ในสภาพการณ์ที่สังคมการเมืองไทยมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างอย่างชัดเจน
และเกิดความแตกแยกทางความคิดอย่างร้าวลึกจนกระทั่งนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า
ณ เวลานี้ ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็น “ตัวละคร” ทางการเมืองที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ด้านหนึ่ง
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นความหวังของสังคมที่จะทำให้ประเทศเป็นนิติรัฐและรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดอย่างแท้จริง แต่ในอีกด้านหนึ่ง
ศาลรัฐธรรมนูญก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงว่าจะนำพาสังคมไปสู่จุดแห่งความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้นแล้ว สมควรที่สังคมไทยจะได้พิจารณาไคร่ครวญความคิดเห็นที่หลากหลายต่างๆ
โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับบทบาทและอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยตีความข้อกฎหมายต่างๆ
ดังนี้
นพดล ปัทมะ - "สำนักอ๊อกฟอร์ด" |
นายนพดล ปัทมะ (ที่ปรึกษาทางกฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร):
ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจวิ่งคร่อมเลนฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่.....เพราะอำนาจเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติในการตราและแก้ไขกฎหมาย
ไม่ใช่เรื่องของศาลที่จะเข้ามาแทรกแซงได้ (คมชัดลึก,
6 มีนาคม 2557)
ประเทศอังกฤษไม่มีศาลรัฐธรรมนูญเพราะอำนาจสูงสุดอยู่ที่รัฐสภา
เพราะเป็นตัวแทนปวงชนทั้งประเทศจึงมีหลักความสูงสุดของรัฐสภา ไม่เหมือนประเทศในทวีปยุโรปอื่นที่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรและมีศาลรัฐธรรมนูญเพื่อดูความชอบด้วยรัฐธรรม
นูญของกฎหมายต่างๆ ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญในยุโรปเดินทางมาเมืองไทย
และได้ฟังคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญไทยเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา
คงจะต้องร้องว่า “Oh my God” เพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่ยอมให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรเหนือรัฐธรรมนูญและสถาปนาอำนาจให้ตัวเองได้
เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและใช้อำนาจเหนืออำนาจอื่น
ดังนั้น จึงเป็นที่มาของหลักการแบ่งแยกอำนาจ ที่ไม่ต้องการให้อำนาจอธิปไตย คือ
ตุลาการ บริหาร หรือนิติบัญญัติ อยู่ในมือคนหนึ่งคนใด
ยกเว้นในประเทศเผด็จการเท่านั้น (ข่าวสด,
22 พฤศจิกายน 2556)
แถลงการณ์พรรคเพื่อไทย: การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยเรื่องการเลือกตั้งโดยไม่มีอำนาจ นอกจากจะเป็นการไม่เคารพรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรมแล้ว
ยังเป็นการขยายเขตอำนาจของตนอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยคิดแต่เพียงว่า คำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไรก็ถือว่าเป็นที่สุดและผูกพันองค์กรอื่น
ซึ่งนับเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิติรัฐ และจะเกิดวิกฤตศรัทธาต่อระบบยุติธรรมของประเทศอย่างร้ายแรง……พรรคเพื่อไทยจึงเห็นว่า(ทั้งผู้ตรวจการแผ่นดินและ)ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจพิจารณา
เรื่องดังกล่าว และถือเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและนอกเหนืออำนาจ เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พรรคจึงขอคัดค้านการกระทำดังกล่าว (กรุงเทพธุรกิจ,
18 มีนาคม 2557)
ชูศักดิ์
ศิรินิล - "สำนักเท็กซัส" |
นายชูศักดิ์
ศิรินิล (หัวหน้าสำนักงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย): ส่วนตัวคิดว่าศาลไม่มีอำนาจรับคำร้องตั้งแต่ต้น.....แต่คำถามคือศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะไหม
ไปค้นดูรัฐธรรมนูญไม่มีนะ (ประชาชาติธุรกิจ, 12
มีนาคม 2557)
นายยุทธพร
อิสรชัย (คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช):
ขณะที่อำนาจอธิปไตยคือ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการจะต้องอยู่ในแนวระนาบ แต่เมื่อรัฐธรรมนูญฯ
ปี 2540 ให้อำนาจนิติบัญญัติสูงกว่าอำนาจอื่นจนเกิดความเข้มแข็งกระทั่งฝ่ายบริหารทำงานไม่ได้
รัฐธรรมนูญปี2550 จึงพยายามทำให้อำนาจฝ่ายตุลาการสูงกว่าฝ่ายอื่นที่เรียกว่าตุลาการภิวัฒน์
โดยแนวคิดที่ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่ามีอำนาจวินิจฉัยเรื่องนั้น
ต้องบอกว่าผิดตั้งแต่แรก เพราะแนวปรัชญาการเมือง ระบุว่า อำนาจสูงสุดใน 3 อำนาจคือนิติบัญญัติ
ดังนั้น อำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเป็นอำนาจสภาจริงๆ ระบบตรวจสอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ
ถูกจำกัดไว้อยู่แล้วในรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 291คือ
การควบคุมเชิงเนื้อหาว่าห้ามแก้ไขเรื่องใดบ้าง และผู้ที่มีอำนาจตรวจสอบคือสภาไม่ใช่องค์กรศาลรัฐธรรมนูญ
แต่วันนี้ที่ศาลรัฐธรรมนูญมาตั้งประเด็นตรวจ สอบจึงเป็นการคลาดเคลื่อนผิดพลาดไม่ใช่น้อย
และที่น่าตกใจมากคือ การก้าวล่วงไปถึงอำนาจนิติบัญญัติ ทั้งเรื่องการเสียบบัตรแทน
การยื่นเอกสารไม่ตรง การมีเวลาแปรญัตติที่น้อย
ทั้งที่ไม่ใช่อำนาจศาลรัฐธรรมนูญจะมาก้าวล่วงการวินิจฉัยครั้งนี้
จึงมีผลกระทบต่อความมั่นคงและหลักนิติธรรมด้วย ซึ่งในการพิจารณากฎหมายจากที่ต้องผ่านแค่
2 สภาคือรัฐสภาและวุฒิสภา วันนี้ศาลรัฐธรรมนูญก็กลายเป็นสภาที่
3 ไปแล้ว (คมชัดลึก, 24
พฤศจิกายน 2556)
ศาสตราจารย์(พิเศษ)ดร. อักขราทร จุฬารัตน
(อดีตประธานศาลปกครองสูงสุด): คำว่า “ตุลาการภิวัตน์” ซึ่งมีผู้ใช้เรียกในนัยที่ว่าการใช้อำนาจตุลาการ
ก้าวล่วงไปในขอบข่ายของฝ่ายบริหาร ซึ่งมองว่าเป็นการผิดหลักในเรื่องการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยตามหลักการที่มงเตสกิเออ(Montesquieu)
ได้วางไว้เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว
ทุกวันนี้คนไทยก็ยังยึดติดอยู่กับหลักการแบ่งแยกอำนาจของมงเตสกิเออ
ทั้งที่ความจริงสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากยุคของมงเตสกิเออ หลักนิติบัญญัติ บริหาร
ตุลาการต้องแยกกัน ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน
เป็นทฤษฎีแบ่งแยกอำนาจในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในสังคมปัจจุบันที่ว่า
ศาลก็มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดี สภามีหน้าที่ออกกฎหมาย แต่ทุกองค์กรต้องทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
ก่อนหน้าที่จะมีศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ไม่มีปัญหา
เพราะสมัยก่อนไม่มีคดีในทางกฎหมายมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกระทบกับสังคมเกิดขึ้น พอมีคดีปกครอง
คดีรัฐธรรมนูญ หรือคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีการตัดสินคดีในบริบทของกฎหมายมหาชนซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยเห็นหรือไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน
จึงมีการวิพากษ์ วิจารณ์ว่าศาลใช้อำนาจก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ หรืออำนาจบริหาร ผมก็บอกว่าความจริงทั้งหมดนี้
ในปี ค.ศ. ๑๘๐๓ ที่สหรัฐอเมริกา
เมื่อสองร้อยกว่าปีมาแล้ว ก่อนที่จะมีประมวลกฎหมายนโปเลียนด้วยซ้ำ เคยมีปัญหาเกิดขึ้นในทำนองนี้
ไม่เห็นมีใครพูดว่าศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ที่เป็นต้นกำเนิดของ “ตุลาการภิวัตน์”…..
การรับรองความเป็นอิสระของตุลาการหรือผู้พิพากษา โดยที่ระบบของประเทศในยุโรปหรือประเทศส่วนใหญ่ในโลกนั้น
จะเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบบรัฐสภาหมายความว่าฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารเป็นพวกเดียวกัน
คือถ้ามีเสียงข้างมากก็ได้จัดตั้งเป็นรัฐบาล ถ้ามีเสียงข้างน้อยก็เป็นฝ่ายค้านในรัฐสภาจากระบบของรัฐสภาดังกล่าวเมื่อพิจารณาประกอบกับหลักของนิติรัฐอยู่ข้อหนึ่งที่เขาป้องกันไม่
ให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจตามอำเภอใจแม้จะมีการตรวจสอบได้ก็ตาม แต่ถ้าหากว่าฝ่ายนิติบัญญัติ
และฝ่ายบริหารเป็นฝ่ายเดียวกัน จึงมีกฎเกณฑ์อันหนึ่งในหลักของระบบของนิติรัฐก็คือ การมีหลักการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายโดยองค์กร
ที่ใช้อำนาจตุลาการได้เสมอ
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่ามีศาลรัฐธรรมนูญ หรือถ้าไม่มีก็ใช้ศาลสูงสุดของประเทศทำหน้าที่นี้
ซึ่งในประเทศอังกฤษไม่มี เนื่องจากระบบการปกครองของอังกฤษจะยึดหลัก
Supremacy of Parliament ซึ่งประเทศอื่น ๆ ในโลกที่ยึดหลักการแบ่งแยกอำนาจ
(Separation of Power) จะไม่มีหลักการเช่นนั้น
เพราะฉะนั้น ในประเทศ Civil
Law ถ้าสภาจะออกกฎหมาย หรือถ้ารัฐบาลจะออกกฎหมายระดับรองจะต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
นั่นคือการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย ซึ่งประเทศอังกฤษไม่มีเพราะถือว่ารัฐสภาใหญ่ที่สุดจึงไม่มีการตรวจสอบว่ากฎหมายนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่…..
ดังนั้น หลักการใช้และการตีความกฎหมายปัจจุบันนี้
ไม่ว่าจะเป็นประเทศอังกฤษซึ่งเดิมอาจแตกต่างจากประเทศในกลุ่ม Civil
Law จะไม่ต่างกันมากอีกต่อไป แต่เป็นเพราะคนไทยที่ยังไม่เข้าใจในเรื่องนี้
และยังคงนึกถึงและยึดติดกับแนวคิดดั้งเดิมที่แตกต่างกันระหว่างการใช้และตีความกฎหมายของระบบ
Common Law กับระบบ Civil Law อยู่เท่านั้นเอง (จุลนิติ, กรกฏาคม-สิงหาคม 2553)
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น