18 มกราคม 2554

มองเขาเป็นตัวอย่าง มองเราเป็นบทเรียน : มหัศจรรย์แห่งการสมานฉันท์

.




ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เป็นเสมือนเชื้อไวรัสที่กัดกร่อน
สังคมไทยอย่างหนัก จนมีสภาพไม่ต่างจาก คนป่วยแห่งเอเซีย     เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่อาจเรียกว่า ไม่ว่าจะ
มีผลออกมาในรูปแบบใด แต่จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย

การศึกษาตัวอย่างในต่างประเทศหลายๆ กรณีนับเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ไม่น้อย เพื่อเป็นแนวทางประยุกต์ใช้
แก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยและสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นจริง ถึงแม้ว่า จะมีเงื่อนไขทางสังคม
หรือวัฒนธรรมทางการเมืองที่แตกต่างกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะมองข้ามตัวอย่างความสำเร็จในต่าง
ประเทศไปทั้งหมดก็หาไม่

ท่ามกลางความขัดแย้งทั้งแนวกว้าง (ขยายวงกว้างไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ) และแนวลึก (เกิดการแยกเขา
แยกเราอย่างชัดเจน) มีกระแสเรียกร้องหา คนกลางอยู่ตลอดเวลาเพื่อทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยคู่ขัดแย้ง แต่ดู
เหมือนว่า สังคมไทยจะมีแต่ คนกลางๆ แต่ไม่มี คนกลาง ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น คนกลาง เป็น
ผู้ใหญ่จริงๆ

ในด้านหนึ่ง การปราศจาก คนกลางไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญของความล้มเหลวในการเจรจาใดๆ เสมอไป 
หรือบางครั้ง คนกลางอาจจะเป็นอุปสรรคเสียเอง หากพยายามแสดงบทบาทเป็น คนที่สามหรือเป็น
อีกคนหนึ่งในระหว่างการเจรจามากเกินไป  แต่ในอีกด้านหนึ่ง การมี คนกลาง หรือ คนนอก ที่ไม่ได้
มีส่วนเกี่ยวข้องในส่วนใดส่วนหนึ่งกับคู่ขัดแย้ง ทำหน้าที่เป็นคนไกล่เกลี่ย ก็เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ
ร้าง สะพานเชื่อมโยงคู่ขัดแย้ง ก่อให้เกิดบรรยากาศที่จะยุติข้อขัดแย้งและเกิดความต้องการที่จะสมาน
ฉันท์กันจริงๆ ก็ได้

ในกรณีตัวอย่างของกัมพูชา  อินโดนิเซีย (กรณีอาเจะห์)  และฟิลิปปินส์ (กรณีมินดาเนา) นั้น ปฏิเสธไม่ได้
ว่า คนกลาง มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการยุติข้อขัดแย้ง  เป็น คนกลาง ที่เป็น คนนอก จริงๆ  นั่น
คือ ฝรั่งเศส (กรณีความขัดแย้งในกัมพูชา) ฟิลแลนด์ (กรณีความขัดแย้งในอินโดนิเซีย) และมาเลเซีย (กรณี
ความขัดแย้งในฟิลิปปินส์) 

เพราะฉะนั้น เราควรต้องพิจารณา คนนอกมาทำหน้าที่เป็น คนกลางอย่างจริงๆจังๆ นั่นคือ คนกลาง
นอกประเทศ  เพราะต้องยอมรับความจริงว่า สังคมไทยไม่มี คนกลางที่ทุกๆฝ่ายเชื่อว่าเป็นกลางจริงๆ 
และคนกลางที่เหมาะสมกับสังคมการเมืองไทย ณ ปัจจุบันนี้มากที่สุดคนหนึ่งก็คือสวีเดน  ซึ่งนอกเหนือจาก
จะมีฐานะ เป็นกลางในเวทีระหว่างประเทศมาตั้งแต่ยุคสงครามโลกแล้ว สวีเดนยังมีความใกล้ชิดกับ
ประเทศไทยเป็นอย่างมากและมีระบบการเมืองการปกครองที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน คนสวีเดนส่วนใหญ่
ประทับใจผูกพันและถือเมืองไทยเป็นบ้านที่สอง อยากเห็นเมืองไทยสงบเหมือนสวีเดน และการที่คุณทักษิณ
มีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับอดีตนายกรัฐมนตรีสวีเดน ก็ไม่ได้หมายความว่า สวีเดนจะลำเอียงเข้าข้างฝ่ายใด
ฝ่ายหนึ่ง  หากเราสามารถหาคนกลางได้ การเริ่มต้นเจรจาอย่างจริงจังที่สุด เพื่อเปิดทางไปสู่ความสมานฉันท์
ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้มากขึ้น มากยิ่งกว่ากรณีของกัมพูชา อินโดนิเซียหรือฟิลิปปินส์ เพราะอย่างน้อยที่สุด
ความขัดแย้งในสังคมการเมืองไทยปัจจุบัน ไม่ได้รุนแรงเป็นสงครามสู้รบระหว่างกันเหมือนเช่นในกรณีของ
ทั้งสามประเทศ

เมื่อหาคนนอกมาเป็นคนกลางได้แล้ว ประเด็นสำคัญแรกสุดประเด็นหนึ่งของการเจรจาแบบประมวลก็คือ
เรื่องของคุณทักษิณ ชินวัตร เพราะนี่คือ หัวใจ หรือประเด็นชี้ขาดต่อท่าทีของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลในขณะ
นี้ที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้

แอฟริกาใต้เป็นตัวอย่างที่คลาสสิคหรือดีที่สุดตัวอย่างหนึ่งของการสมานฉันท์ระหว่างคนในชาติเดียวกันที่
ไม่ได้เกิดขึ้นในทันทีทันใด  การเจรจาระหว่างคนผิวขาวและคนผิวดำมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ยาก
ตราบใดที่เนลสัน แมนเดลล่าผู้นำคนผิวดำยังถูกจำคุกอยู่  เพราะฉะนั้น การปล่อยตัวแมนเดลล่าให้เป็น
อิสรภาพ ภายหลังการถูกจองจำมานานกว่า 27 ปี จึงกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญก้าวแรกของการเปิดทางเริ่มต้น
เจรจาครั้งใหม่ที่จริงจัง   เพราะฉะนั้น เพียงแค่คิดก็ผิดแล้ว ที่จะเจรจาใดๆ โดยไม่รวมเอาเรื่องของคุณทักษิณ
เข้าไปด้วยตั้งแต่แรก เพราะนี่คือ ตัวแปรอิสระ ที่มีผลต่อท่าทีของกลุ่มคนเสื้อแดงโดยตรงมากที่สุด หรือ
อย่างที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอมแกนนำกลุ่มสยามสามัคคี   ระบุว่า ประเทศไทยมีปัญหาเดียว คือ ทักษิณ
ก็ยิ่งทำให้เห็นได้ชัดเจนว่า นี่คือเงือนไขที่สำคัญอย่างยิ่งยวดที่ไม่อาจละเลยได้ หากสังคมไทยเราต้องการ
ความสมานฉันท์จริงๆ

โดยข้อเท็จจริงสองประการแล้ว ไม่มีใครที่สามารถเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลที่ให้จำคุกคุณทักษิณ 2 ปี
และเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะโน้มน้าวให้อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 คนนี้ยอมรับแนวทาง แมนเดลล่า
โมเดลและปฏิบัติตามคำพิพากษาได้

แล้วเราจะเริ่มต้นแก้ปัญหา ปัจจัยทักษิณนี้อย่างไร โดยไม่ขัดต่อหลักนิติศาสตร์ (คำพิพากษา)และเอื้อ
อำนวยต่อหลักรัฐศาสตร์ (เพื่อการสมานฉันท์) พร้อมๆกัน

ในทางทฤษฏีแล้ว ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้จำคุก ไม่จำเป็นว่าจะต้องถูกดำเนินคดีโดยวิธีการจำคุกในเรือนจำ
(In prison) เสมอไป แต่อาจจะถูกกักบริเวณภายในบ้าน  (Under house arrest)  ก็ได้  เป็นหลักปฏิบัติที่ได้รับ
การยอมรับในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายๆ ประเทศ เช่นอิตาลี อังกฤษ สหรัฐฯ และนิวซีแลนด์ โดยมักจะใช้
บังคับในกรณีที่เป็นลหุโทษไม่ได้เป็นอาชญากรร้ายแรง หรือถูกพิพากษาให้จำคุกไม่เกิน 2 ปี  โดยเฉพาะ
อิตาลีซึ่งเพิ่งมีบทบัญญัติกฎหมายนี้ในปี 2549  ส่วนหนึ่งเพื่อใช้บังคับกับนักการเมืองที่ต้องโทษคำพิพากษา
ในระยะเวลาสั้นๆ ในคดีเกี่ยวกับคอร์รัปชั่นและหลบเลี่ยงภาษีหรือการทุจริตอื่นๆ

ในทางรัฐศาสตร์แล้ว นี่คือการประนีประนอมในหลักการที่ไม่ได้ละเมิดหลักนิติศาสตร์  ถึงแม้ว่าจะต้องถูก
กักบริเวณและถูกควบคุมจำกัดเสรีภาพ  แต่ก็เชื่อได้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้อดีตผู้นำที่เป็นแฟมมิลี่แมนคนนี้
มีความสุขมากที่สุดเท่ากับการได้กลับเมืองไทยและอยู่ในบ้าน จันทร์ส่องหล้ากับครอบครัวจริงๆ   ทั้งนี้
ในช่วงที่ถูกกักบริเวณตามคำพิพากษานี้ คุณทักษิณจะต้องพิสูจน์และใช้ศักยภาพของตัวเองสร้างคุณประ
โยชน์ให้แก่ประเทศให้มากที่สุด(เป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยน) ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณทักษิณเคยเรียกร้องขอโอกาสทำ
ประโยชน์ให้กับประเทศชาติ  โดยเฉพาะความสัมพันธ์อันดีกับกัมพูชาและซาอุดิอาระเบีย    รวมไปถึง การ
เรียกร้องให้กลุ่มคนเสื้อแดงเปลี่ยนแปลงท่าทีใหม่ นั่นคือ ไม่มีพื้นที่ สีแดงใด ที่เป็นเขตห้ามเข้าสำหรับ
คนของรัฐบาล  ตลอดจนการทุ่มเททั้งพลังสมองและพลังทุนทรัพย์ ทำหน้าที่ผลักดันให้แนวคิดเศรษฐกิจ
พอเพียงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นในสังคมไทย

หากสังคมไทยโดยเฉพาะรัฐบาลนายอภิสิทธิ เวชชะชีวะมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อการสมานฉันท์แล้ว การยืด
หยุ่นในวิธีการบางอย่างโดยไม่เสียหลักการใดๆ ก็น่าจะได้รับการพิจารณาอย่าง อ่อนไหวและรอบด้าน
เพราะตัวอย่างในความสำเร็จของการสมานฉันท์ทั้งในสหรัฐฯ (หลังสงครามการเมืองระหว่างฝ่ายเหนือและ
ฝ่ายใต้) และในแอฟริกาใต้ ส่วนสำคัญก็เนื่องมาจากการที่อดีตประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์นของสหรัฐฯ
และแมนเดลล่า (ซึ่งกลายเป็นประธานาธิบดีผิวดำคนแรกของแอฟริกาใต้) ปฏิเสธแนวทางทัณฑฉันท์
(Retributive) ที่มุ่งเน้นลงโทษทัณฑ์ฝ่ายตรงข้ามอย่างไม่ลดละ แต่กลับเลือกดำเนินตามแนวทางยุติฉันท์
(Restorative) เพื่อยุติวงจรอุบาทว์ของการล้างแค้น(ทางการเมือง) ต่อกันไม่จบสิ้น โดยเฉพาะการนิรโทษ
กรรมอย่างมีเงื่อนไข

หากสองประเด็นดังกล่าวข้างต้นได้รับการยอมรับจากทั้งสองฝ่ายแล้ว เชื่อได้ว่าจะเปิดทางให้การเจรจาใน
ประเด็นเรื่องอื่นๆ มีโอกาสตกลงได้มากขึ้น และที่ผ่านมา  ทั้งสองฝ่ายก็แสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ที่บ่งบอกถึง
ความหวังว่า อย่างน้อยที่สุด ความขัดแย้งในสังคมการเมืองไทยในเวลานี้เป็นเรื่องที่เจรจากันได้ (Negotiable) 
และเป็นเรื่องที่งดงามไม่น้อย หากฝ่ายรัฐบาลจะเป็นผู้ริเริ่มการเจรจาใดๆ ก่อน




(ตีพิมพ์ในมติชนรายวัน เมษายน 2553 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...