21 มีนาคม 2557

หลักการตีความกฎหมาย: จะดูถ้อยหรือดูความ(?)

.
ครั้งหนึ่ง  คุณศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้กล่าวไว้ว่า วันนี้แต่ละฝ่ายมีการตีความกฎหมายไม่เหมือนกัน รัฐบาล นักวิชาการ ตีความกฎหมายกันคนละอย่าง (เดลินิวส์, 6 มีนาคม 2557)

ต่อมา นายชัยเกษม นิติสิริ รักษาการรมว.ยุติธรรม ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับศาลรัฐ ธรรมนูญและหลักการวินิจฉัยกฎหมายว่า ถ้า ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าสิ้นสภาพ ตนก็ต้องฟัง แต่สิ่งที่ผ่านๆ มาหลายครั้ง   ไม่เห็นด้วยกับศาลรัฐธรรมนูญ บางเรื่องข้อความชัดๆ ยังตีความไปอีกแบบหนึ่ง แต่กฎหมายบอกให้ฟังศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ยกตัวอย่าง บ้านตนเลี้ยงสุนัข ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่า บ้านเขาไม่ได้เรียกสุนัข แต่เรียกสุกร ตนก็เลยต้องเรียกสุกรตามศาลรัฐธรรมนูญ ช่วยไม่ได้ กฎหมายเป็นอย่างนั้น (กรุงเทพธุรกิจ, 5 มีนาคม 2557)

และเมื่อคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีได้สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกออกมาว่า ทุกอย่างเราทำเพื่อประเทศชาติ อยากให้มองที่เจตนา อย่าใช้กฎหมายมาริดรอนตัดสิทธิ์ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นเราจะไปกันลำบาก มุ่งทำทุกอย่างโดยใช้ข้อกฎหมายในการที่จะตัดสิทธิ์ โดยที่ไม่มองถึงเจตนารมณ์เป็นเบื้องต้น ตรงนี้ต่างหากที่เราคิดว่า หวังว่าจะได้รับความเข้าใจ ได้รับความยุติธรรม (มติชน, 13
มีนาคม 2557)  ก็ยิ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การตีความและวินิจฉัยทางกฎหมาย กลายเป็นประเด็นข้อต้อเถียงที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งในภาวการณ์ที่สังคมไทยประสบกับปัญหาความขัดแย้งทางการ
เมืองอย่างร้าวลึก

ผู้เขียนใคร่ขอนำความเห็นเชิงหลักการของ ผู้ใหญ่สองท่านมาให้สังคมไทยได้พิจารณาใคร่ ครวญและชั่งน้ำหนักประกอบการตัดสินใจผิดถูก ดังนี้

20 มีนาคม 2557

ศาลรัฐธรรมนูญ : บทบาทและอำนาจในวินิจฉัยข้อกฎหมาย

.




ในสภาพการณ์ที่สังคมการเมืองไทยมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างอย่างชัดเจน และเกิดความแตกแยกทางความคิดอย่างร้าวลึกจนกระทั่งนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ เวลานี้ ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็น ตัวละครทางการเมืองที่สำคัญอย่างยิ่งยวด  ด้านหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นความหวังของสังคมที่จะทำให้ประเทศเป็นนิติรัฐและรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดอย่างแท้จริง  แต่ในอีกด้านหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงว่าจะนำพาสังคมไปสู่จุดแห่งความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้นแล้ว สมควรที่สังคมไทยจะได้พิจารณาไคร่ครวญความคิดเห็นที่หลากหลายต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับบทบาทและอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัยตีความข้อกฎหมายต่างๆ ดังนี้


นพดล ปัทมะ - "สำนักอ๊อกฟอร์ด"

          นายนพดล ปัทมะ (ที่ปรึกษาทางกฎหมายของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร):  ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจวิ่งคร่อมเลนฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่.....เพราะอำนาจเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติในการตราและแก้ไขกฎหมาย ไม่ใช่เรื่องของศาลที่จะเข้ามาแทรกแซงได้ (คมชัดลึก, 6 มีนาคม 2557)

17 มีนาคม 2557

เขียวไอริช

.



ในทางสากลแล้ว นอกเหนือจากสีแดงที่คนทั่วโลกรู้จักและจดจำว่า นี่คือสีสัญญลักษณ์ของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์อย่งจีนแผ่นดินใหญ่ เวียดนาม รัสเซีย และเกาหลีใต้แล้ว  ก็ไม่น่าจะมีสีอื่นใดที่โดดเด่นเหมือนเช่นสีเขียวไอริช



เพราะมีภูมิประเทศเป็นเกาะฝนตกชุ่มฉ่ำเขียว
สดใสตลอดทั้งปี จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่สีเขียวเป็นสี
สำหรับชาวไอริชไปโดยปริยาย

ขบวนพาเหรดสีเขียวใจกลางกรุงดับลิน
 

นางฟ้ามรกต
คลื่นสีเขียวกลางกรุงดับลิน เมืองหลวงของไอร์แลนด์
 

16 มีนาคม 2557

อารมณ์เดียวกัน



.


ถึงแม้ว่าจะอยู่กันคนละวงการ คนละวัฒนธรรม คนละตำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ แต่เชื่อได้ว่า บอสใหญ่ของ "คนแดง" พรรคเพื่อไทยและบอสใหญ่ของ "ปีศาจแดง" แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด กำลังอยู่ในห้วงอารมณ์เดียวกัน

ห้วงอารมณ์ที่ยังแก้ไม่ตก ที่ะอาจจะชี้ชะตาอนาคตก็เป็นได้







.

5 มีนาคม 2557

Bike Lane



.


            ฝันและอยากเห็นกทม. เวนคืนพื้นที่เล็กๆตามซอกซอยต่างๆเชื่อมกับถนนใหญ่ทำเป็น bike Lane โดยเฉพาะ ไม่อนุญาตให้รถยนต์ต่างๆใช้ผ่าน

            เพราะที่ผ่านๆมา เวนคืนทำถนนให้รถวิ่งก็เยอะแล้ว






.

2 มีนาคม 2557

ก้าวแรกของสิ่งที่เรียกว่าสมานฉันท์

.



ถึงแม้จะมีธรรมชาติที่ต้องต่อสู้ตบตีแย่งชิงอำนาจความเป็นจ่าฝูงเหมือนสัตว์อื่นๆ แต่เมื่อการต่อสู้สิ้นสุดลงและผ่าน      พ้นไปแล้วประมาณ 10 นาที ลิงชิมแปนซีก็จะกลับมาหวนคืนดีเหมือนเดิม

และถึงแม้จะมีธรรมชาติที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ในหลายๆด้าน แต่ลิงชิมแปนซีไม่ต้องอาศัย ลิงกลางหรือการเจรจาต่อรองเพื่อกลับมาปรองดองอีกครั้ง ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์เราที่ยุ่งยากซับซ้อนซ่อนเงื่อน(ไข)มากกว่า

ความ น่าสนใจอยู่ที่ขั้นตอนแรกสุด เมื่อลิงตัวชนะจะเป็นฝ่ายหยิบยื่นมือไปหาลิงตัวที่แพ้ก่อน เป็นเสมือนการหยิบยืนไมตรีให้เลิกแล้วต่อกัน และไม่ต้องใช้เวลาข้ามวันข้ามคืนกว่าลิงทั้งสองตัวก็จะกลับมาร่วมฝูงเหมือน เช่นเดิมเสมือนหนึ่งแผลทางใจได้ถูกสมานแล้ว

แต่ความขัดแย้งของมนุษย์เรานั้นมีความยุ่งยากและเงื่อนไขนานัปการ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเห็นมนุษย์เรามีพฤติกรรมของการคืนดีเหมือนเช่นกรณีของลิงชิมแปนซี




ลิงตัวชนะจะเป็นฝ่ายยื่นมือไปขอคืนดีกับตัวที่แพ้
การยื่นมือเป็นพฤติกรรมและความงดงามของมนุษย์เช่นกัน

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...