเป็น “เชื้อ” อย่างดีที่สามารถ
จุดปะทุให้เกิดความรุนแรงได้ทุกเมื่อ บวกกับความรู้สึกที่ถูกกดขี่ข่มเหงจากนายจ้างชาวมาเลเซียมาโดย
ตลอด ทำให้ทัศนคติเชิงลบของคนอินโดนิเซียที่มีต่อมาเลเซียยิ่งฝังรากลึกมากขึ้น (เช่นเดียวกับทัศนคติ
ของคนกัมพูชาที่มีต่อคนไทย)
และเมื่อปรากฏข่าวที่นางแบบสาวอินโดนิเซียออกมาเปิดเผยต่อสาธารณชนว่า ถูกปฏิบัติอย่างโหดร้าย
ทารุณจากสามีซึ่งเป็นเจ้าชายมาเลเซียพระองค์หนึ่งเสมือนเป็น “ทาสทางเพศ” จนต้องหลบหนีกลับมา
อินโดนิเซียโดยไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ จากทางการมาเลเซีย ก็ยิ่งทำให้อารมณ์โกรธแค้นของคน
อินโดนิเซียร้อนแรงยิ่งขึ้น ว่ากันว่า การจับตายนายนอร์ดิน ท๊อป ผู้นำกลุ่มก่อการร้ายที่อยู่เบื้องหลัง
การระเบิดที่บาหลีในปี2548 และล่าสุดที่โรงแรมมาร์ริออทกลางกรุงจาร์กาต้า คือปฏิกิริยา “แก้เผ็ด”
ต่อมาเลเซีย เพราะบุคคลที่สร้างความเสียหายและเป็นที่ต้องการตัวมากที่สุดของทางการอินโดนิเซีย
คนนี้เป็นชาวมาเลเซีย
ความขัดแย้งได้ขยายลุกลามไปสู่สงครามวัฒนธรรม เมื่ออินโดนิเซียกล่าวหามาเลเซียว่า “ขโมย” ทรัพย์
สินทางวัฒนธรรมของอินโดนิเซีย ไล่เรียงตั้งแต่เพลงชาติ เพลงพื้นเมืองราซาซายัง เครื่องดนตรีอังกะลุง
หนังตะลุงวายัง รำบาหลีและผ้าบาติก จนเกิดกระแสความไม่พึงพอใจไปทั่วอินโดนิเซีย และเรียกขาน
ชื่อ Malaysia ให้เพี้ยนเป็น Malingsia ซึ่งแปลว่า หัวขโมยในภาษาอินโดนิเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การ
ประท้วงของกลุ่มหัวรุนแรงชาตินิยมเมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา ที่ได้รวมตัวกัน(พร้อมอาวุธ) ขว้างปาสถาน
ทูตมาเลเซียในจาร์กาต้า เผาธงชาติมาเลเซีย และตามล่าหวังทำร้ายและขับไล่คนมาเลเซียให้ออกไปจาก
อินโดนิเซีย (เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นกับคนไทยในพนมเปญเมื่อเดือนมกราคม 2546) พร้อมทั้งประกาศ
วันดีเดย์อย่างชัดเจนโจ่งแจ้งว่า จะบุกไปทำสงครามกับมาเลเซียในวันที่ 8 ตุลาคมนี้
การประกาศอย่างเป็นทางการให้ผ้าบาติกเป็นมรดกทางวัฒนธรรมโลกของอินโดนิเซียโดยองค์การ
ยูเนสโกเมื่อเร็วๆนี้ ถือเป็นชัยชนะที่มีความหมายมากสำหรับอินโดนิเซีย และส่งผลทำให้อารมณ์เกลียด
ชังโกรธแค้นของชาวอินโดนิเซียที่มีต่อคนมาเลเซียลดดีกรีความร้อนแรงลงอย่างมาก และหากไม่เกิด
โศกนาฏกรรมแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเสียก่อนแล้ว เราก็คงจะเห็นชาวอินโดนิเซียร่วมฉลองกันทั้ง
ประเทศในวันที่ 2 ตุลาคมมากกว่านี้อย่างแน่นอน
แน่นอนที่สุดว่า ผู้นำอินโดนิเซียจะเดินหน้าต่อไป โดยอาศัยช่องทางขององค์การยูเนสโกเรียกคืนทรัพย์
สินทางวัฒนธรรมจากมาเลเซีย เพราะเชื่อมั่นว่าช่องทางนี้จะนำชัยชนะมาสู่อินโดนิเซียได้มากที่สุด หลัง
จากที่ประสบความสำเร็จในกรณีของฝ้าบาติก รวมถึงหนังตะลุง (2546) และกริช (2548) โดยแทบจะ
ไม่มีการคัดค้านไม่ยอมรับจากทางการมาเลเซีย และอย่างน้อยที่สุด ชัยชนะทางสัญญลักษณ์ดังกล่าวนี้
มีผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงบวกไม่น้อย ถึงแม้ว่า คำประกาศรับรองขององค์การยูเนสโกดังกล่าว
อาจจะไม่ได้สร้างเงื่อนไขให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างอินโดนิเซียและมาเลเซีย แต่ก็ส่งผลทำให้ความ
ขัดแย้งระหว่างสองชาตินี้ลดระดับความตึงเครียดและความรุนแรงไปไม่น้อย แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจาก
กรณีพิพาทปราสาทพระวิหารที่บทบาทขององค์การยูเนสโกมีส่วนจุดชนวนทำให้เกิดความเกลียด
ชังและทัศนคติชาตินิยมระหว่างคนไทยและคนกัมพูชาร้าวลึกมากขึ้น
.
เรื่องเขาพระวิหารไม่มีวันจบ ห่วงแต่เพื่อน ๆ ที่ทำงานและอาศัยอยู่ใกล้ชายแดน
ตอบลบจบยากนิยายเรื่องยาว เถียงกันว่าเขาพระวิหารเป็นของใคร คำถามคือ ถ้าชาติใดชาติหนึ่งได้มาแล้วจะเอาไปทำอะไรไหม นอกจากการมาอวดใส่กันว่า ข้านี้ชนะ ข้านี้ได้เขาพระวิหารแล้วนะ
ตอบลบแทนที่จะมาทะเลาะกันว่าเป็นของใคร ทำไมไม่แบ่งกันไปคนละครึ่งเจรจากันดีๆ แล้วก็สร้างผลประโยชน์ร่วมกัน ได้ผลประโยชน์ทั้งสองชาติ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และ วัฒนธรรม ทำมาหากินกับสิ่งที่มีอยู่ร่วมกัน แทนที่จะมาแย่งกันแล้ว พอได้ไปก็ไม่ได้เอาไปทำอะไรจริงๆจัง