11 มิถุนายน 2554

เกมสมานฉันท์ของคนไกลบ้าน เกมกลับบ้านของคนไกลถิ่น

.


ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า (อา)การก้มกราบแม่พระธรณีที่สนามบินสุวรรณภูมิทันทีที่เดินทางกลับมาสู่ประเทศไทยเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 นั้นมีความหมายลึกซึ้งมากน้อยประการใดต่อพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23ของไทยหลังจากต้องระเหเร่ร่อนลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศนานร่วมสิบเจ็ดเดือน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549  และนับตั้งแต่การสิ้นสุดของเกมลี้ภัยภายหลังการถูกทางการอังกฤษเพิกถอนวีซ่าเข้าประเทศเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ความต้องการที่จะกลับคืนมาตุภูมิก็ยิ่งทวีคูณมากยิ่งขึ้น



วินาทีที่กลับคืนสู่ประเทศไทยในปี 2551



ในด้านหนึ่ง คุณทักษิณยืนกรานในระหว่างปฏิบัติการ แดงทั้งแผ่นดิน เมื่อเดือนช่วงวันสงกรานต์ที่ผ่านมาว่า ผมไม่แคร์ผมจะได้กลับบ้านหรือไม่ เรื่องเล็ก (มติชน, 12 เม.ย. 52) และดูเหมือนจะยึดถือสัจธรรมเป็นที่ตั้งว่า ผมมีกรรมก็ต้องระหกระเหินไป กรรมผมหมด ผมก็ได้กลับไปเท่านั้นเอง กรรมผมไม่หมด ผมก็ไม่ได้กลับ ไม่ได้คิดมาก (มติชน, 8 เม.ย. 52)

ในอีกด้านหนึ่ง ดูเหมือนจะมีเหตุผลให้เชื่อในทางตรงกันข้ามมากกว่าว่า คุณทักษิณมีความปรารถนาอยากจะกลับมาประเทศไทยอย่างแรงกล้า โดยยอมรับว่าอยู่ต่างประเทศนั้นไม่มีความสุขเลย เหงา ไม่มีเพื่อน ไม่มีสังคม ไม่เคยคิดเลยว่าชีวิตต้องมาเร่ร่อนอยู่ต่างประเทศ พร้อมทั้งเรียกร้องให้พี่น้องเสื้อแดง  ยังต่อสู้กันอยู่อย่าทิ้งผมไว้คนเดียว ผมอยากกลับบ้านแล้วนะอย่าทิ้งผมไว้คนเดียว(มติชน, 28 มิ.ย.52)

ซึ่งก่อนหน้านี้  นายใหญ่ ได้เคยตอกย้ำอย่างชัดเจนว่า ไม่มีทางที่จะจบชีวิตอย่างอดสูอัปยศในต่างประเทศเหมือนผู้นำไทยคนอื่นๆ แต่อุปสรรคที่ยังไม่สามารถกลับเมืองไทยได้ก็เนื่อง มาจากเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และความปลอดภัยเพราะกลัวว่าจะถูกจับเข้าคุกหรือไม่ก็ถูกฆ่า (มติชน,18 มิ.ย. 52)  เพราะฉะนั้นแล้ว กล่าวได้ว่า เป้าหมายสำคัญสำหรับการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่างๆ นับตั้งแต่ปลายปี 2550 จนถึงปฏิบัติการ แดงทั้งแผ่นดิน และการโฟนอินหาเสียงเลือกตั้งซ่อมล่าสุดที่สกลนครและศรีษะเกศ  เป็นไปเพื่อจะกลับคืนสู่ประเทศไทย  ด้วยเหตุผลและวิธีการต่างๆ ดังนี้

เหตุผลและวิธีการแรก เพื่อกลับไปต่อสู้ปกป้องศักดิ์ศรีและพิสูจน์ความบริสุทธิของตนเองและครอบครัวและต้องการเห็นกระบวนการทุกอย่างกลับคืนสู่ภาวะปกติ นอกจากนี้ ผมอยากกลับมา เมื่อชีวิตของผมพบกับความสงบสุขในประเทศไทย ในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง (ผู้จัดการรายวัน, 26 .. 50)   ความตั้งใจและปรารถนาที่กลับเมืองไทยในวันวาเลนไทน์ที่ 14 กุมภาพันธ์ปีที่แล้วเหมือนกับต้องการจะสะท้อนให้เห็นถึงเจตนาว่า จะกลับมาเมืองไทยด้วยความรัก เมื่อกลับมาแล้ว ก็อยากจะใช้ชิวิตอย่างคนธรรมดาสามัญคนหนึ่ง ได้กินน้ำพริกปลาทู ในขณะเดียวกัน ก็อยากเป็นอาจารย์สอนหนังสือและบำเพ็ญประโยชน์ให้กับสังคมด้วย 

สำหรับคุณทักษิณแล้ว การได้ กลับบ้าน มีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมดถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเดินทางกลับในวันวาเลนไทน์ได้ก็ตาม และการผลักดันผ่านกลไก นอมนี คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้การกลับประเทศไทยของคุณทักษิณเป็นเป็นไปได้     เนื่องจากในช่วงเวลานั้น อำนาจรัฐต่างๆ อยู่ภายใต้การควบคุม
ของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชโดยมีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนหลัก ซึ่งรณรงค์หาเสียงในระหว่างการเลือกตั้งว่าจะนำ นายใหญ่ กลับประเทศไทยให้ได้การเปิดทางให้อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทยเดินทางกลับประเทศในเวลานั้น ถือเป็นความจำเป็นอันดับต้นๆ ของรัฐบาลในขณะนั้น

ในการแถลงเปิดใจครั้งหนึ่ง คุณเนวิน ชิดชอบ ได้สะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงในส่วนหนึ่งว่า ตลอดเวลาที่ท่านสมัครเป็นนายกฯ ทำทุกอย่างเพื่อปกป้องท่านนายกฯทักษิณ ทำจนกระทั่งนายกฯทักษิณได้กลับมาประเทศไทย ตามที่ทุกคนประกาศสัญญาประชาคมไว้กับพี่น้องประชาชนก่อนการเลือกตั้ง ทำจนท่านนายกฯทักษิณได้มากราบแม่พระธรณีที่สนามบินสุวรรณภูมิ(มติชน, 8 เม.ย. 52) 

เหตุผลและวิธีการที่สอง ภายใต้เงื่อนไขสภาวะการณ์ที่ประเทศกำลังประสบปัญหาวิกฤติการณ์เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดในรอบสิบปีและปัญหาต่างประเทศขาดความเชื่อมั่นในประเทศไทย มีการสร้างกระแสให้เกิดการเรียกร้องให้ นายใหญ่ กลับประเทศ เพราะเชื่อว่ามีเพียงอดีตหัวหน้าพรรคไทยเพียงคนเดียวเท่านั้นที่จะสามารถฟื้นฟูประเทศชาติและนำความเชื่อมั่นกลับคืนสู่ประเทศไทยได้ (เดลินิวส์, 27 พ.ย. 51)ซึ่งคุณทักษิณ เชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมว่า ถ้าหากได้เป็นผู้นำจะสามารถนำความเชื่อมั่นกลับมายังประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว พร้อมที่ทำหน้าที่ควบคุม หางเสือ นำพาประเทศให้รอดพ้นวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2540 และได้เรียกร้องผ่านทางนิตยสาร CEO Middle East ว่า เราต้องหาหนทางที่จะให้ผมกลับประเทศให้ได้”  และหนทางที่บรรดา เรา คนเสื้อแดงเลือกใช้ดำเนินการก็คือวิธีการ  ราชประชาสมาสัย”  นั่นเอง

ภายใต้กลไกวิธีการราชประชาสมาสัยนี้ มีเงื่อนไขสองประการที่จะทำให้ความปรารถ นาของคุณทักษิณเป็นจริง นั่นคือ พระบารมีและพลังประชาชน คุณทักษิณเชื่อมั่นว่า ไม่มีใครที่จะเอาผมกลับประเทศไทยได้หรอกครับ นอกจากพระบารมีที่จะทรงมีพระเมตตา หรือไม่ก็ด้วยพลังของพี่น้องประชาชนเท่านั้น (มติชน, 4 .. 51) ต่อมา คุณทักษิณก็ยืนยันผ่านทางนิตยสาร Arabian Business Dubai อีกครั้งว่า ผมคิดว่าหลายๆ อย่างขึ้นอยู่กับอำนาจของประชาชน หากพวกเขารู้สึกว่าพวกเขาอยู่อย่างลำบากและต้องการให้ผมช่วยผมก็จะกลับไป หากในหลวงทรงเห็นว่าผมยังสามารถทำคุณประโยชน์ได้ ผมจะกลับไป และพระองค์อาจจะพระราชทานอภัยโทษให้แก่ผม แต่ถ้าพวกเขาไม่ต้องการผม และพระองค์ทรงเห็นว่าผมกลับไปก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ผมก็อยู่ที่นี่(ดูไบ)ทำธุรกิจไป(มติชน, 25 .. 51)   

เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะมีการขานรับ(อย่างคึกคัก)จากบรรดา เรา เลือดเนื้อเชื้อไขไทยรักไทยที่จะช่วยกันเขียนไปรษณียบัตรให้ได้มากถึง 10 ล้านฉบับเพื่อยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่คุณทักษิณ แต่ก็ไม่ประสบความ สำเร็จ ซึ่งนอกจากคุณทักษิณยังไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้แล้ว  เหมือนผีซ้ำด้ามพลอย ในช่วงระยะเวลาเดียว กัน คุณทักษิณก็ถูกทางการอังกฤษเพิกถอนวีซ่าไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอังกฤษได้อีก
         
วิธีการราชประชาสมาสัยก็ถูกปลุกขึ้นมาใช้อีกครั้งหนึ่งในความพยายามครั้งล่าสุด โดยคุณทักษิณก็ได้ตอกย้ำในระหว่างการโฟนอินหาเสียงเลือกตั้งซ่อมที่สกลนครและศรีษะเกษที่ผ่านมาว่า อยากกลับเมืองไทยเพื่อมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาของประชาชน ปัญหายาเสพติด ปัญหาหนี้สินตลอดจนปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน ผมพร้อมที่จะกลับไปทำงานรับใช้ประเทศชาติ เพราะยังมีประโยชน์อยู่ อายุ 60
ยังทำอะไรได้อีกเยอะ อย่ามา  ปล่อยให้แห้งตายกลางทะเลทรายแบบนี้(มติชน, 28 มิ.ย. 52)   พร้อมทั้งเรียกร้องขอให้พี่น้องชาวศรีสะเกษและสกลนครส่งสัญญาณแรงๆ ไปที่กทม.และทั่วโลกด้วยว่าจะเอาทักษิณกลับบ้าน จนกระทั่งมีเสียงตอบรับจากบรรดากลุ่มคนเสื้อแดงที่จะรวบรวมรายชื่อให้ครบหนึ่งล้านชื่อเพื่อยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้คุณทักษิณ เพื่อ เปิดทาง ให้สามารถกลับบ้านมาเป็นพสกนิกรคนหนึ่ง มาเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อร่วมแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งแห่งที่ (มติชน, 1 ก.ค. 52)



พ.ต.ท. ทักษิณกับ "คนเสื้อแดง"

         
เหตุผลและวิธีการที่สาม  เพื่อสร้างความเป็นธรรมและประชาธิปไตยที่แท้จริง คือเหตุผลที่คุณทักษิณอ้างถึงและคาดหวังให้ปฏิบัติการ แดงทั้งแผ่นดิน เมื่อช่วงวันสงกรานต์ที่ผ่านมานี้ เป็นวิธีการที่จะเปิดทางให้อดีตนายก   รัฐมนตรีท่านนี้กลับคืนสู่มาตุภูมิเพื่อภาระกิจดังกล่าว

ในช่วงระหว่างปฏิบัติการ แดงทั้งแผ่นดิน ดังกล่าวมีการพูดถึงเรื่องการ กลับบ้านของคุณทักษิณอย่างบ่อยครั้ง   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลุกเร้าในกลุ่มผู้สนับสนุนเห็นว่า ถ้าจำเป็นเมื่อไหร่ผมจะกลับเข้าไปในประเทศทันที และเดินนำพี่น้องทุกคน (มติชน, 13 เม.ย. 52)   และความจำเป็นดังกล่าวหมายถึงวันที่มี เสียงปืนนัดแรก หรือวันที่เสียงปืนแตก นั่นคือ หากทหาร(เริ่ม)ทำร้ายประชาชน คุณทักษิณก็พร้อมจะกลับประเทศทัน       ทีเพื่อนำทัพประชาชนเข้ากรุงเทพฯ จัดการถอนรากถอนโคนระบอบอำมาตยาธิปไตยและผลักดันให้เกิดประชาธิปไตยเต็มใบ

มีเหตุให้เชื่อได้ว่า คุณทักษิณวาดหวังจะได้กลับแผ่นดินไทยในฐานะผู้ชนะจากปฏิบัติการ แดงทั้งแผ่นดินวาดหวังว่ากลุ่ม พี่น้องเสื้อแดง และเลือดเนื้อเชื้อไขไทยรักไทยจะแห่มาอย่างมืดฟ้ามัวดินเพื่อร่วมกันปูทางและต้อน รับ นายใหญ่ กลับบ้านอย่างสมเกียรติ แต่ความฝันของคุณทักษิณก็ต้องพังทลายลง ภายหลังการประกาศยุติปฏิบัติการทางการเมืองดังกล่าว เหตุผลหลักไม่ใช่เพราะเกรงกลัวว่าจะถูกปราบปรามอย่างเอาจริงเอาจังจากรัฐบาลและกองทัพ หรือเพราะคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตของ คนเสื้อแดง ที่มาร่วมชุมนุมเป็นหลัก หรือ    เป็นเพราะการทัดท้วงห้ามปรามอย่างแข็งขันจากคุณเยาวภา วงศ์สวัสดิ์

แต่เหตุผลที่มีน้ำหนักความเป็นไปได้มากที่สุดที่เชื่อว่ากดดันทำให้คุณทักษิณต้องตัดสินใจยุติการเคลื่อนไหวใน ทันที (ซึ่งแน่นอนที่สุด แกนนำนปช. จะไม่ประกาศยุติการชุมนุมโดยพลการหากไม่ได้รับ ไฟเขียว จาก นายใหญ่ ก่อน) ก็คือ การแถลงของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯในวันที่ 13 เมษายน (ซึ่งเป็นวันเดียวกับ     ที่นางฮิลลารี่ คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ส่งสารแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ไทยตอกย้ำความสัมพันธ์ที่พิเศษครบ รอบ 175 ปีระหว่างไทยกับสหรัฐฯ)  ประณาม (Condemn) ไม่ยอมรับปฏิบัติการ แดงทั้งแผ่น ดินที่ใช้ความรุนแรง เป็นการทำลายความฝันของคุณทักษิณอย่างสิ้นเชิง

ในความพยายามอีกครั้งหนึ่งของการชุมนุมของคนเสื้อแดงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา คุณทักษิณตอกย้ำว่า ถึงเวลาทวงคืนประชาธิปไตยที่ให้ความสุขกับประชาชน (เอเอสทีวีผู้จัดการ, 24 มิ.. 52)มีการกล่าวปลุกระดมให้พี่น้องเสื้อแดงเดินทางไปร่วมชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ในวันดังกล่าวนี้ที่สนามหลวง ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 77 ปีของการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองการปกครองไทย ด้วยเป้าหมายหลัก อยากให้พี่น้องเสื้อแดงพากลับบ้าน (มติชน 25 มิ.ย. 52)  ทั้งนี้ทั้งนั้น ดูเหมือนว่า ความพ่ายแพ้ทางการเมืองของปฏิบัติการ แดงสงกรานต์ ยังหลอกหลอนคุณทักษิณอยู่ไม่น้อย จึงได้กระตุ้นเรียกร้องให้กลุ่มผู้สนับสนุน ให้ช่วยต่อสู้กันเต็มที่ อย่าถอนตัวกลางคัน ผมอยากกลับบ้านอย่าเพิ่งถอย(มติชน, 28 มิ.ย. 52) 

เหตุผลและวิธีการที่สี่  ในสถานการณ์ ณ วันนี้ คำถามที่สำคัญที่สุดสำหรับ เกมกลับบ้าน ของคุณทักษิณ ไม่ใช่เรื่องของเงื่อนไขเวลา เมื่อไหร่ ที่เหมาะสม แต่เป็นเรื่องของเงื่อนไข อย่างไร มากกว่า นั่นคือจะกลับประเทศไทยด้วยเงื่อนไขวิธีการใดจึงจะดีที่สุด

พิจารณาพิเคราะห์แล้ว ไม่มีเหตุผลและวิธีการใดที่จะได้รับการต้อนรับจากทุกๆฝ่ายในสังคมไทยหากเป็นไปเพื่อการสมานฉันท์ และดูเหมือนว่า การสมานฉันท์ไม่ได้เป็นศัพท์แสงต่างด้าวสำหรับคุณทักษิณแต่อย่าใด              

ในทางตรงกันข้ามไม่ว่าจะมีเจตนาปรารถนาความสมานฉันท์ปรองดองจริงๆหรือไม่ก็ตาม แต่คุณทักษิณพยายามส่งสัญญาณเรื่องนี้มาโดยตลอดนับตั้งแต่การเรียกร้องเมื่อปลายปี 2550 ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องลืมอดีตที่ผ่านมาหันหน้ามาปรองดองสมาน
ฉันท์   ในขณะเดียวกัน ก็พร้อมที่จะคุยกับทุกคนให้อภัยกับทุกฝ่ายไม่มีอาฆาตแค้นและ พร้อมจะกลับไปเป็นไทยคนหนึ่งที่ได้อยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารอย่างมีความสุข (โพสต์ทูเดย์, 24 ธ.ค. 50) และล่าสุดคุณทักษิณก็ตอกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ผมอยากเห็นความปรองดอง เราคนไทยด้วยกัน มีเรื่องกันมานานแล้ว อยากหันหน้าเข้าหากัน ไม่ควรแตกแยก (มติชน 28 มิ.ย. 52)   

ประการสำคัญ หนึ่งเดือนก่อนหน้าที่จะเกิดปฏิบัติการ แดงทั้งแผ่นดิน”  คุณทักษิณเคยส่งสัญญาณเปิดเผยให้ความหวังต่อสาธารณชนตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมว่า อยากเห็นคนไทยยุติความขัดแย้ง หันมาปรองดองสมานฉันท์ โดยคาดหมายว่าจะสามารถเดินทางกลับประเทศได้ภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากเชื่อมั่นว่าจะสามารถประนีประนอมกันได้   เพราะกระบวนการสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มที่ให้การสนับสนุนตนกับกลุ่มรัฐบาลปัจจุบันกำลังจะเกิดขึ้นและต้องเกิดขึ้นก่อนสิ้นปี (โลกวันนี้, 18 มี.. 52) แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่คุณทักษิณดำเนินการผิดพลาด ไม่สามารถรอคอยด้วยความอดทนเพื่อให้ถึงเวลาอันเหมาะสมในการเดินทางกลับประเทศไทยตามที่ได้ตั้งใจไว้

สังคมไทยกำลังวาดหวังว่า เนื่องในโอกาสอายุครบ 60 ปีในวันที่ 26 กรกฏาคมปีนี้ คุณทักษิณ จะมี ข่าวดีหรือ ของขวัญ มอบให้แก่สังคมไทย เพื่อเปิดทางให้การเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเริ่มต้นของการปรองดองสมานฉันท์อย่างจริงๆ จังๆ  ผลักดันให้ พี่น้องเสื้อแดง ร่วมกันสร้างบรรยากาศ แดงสดใสทั้งแผ่นดิน
(Rose Reconciliation) ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย  แทนที่จะเป็นวันกำหนดยื่นรายชื่อหนึ่งล้านรายชื่อถวายฏีกาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ

โดยข้อเท็จจริงประการหนึ่งก็คือ คุณทักษิณมีบุคลิกลักษณะที่คล้ายกับนายพลชาลล์ เดอ โกลล์ อดีตประธานาธิบดีฝรั่งเศสผู้ยิ่งใหญ่ในหลายๆ ด้าน และมีบทเรียนหลายๆประการที่สามารถเรียนรู้ได้จากอดีตผู้นำฝรั่งเศสคนนี้ เพราะถึงที่สุดแล้ว มีแต่การสมานฉันท์เท่านั้นที่น่าจะทำให้ กรรมเก่า ของคุณทักษิณหมดลง

อยากเห็นใครสักคนหนึ่งกระซิบบอก นายใหญ่ ว่า เริ่มต้นใหม่ได้ครับนาย

(ตีพิมพ์ในมติชนรายวัน วันที่ 14 ก.ค. 2552)





"มองเขาเป็นตัวอย่าง มองเราเป็นบทเรียน : มหัศจรรย์แห่งการสมานฉันท์"
http://preechayana.blogspot.com/2011/01/blog-post_18.html


.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...