ด้วยความที่อังกฤษคาดหวังเป็นอย่างมากว่าปี 2018 คือโอกาสที่ดีที่สุดที่ฟุตบอลโลกโลกจะได้กลับคืนสู่มาตุภูมิ และได้รับคัดเลือกจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศหรือฟีฟ่าให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในอีก 8 ปีข้างหน้า
แต่ความฝันอันยิ่งใหญ่ของอังกฤษต้องพังทลายจบสิ้นจบเห่อย่างชนิดเสียหน้าเสียความรู้สึกมากที่สุด เมื่ออังกฤษได้รับเสียงสนับสนุนเพียง 2เสียงจากคณะกรรมการฟีฟ่า ทั้งหมด 22 คนเป็นความอัปยศยิ่งกว่าตอนสมัครเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2006 และเป็นความขมขื่นที่สุดซ้ำสองในรอบหกเดือนสำหรับชาติผู้ให้กำเนิดเกมกีฬาฟุตบอล
หากยังมีชีวิตอยู่ เจ้าหมึกพอลคงได้ทำหน้าที่ เลือกเจ้าภาพบอลโลกแบบไม่มีปัญหามี |
ทำไมในรอบ 40 ปีที่ผ่านมามหาอำนาจลูกหนังอย่างอังกฤษจึงแทบจะไม่ประสบความสำเร็จทั้งบนสนามหญ้าและในวงจรอำนาจของฟีฟ่า
หากมองย้อนหลังกลับไปเมื่อ 44 ปีก่อน ปี 1966 ถือเป็นปีทองที่ทีมอังกฤษสามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกได้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ แต่ได้สร้าง “แผลทาง
ใจ” ระหว่างอังกฤษกับหลายๆประเทศในลาตินอเมริกาที่ยังรู้สึกต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
นี้บวกกับ “แผล” ของสงครามฟอล์คแลนด์กับอาร์เจนติน่าที่ยังไม่จางหาย จึงเป็นเรื่อง
ยากที่อังกฤษจะได้รับการสนับสนุนกลุ่มประเทศอเมริกาใต้อย่างแข็งขัน
ในขณะเดียวกัน อังกฤษก็แทบจะไม่มีแนวร่วมพันธมิตรในยุโรปที่พร้อมจะเทเสียงสนับสนุนด้วยเหตุผลปัจจัยหลายๆประการ และเหตุผลหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ก็คืออังกฤษเคยมี “ประวัติเสีย”มาก่อนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่ตามมาหลอกหลอนอังกฤษในวันนี้เสียเอง
ย้อนหลังไปเมื่อ 2 ทศวรรษที่แล้ว การพังทลายของกำแพงเบอร์ลินและการรวมประเทศเยอรมนีเป็นหนึ่งเดียวเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่สำคัญที่สุดในช่วงสั่งลาศตวรรษที่ 20 สำหรับชาติเยอรมนีแล้ว การเป็นเจ้าภาพฟุตบอลระหว่างประเทศคือสัญญลักษณ์ที่สำคัญหนึ่งของความสำเร็จนี้
ว่ากันว่า มีการตกลงแบบสัญญาสุภาพบุรุษระหว่างผู้ใหญ่แห่งวงการฟุตบอลอังกฤษและเยอรมนีในขณะนั้นว่า เยอรมนีจะสนับสนุนอังกฤษให้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลยุโรปปี 1996 และอังกฤษจะสนับสนุนเยอรมนีเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกเป็นการแลกเปลี่ยน แต่ความสำเร็จของการเป็นเจ้าภาพ “ยูโร 96” บวกกับความล้มเหลวที่ไม่สามารถคว้าแชมป์ในบ้านได้ ทำให้อังกฤษลืมคำสัญญาและสมัครเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2006 แข่งกับเยอรมนี
ท้ายที่สุดแล้ว เยอรมนีได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพ พร้อมกับความพ่ายแพ้น่าผิดหวังของ
อังกฤษที่ผ่านไปได้เพียงรอบสอง (ด้วยเสียงสนับสนุนเพียง 2 เสียงเทียบกับ 11 เสียงสำหรับเยอรมนี)
เพราะฉะนั้นแล้ว ตราบใดที่อังกฤษยังขาดแนวร่วมพันธมิตรที่แนบแน่นทั้งในยุโรปและ
ลาตินอเมริกา ก็เป็นเรื่องยากที่อังกฤษจะได้รับเสียงสนับสนุนเพียงพอในฟีฟ่า นั่นหมาย
ถึงโอกาสที่อังกฤษจะได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพภายใต้ระบบการโหวตเลือกของฟีฟ่าในปัจจุบันก็ยิ่งเป็นเรื่องที่ยากเกินแกง
ในขณะเดียวกัน ปัจจัยบุคคลก็แทบจะไม่มีอิทธิพลหรือเพิ่มน้ำหนักให้แก่อังกฤษ ถึงแม้ว่า เดวิด เบ๊กแคมคือ “หน้าตา”ของอังกฤษที่คนทั่วโลกจดจำได้ดีที่สุด แต่ชื่อเสียงความดังของฮีโร่มีเดียเมดคนนี้ ก็ไม่สามรถแปรเปลี่ยนให้เป็นคะแนนเสียงในฟีฟ่าได้เทียบชั้นไม่ได้กับอิทธิพลบารมีของฟรานซ์ เบคเคนบาวอ์ อดีตกัปตันทีมชาติเยอรมนี ผู้ยิ่งใหญ่ตัวจริงแห่งวงการโลกลูกหนังและฟีฟ่า
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า อำนาจทางการเมืองไม่ได้เป็นหลักประกันในวงการโลกกีฬาเสมอไป แม้กระทั่งผู้นำที่มีอำนาจทางการเมืองมากที่สุดในโลกอย่างประธานา
ธิบดี บารัค โอบาม่าก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในความพยายามล๊อบบี้ด้วยตนเอง เพื่อช่วยหาเสียงสนับสนุนให้ชิคาโกเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิคปี 2016 เรียกว่าร่วงตกรอบแรกอย่างไม่เป็นท่าเหมือนอังกฤษไม่มีผิด เพราะฉะนั้น จึงไม่แปลกใจที่บทบาทและการล๊อบบี้ด้วยตนเองของนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน และเจ้าชาย วิลเลี่ยมในช่วงโค้งสุดท้ายจะไม่บังเกิดผลใดๆ เลย
ความร่วมมืออย่างแข็งขันของเจ้าชายเฮนรี่ นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอนและเดวิด แบ็กแคม |
แต่ความสำเร็จของรัสเซียในครั้งนี้ ต้องถือเป็นเครดิตของนายกรัฐมนตรีวลาดิเมียร์ ปูติน มากกว่าใครๆทั้งหมดอย่างไม่มีข้อสงสัย และมีความเป็นไปได้อย่างสูงว่าปูตินจะหวนกลับคืนสู่อำนาจในตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งในอีกสองปีข้างหน้าต่อเนื่องไปจนถึงปี 2020
นอกเหนือจากปัจจัยทางการเมืองและปัจจัยบุคคลดังกล่าวแล้ว ปรัชญาของฟีฟ่าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาให้ความสำคัญมากๆ เพราะไม่ว่าอังกฤษจะมีความพร้อมและมีแผนการข้อเสนอที่ดีเลิศมากแค่ไหนก็ตาม ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าอังกฤษจะได้รับเลือกโดยดุษฎี
ฟีฟ่ายึดมั่นในปรัชญาและวิสัยทัศน์ที่ว่าฟุตบอลโลกคือเกมกีฬาของโลกที่ต้องเปิดกว้างให้ทั่วทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมและมีโอกาสมากที่สุด และอาจจะด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้รัสเซียและกาตาร์แตกต่างและได้เปรียบคู่แข่งขันอื่นๆ
ฟีฟ่าเชื่อมั่นว่า การเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของรัสเซียและกาตาร์จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกลูกหนังและโลกการเมืองมากมายยิ่งกว่าอังกฤษ เหมือนเช่นที่เคยเปิดโอกาสให้แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกในทวีปแอฟริกาเมื่อเร็วๆนี้
ฟีฟ่าเชื่อมั่นว่า การเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของรัสเซียและกาตาร์จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกลูกหนังและโลกการเมืองมากมายยิ่งกว่าอังกฤษ เหมือนเช่นที่เคยเปิดโอกาสให้แอฟริกาใต้เป็นประเทศแรกในทวีปแอฟริกาเมื่อเร็วๆนี้
รัสเซียเป็นเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นอดีตยักษ์ใหญ่มหาอำนาจโลกคอมมิวนิสต์ที่ยังคงอิทธิพลในโลกปัจจุบันอยู่ไม่น้อย และเกมฟุตบอลฝังรากลึกอยู่ในสังคมรัสเซียควบคู่กับเหล้าว๊อดก้ามานาน นอกจากจะเป็นประเทศแรกในยุโรปตะวันออกแล้ว รัสเซียจะกลายเป็นประเทศ (อดีต)คอมมิวนิสต์ประเทศแรกที่ได้รับเกียรตินี้จากฟีฟ่า
|
สำหรับกาตาร์ ถึงแม้จะเป็นเจ้าภาพที่มีขนาดประเทศเล็กที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่ความสำคัญหลายๆประการของกาตาร์ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องกล่าวถึง เพราะนอกจากจะเป็นประเทศอาหรับประเทศแรกในตะวันออกกลางแล้ว กาตาร์กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์เป็นประเทศมุสลิมประเทศแรกที่ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก ทำให้ความฝันของกลุ่มประเทศมุสลิมเป็นจริง หลังจากที่อียิปต์และโมร็อคโคเคยล้มเหลวมาก่อนหน้านี้
เชื่อได้ว่า ปัจจัยทางการเมืองที่สำคัญที่สุดที่ทำให้กาตาร์ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกก็คือ ปัจจัย “อิสราเอล” ซึ่งผู้นำกาตาร์ได้ประกาศอย่างชัดเจนตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า ยินดีต้อนรับทีมชาติอิสราเอลหากสามารถผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา กาตาร์ก็ได้ดำเนินมาตรการที่ยืดหยุ่นทั้งทางกฎหมายและการทูตนี้ ด้วยการอนุญาตให้นักเทนนิสอิสราเอลเข้าประเทศเพื่อร่วมแข่งขันรายการโดฮาแชมเปี้ยนชิพได้โดยไม่ปรากฏว่ามีการคัดค้านจากประเทศอาหรับอื่นๆ
กาตาร์สร้างประวัติศาสตร์เป็นประเทศอาหรับ ประเทศแรกที่ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก |
เชื่อได้ว่า ปัจจัยทางการเมืองที่สำคัญที่สุดที่ทำให้กาตาร์ได้เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกก็คือ ปัจจัย “อิสราเอล” ซึ่งผู้นำกาตาร์ได้ประกาศอย่างชัดเจนตั้งแต่ปลายปีที่แล้วว่า ยินดีต้อนรับทีมชาติอิสราเอลหากสามารถผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา กาตาร์ก็ได้ดำเนินมาตรการที่ยืดหยุ่นทั้งทางกฎหมายและการทูตนี้ ด้วยการอนุญาตให้นักเทนนิสอิสราเอลเข้าประเทศเพื่อร่วมแข่งขันรายการโดฮาแชมเปี้ยนชิพได้โดยไม่ปรากฏว่ามีการคัดค้านจากประเทศอาหรับอื่นๆ
ประการสำคัญ กาตาร์ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฟุตบอลของกลุ่มประเทศอาหรับทั้งหมดในการเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกปี 2022 เสมือนหนึ่งเป็นการรับรองนโยบายที่ยืดหยุ่นและเปิดกว้างครั้งประวัติศาสตร์นี้ของกาตาร์
ด้วยเงื่อนไขเปิดดังกล่าว บางทีเราอาจจะเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นก้าวกระโดดที่สำคัญสำหรับสันติภาพและการสมานฉันท์ในตะวันออกกลางก็เป็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหวังที่จะเห็นทีมฟุตบอลอิสราเอลกลับเข้ามาสังกัดโซนเอเชียอีกครั้งหนึ่งนับตั้ง แต่ปี 1972 หรือมิฉะนั้น หากสามารถผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้(ด้วยโควต้าของโซนยุโรป) เราอาจจะเห็นทีมชาติอิสราเอลแข่งขันบนแผ่นดินประเทศอาหรับเป็นครั้งแรกในรอบ 50 ปีพอดิบพอดีก็เป็นได้
ความภูมิใจสำหรับชาวอาหรับทั้งมวล |
และสิ่งที่จะต้องจับตามองมากเป็นพิเศษ ณ เวลานี้ก็คือ ผู้นำกาตาร์จะสนใจและไฟเขียวให้มีการเข้าไปเทคโอเวอร์สโมสรท๊อตแน่ม ฮอทสเปอร์ในอังกฤษหรือไม่ เพราะ
ด้วยความสำคัญทางประวัติศาสตร์แล้ว นี่คือสโมสรของคนเชื้อสายยิว ซึ่งจะเป็นการพิสูจน์อีกครั้งหนึ่งว่า อาหรับและยิวสามารถร่วมอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกันได้หรือไม่
นี่คือเสน่ห์ของเกมกีฬาฟุตบอลที่สามารถผลักดันให้เกิดหลายสิ่งหลายอย่างที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยปัจจัยการเมืองอื่นๆ หรือด้วยช่องทางปกติ “กาตาร์ 2022” จึงมีความหมายความสำคัญมากยิ่งกว่าเพียงแค่เกมฟุตบอลเท่านั้น
กล่าวสำหรับประเทศไทยแล้ว นี่คือโอกาสทองอันสำคัญเพราะความใกล้ชิดที่แนบแน่นอย่างยิ่งระหว่างผู้นำของสมาคมฟุตบอลไทยและกาตาร์ น่าจะเป็นเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้ฝ่ายไทยเจรจาร้องขอให้รัฐบาลกาตาร์เปิดทางให้แรงงานไทยจำนวนมากสำหรับการก่อสร้างสนามแข่งขันจำนวน 12 สนามและการคมนาคมขนส่งอื่นๆ ทั่วประเทศมูลค่านับล้านล้านบาท และวาดหวังว่า ประเทศไทยจะโชคดีเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับมอบสนามใดสนามหนึ่งหลังการแข่งขันสุดสิ้นลงเป็นของขวัญอันล้ำค่าจากกาตาร์
อารมณ์ปลื้มของรัสเซียและกาตาร์เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เช่นเดียวกับอารมณ์โกรธค้างและผิดหวังอย่างสุดๆของอังกฤษ เชื่อว่าฟีฟ่าคงต้องหาวิธีการที่จะสมานแผลในครั้งนี้เป็นแน่ เหมือนเช่นกรณีที่เกิดขึ้นในช่วงฟุตบอลโลกที่แอฟริกาใต้ที่ผ่านมา ว่ากันว่าฟีฟ่าเลือกทีมผู้ตัดสินชาวอังกฤษให้ทำหน้าในนัดชิงชนะเลิศ ด้วยเหตุผลเพื่อเป็นการชดเชยต่อความผิดพลาดของผู้ตัดสินชาวอุรุกวัยที่ปฏิเสธไม่ให้อังกฤษได้ประตูในเกมแข่งขันกับเยอรมนี
สำหรับอังกฤษแล้ว เชื่อมั่นว่าจะช้าจะเร็ว “แผล” ใหม่ล่าสุดนี้จะได้รับการเยียวยาอย่างแน่นอน พร้อมทั้งภาวนาวาดหวังว่าจะได้รับโอกาส (ที่มีความเป็นไปได้น้อยมาก) จากฟีฟ่าและสหพันธ์ฟุตบอลแห่งยุโรปให้ เป็นเจ้าภาพฟุตบอล "ยูโร 2012" ร่วมกับโปแลนด์หากว่า ยูเครนไม่มีความพร้อมจริงๆ
*(ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม 2553)
.
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น