.
ภายหลังจากที่นางคริสตี้ เคนนี่ย์อดีตเอกอัคราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยพ้นจากตำแหน่งไปตอนช่วงเทศกาลลอยกระทงของเดือนพฤศจิกายนปี
2557 โดยยังไม่ปรากฏเค้าลางว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะแต่งตั้งใครเข้ามารับตำแหน่งแทนที่ ก็เกิดให้เกิดกระแสความคิดเห็นต่างๆนานา
การดีเลย์ออกไปเดือนแล้วเดือนเล่าจึงถูกตีความและพยายามที่จะเชื่อมโยงให้เกี่ยวข้องกับรัฐประหารเมื่อวันที่
22 พฤษภาคม 2557 โดยตรง จนกระทั่ง เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลังจากตกอยู่ในภาวะคลุมเครือมาตลอด 5-6 เดือน ในที่สุด ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า จึงได้ประกาศชื่อ “Glyn Townsend Davies” ให้เป็น(ว่าที่)เอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่
มีเหตุการณ์หลายๆกรณีที่น่าสนใจและเหมาะสมนำมาเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทย
เพื่อพิจารณาว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งทูตอเมริกันคนใหม่นั้น สามารถตีความให้เป็นเรื่องน่าวิตกหรือผิดปกติได้มากน้อยแค่ไหน
กรณีแรกคือกรณีของโรมาเนีย ถึงแม้ในอดีต จะเคยเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ในม่านเหล็กของอดีตสหภาพโซเวียต
แต่ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โรมาเนียเลือกใกล้ชิดตะวันตกมากยิ่งกว่ารัสเซียจนแทบจะกลาย
เป็นเนื้อเดียว นับตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรทางทหารอย่างนาโต้ในปี 2547 และอีกสามปีต่อมาก็เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป(อียู)
ประการสำคัญ อดีตทูตอเมริกันคนล่าสุดที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งเมื่อปลายปี
2555 เคยกล่าวไว้ว่าโรมาเนียคือประเทศที่มีนโยบาย
“โปรอเมริกัน” หรือสนับสนุนสหรัฐฯมากที่สุดในยุโรป ในขณะเดียวกัน การมีพรมแดนส่วนหนึ่งติดกับยูเครนยิ่งทำให้โรมาเนียมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทหารมากยิ่งขึ้นสำหรับสหรัฐฯและนาโต้ในการต่อต้านอิทธิพลและกำลังทหารของรัสเซียต่อปัญหายูเครน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีความสำคัญต่อสหรัฐฯเป็นอย่างมากโดยเฉพาะนับตั้งแต่เกิดปัญหาในยูเครน
แต่โรมาเนียกลับว่างเว้นไม่มีทูตสหรัฐฯมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555 และต้องรอยาวนานถึง
27 เดือนกว่าที่ประธานาธิบดีโอบาม่าจะประกาศชื่อว่าที่ทูตคนใหม่เมื่อเดือนมีนาคมของปีนี้
ซึ่งเพิ่งได้รับการอนุมัติผ่านความเห็นชอบอย่างเป็นทางการจากวุฒิสภา (พร้อมๆกับเอกอัคราชทูตสหรัฐฯคนใหม่ประจำประเทศไทย)
ให้ดำรงตำแหน่งทูตอเมริกันคนใหม่ในโอกาสครบรอบ 135 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ
เท่ากับว่าในทางปฏิบัติแล้ว สหรัฐฯไม่มีทูตประจำโรมาเนียรวมเบ็ดเสร็จเป็นระยะเวลานานถึง
31 เดือน ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่นานมากๆสำหรับประเทศที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์ทางทหารของสหรัฐฯเช่นนี้
กรณีของสาธารณรัฐไอร์แลนด์มีความหมายอีกด้านที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้จะเป็นประเทศเล็กๆ ในยุโรปที่อยู่ทางตะวันตกของเกาะอังกฤษ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวได้ว่า ความเป็นไอริชมีความผูกพันกับสหรัฐฯมากกว่าเชื้อสายใดๆ ในช่วงเทศกาลฉลองวันเซนต์แพทริกซึ่งจัดขึ้นในกลางเดือนมีนาคมทุกๆปี ถือเป็นเทศกาลที่เก่าแก่ที่สุดและมีมนต์เสน่ห์มากที่สุดในสหรัฐฯ ตามหัวเมืองใหญ่ๆทั่วทั้งประเทศรวมทั้งทำเนียบขาวจะตกแต่งและอบอวลไปด้วยสีเขียวซึ่งเป็นสีประจำชาติของไอร์แลนด์ จนพูดกันว่า สีเขียวมีอิทธิพลเหนือยิ่งกว่าสีน้ำเงิน (พรรคเดโมแครต) หรือสีแดง (พรรคริพับริกัน) เสียอีก จึงไม่เป็นที่สงสัยว่า ทำไมคนเชื้อสายไอริชจึงมีอิทธิพลในสังคมอเมริกันเกือบจะทุกวงการ โดยเฉพาะในทำเนียบขาวและในวุฒิสภาซึ่งมีอำนาจในการอนุมัติตำแหน่งเอกอัครราชทูตของประเทศ
ในวันที่ชาวอเมริกันมีความสุขรื่นเริงกับสีเขียว |
ในวันที่แม่น้ำชิคาโกกลายเป็นสีเขียว |
ในวันที่ทำเนียบขาวเป็นสีเขียว |
หากสืบรากเหง้าเหล่ากอย้อนหลังแล้ว พบว่า ประธานาธิบดีของสหรัฐฯอย่างน้อย
22
คนล้วนแต่มีเชื้อสายไอริชไม่มากก็น้อย นับตั้งแต่จอร์จ วอชิงตัน
ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ รวมถึงผู้นำคนดังๆ อย่างจอห์น เอฟ เคนเนดี้, ริชาร์ด นิกสัน, จิมมี่ คาร์เตอร์, โรนัลด์ เรแกน และ บิล คลินตัน
(รวมทั้งฮิลลารี่ คลินตันที่มีโอกาสจะเป็นผู้นำประเทศคนต่อไป) แม้กระทั่งผู้นำคนปัจจุบันอย่างบารัค โอบาม่า
ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกประวัติศาสตร์และโจ ไบเดน
รองประธานาธิบดีก็มีเชื้อไอริชอยู่ในสายเลือดด้วย
เพราะฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและไอร์แลนด์จึงมีความพิเศษมากๆ เป็นความสัมพันธ์ที่ผูกพันเหนียวแน่นกันมานานเสมือนเป็น “สองประเทศ-หนึ่งครอบครัว” ประธานาธีบดีสหรัฐฯเกือบทุกคนนับตั้งยุคจอห์น เอฟ เคนเนดี้ จะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะต้องไปเยือนไอร์แลนด์ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านเกิดของบรรพบุรุษ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำไอร์แลนด์มีความพิเศษที่แตกต่างจากทูตสหรัฐฯประจำอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน รัสเซียและอิสราเอล การที่อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตันสนใจรับตำแหน่งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพิเศษนี้ได้เป็นอย่างดี
เพราะฉะนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯและไอร์แลนด์จึงมีความพิเศษมากๆ เป็นความสัมพันธ์ที่ผูกพันเหนียวแน่นกันมานานเสมือนเป็น “สองประเทศ-หนึ่งครอบครัว” ประธานาธีบดีสหรัฐฯเกือบทุกคนนับตั้งยุคจอห์น เอฟ เคนเนดี้ จะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะต้องไปเยือนไอร์แลนด์ซึ่งเปรียบเสมือนบ้านเกิดของบรรพบุรุษ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำไอร์แลนด์มีความพิเศษที่แตกต่างจากทูตสหรัฐฯประจำอังกฤษ ญี่ปุ่น จีน รัสเซียและอิสราเอล การที่อดีตประธานาธิบดีบิล คลินตันสนใจรับตำแหน่งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความพิเศษนี้ได้เป็นอย่างดี
แต่ไม่น่าเชื่อว่า
สถานทูตสหรัฐฯประจำกรุงดับลินจะว่างเว้นไม่มีทูตสหรัฐฯมาประจำการนานกว่า 21
เดือนนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555 จนกระทั่งทูตคนใหม่ได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว
ถือเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศนับตั้งแต่ปี
2468
อย่างน้อยที่สุด
การแต่งตั้งทูตคนใหม่มาประจำการทันเวลาฉลองโอกาสครบรอบ 90 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ
ก็ช่วย “ซ่อมแซม” ความรู้สึกที่ไม่ประทับใจก่อนหน้านี้ได้พอสมควร
'
.
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น