10 กุมภาพันธ์ 2558

วิกฤติตัวประกันและจุดเปลี่ยนแห่งตะวันออกกลาง? : บทบาทของจอร์แดน

.
ต่อจากตอนที่ 1 คลิก วิกฤติตัวประกัน : บทบาทของญี่ปุ่น




ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือนเต็มนับตั้งแต่นักบินรบของกองทัพอากาศจอร์แดนถูกกลุ่ม IS จับเป็นตัวประกันเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม รัฐบาลจอร์แดนถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากต่อท่าทีที่ดูเหมือนเฉื่อยชาในการช่วย เหลือนักบิน  รวมทั้งการถูกวิพากษ์วิจารณ์ในนโยบายต่างประเทศที่ร่วมมือกับสหรัฐฯในการถล่มโจมตีกลุ่ม IS และเป็นมิตรกับอิสราเอลมากเกินไป จนเป็นสาเหตุที่ทำให้นักบินเป็นเป้าหมายถูกจับเป็นตัวประกัน



เชื่อกันว่า  ทางการจอร์แดนทราบและมีข้อมูลการข่าว(ที่ไม่สามารถยืนยันได้แน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์) ว่า ตัวนักบินน่าจะเสียชีวิตแล้วตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม  ดังนั้น  การที่รัฐบาลมีท่าทีในช่วงแรกๆ (ก่อนที่กลุ่ม IS จะเสนอดีลเงื่อนไขขอแลกเปลี่ยนตัวประกันกับนักโทษหญิงในอีก 3 สัปดาห์ต่อมา) เหมือนไม่กระตือรือร้นหรือร้อนรนที่จะหาทางช่วยเหลืออย่างจริงๆจังๆ เพราะเชื่อว่าไม่เกิดประโยชน์อันใดที่จะช่วยเหลือตัวประกันที่เสีย ชีวิตแล้ว(?)
 

8 กุมภาพันธ์ 2558

วิกฤติตัวประกัน: บทบาทของญี่ปุ่น

.

         อ่อนไหวและสั่นสะเทือนไปทั่วโลก สำหรับภาพที่กลุ่ม “รัฐอิสลาม” หรือกลุ่ม IS สังหารตัวประกันญี่ปุ่นสองคนและตัวประกันชาวจอร์แดนอย่างเหี้ยมโหดป่าเถื่อนที่สุด ถือเป็นวิกฤติตัวประกันที่อ่อนไหวที่สุดครั้งหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก นับตั้งแต่กรณีวิกฤติตัวประกันเจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯในอิหร่านเมื่อปี 1979
         ดังนั้น ท่าทีและบทบาทของรัฐบาลญี่ปุ่นและจอร์แดนต่อวิกฤติครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งผลกระทบอื่นๆที่จะเกิดตามมาในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


ในส่วนของตัวประกันญี่ปุ่น ว่ากันว่า รัฐบาลญี่ปุ่นรับรู้เรื่องราวตัวประกันทั้งสองคนถูกจับตัวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว แต่พยายามปิดข่าวและเดินเกมแบบเงียบๆเจรจาแบบลับๆที่จะให้มีการปล่อยตัว  (เหมือนที่เคยประสบความสำเร็จในปี 2010 ที่อัฟกานิสถาน) แต่ไม่ประสบความสำเร็จ   ในขณะเดียวกัน กลุ่ม IS  (ซึ่งมีชื่อเรียกในอีกหลายๆชื่อตั้งแต่ ISIS, ISIL, หรือ Daesh ในภาษาอาหรับ)  ก็แทบจะไม่เคยนำเรื่องหรือภาพวีดีทัศน์ของตัวประกันทั้งสองคนมาเป็นเงื่อนไขหรือเสนอทางอินเตอร์เนทเหมือนตัวประกันชาติอื่นๆก่อนหน้านี้

5 กุมภาพันธ์ 2558

เผาทั้งเป็น

.


เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจเป็นที่สุดสำหรับภาพของนักบินจอร์แดนที่ถูกเผาทั้งเป็นอย่างโหดเหี้ยมป่าเถื่อนทารุณเป็นที่สุด. R.I.P
.           จะเป็นภาพที่ติดตาคนทั้งโลกไปอีกแสนนาน และเป็นเครื่องย้ำเตือนมนุษย์เราให้เห็นถึงภัยของความเกลียดชัง ความแตกต่างและความขัดแย้ง
Add caption
Add caption
Add caption

...............................................
การที่มนุษย์เราสักคนหนึ่งคิดจะเผาตัวเองได้นั้น เชื่อว่า จะต้องอาศัยจิตใจที่เข็มแข็งเกินมนุษย์ทั่วไป (เหมือนพระเวียดนามที่นั่งเผาตัวเองประท้วงรัฐบาลเวียดนาม) หรืออยู่ในสภาพที่ไร้สิ้นทางออกจนตรอกจริงๆ (เหมือนเช่นกรณีของโมฮัมเหม็ด อัล บัวซิซี่ที่ประท้วงรัฐบาลตูนีเซีย
แต่ภาพของนักบินจอร์แดนที่ปรากฏให้เห็นนั้น ด้านหนึ่งดูเหมือนว่าจะไม่สะทกสะท้านหรือแสดงความขลาดกลัวต่อภัยที่กำลังจะแผดเผาทั้งเป็นออกมาเลย
แต่ในอีกด้านหนึ่ง เชื่อกันว่า นักบินผู้โชคร้ายท่านนี้ ถูกวางยา มอมยาหรือถูกดมยา(สลบ)อย่างหนัก จนดูคล้ายสลึมสลือหรือเพิ่งตื่นจากอาการสลบไสล ไม่สามารถรับรู้
หรือรู้สึกถึงภัยเพลิงที่รออยู่ข้างหน้าได้
.           ราวกับว่า เป็นการเตรียมเผาอย่างเลือดเย็น เพื่อไม่ให้เหยื่อผู้โชคร้ายคนนี้รู้สึกเจ็บปวดหรือทุรนทุรายทนทรมานมากเกินไป(?)


.

3 กุมภาพันธ์ 2558

ดิ มัตเตโอ / ซิโก้ ::::: แรงกดดัน - ความคาดหวัง


.


เมื่อตอนที่เชลซีประกาศปลดวิลลาส-โบอัสออกจากตำแหน่งผู้จัดการ แล้วแต่งตั้งโรแบร์โต ดิ มัตเตโอ ผู้ช่วยขึ้นมารับตำแหน่งผู้จัดการทีมชั่วคราวเป็นระยะเวลาสั้นๆตั้งแต่เดือนมีนาคม 2012 จนจบสิ้นฤดูกาลในเดือนพฤษภาคมไม่มีใครจะคาดหวังอะไรมากนัก เพียงแต่ภาวนาว่า ดิ มัตเตโอจะช่วยประคับประคองและนำพาเชลซีจนจบฤดุกาลในสภาพที่ไม่บอบช้ำหรือเลวร้ายมากเกินไป
 แต่ใครจะเชื่อว่า ในระยะเวลาสั้นๆเพียงสองเดือนครึ่งที่เข้ามารับหน้าที่เพื่อturn around หรือ ปรับโชคให้กับสโมสร ซึ่งเพิ่งมีสถิติเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่โรมัน อับราโมวิค เข้ามาเทคโอเวอร์เป็นเจ้าของสโมสรในปี 2003 ได้อย่างน่าทึ่งจนเรียกได้ว่า มหัศจรรย์


มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...