เป็นเรื่องยากสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของพล.ต. ขัตติยะ สวัสดิผล หรือเสธ.แดง บุคคลชื่อดังที่สุดที่เสียชีวิตอันเนื่องมาจากเหตุความรุนแรงและความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อปี 2553
ถึงแม้จะไม่สามารถบ่งบอกยืนยันได้อย่างแท้จริง ณ เวลานี้ว่า เป็นคนดีหรือไม่? แต่เสธ.แดงได้รับการยอมรับว่า เป็นคนเก่งคนหนึ่ง เป็นคนเก่งที่ถูกมองข้าม ถูกมองข้ามจนกลายเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิต (คลิ๊กอ่าน http://preechayana.blogspot.com/2010/12/blog-post_20.html)
ครั้งหนึ่ง พล.อ. สนธิ บุญรัตกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้บังคับบัญชา เคยกล่าว ถึงหลักการใช้คนกับคนประเภทเสธ.แดงไว้ได้อย่างน่าสนใจ
น้อยคนนักที่จะรู้ตัวตนที่แท้จริงของเสธแดง แต่เป็นที่ยอมรับ ว่านายทหารผู้มีดีกรีระดับดีอกเตอร์คนนี้มี "หน้าเก่ง" ที่ถูกมองข้าม |
“คือลักษณะของเสธ.แดง เขาเป็นอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว มีอะไรเขาก็เป็นคนที่เปิดเผยพูดอะไรตรงไปตรงมาแบบทหารอาชีพอย่างในสมัยก่อน เรียกว่าเป็นบุคลิกของเขา และเราก็ต้องรู้ด้วยว่าใครเป็นผู้ปกครอง อย่างผมในสมัยที่เป็น ผบ.ทบ. ก็ทราบนิสัยเขาอยู่ เราก็ต้องให้เป็นเอกลักษณ์พิเศษเขาไป เราต้องยอมรับตรงนั้น ทำอย่างไรถึงจะใช้เสธ.แดงให้เป็นประโยชน์ก็แค่นั้น เมื่อก่อนมีการปล้นปืน 4 มค 2547 ที่ภาคใต้ เสธ.แดงก็สามารถไปเอาข้อมูลอะไรต่างๆ มาให้เราได้ นี่คือคุณลักษณะพิเศษของเสธ.แดง
คุณลักษณะคนแต่ละคนมันก็มีหน้าหัวคือหน้าเก่ง เราก็เอาหน้าเก่งเขามาใช้ บางคนก็หน้าก้อยที่มันไม่ค่อยถนัด เราก็อย่าไปใช้หน้าก้อยเขา เราก็ไปใช้หน้าหัวที่เขาถนัด นี่คือหลักบริหารจัดการ ดังนั้น เสธ.แดง เขาเป็นคนอย่างนี้ ก็ต้องใช้ที่เขาถนัด ถ้ารู้ว่าหน้าก้อยมันไม่ดี มันไปกระทบเข้า มันก็กระดอนกลับมาสิ อันนี้ก็ต้องเป็นศิลปะในการปกครอง"
น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบตัวตนที่แท้จริงของนายทหารท่านนี้ และน่าเสียดายที่เสธ.แดงถูกมองข้าม "หน้าเก่ง" ไป จนกระทั่งก่อให้เกิดภาวะ "แผ่นดินไหว" สั่นสะเทือนกองทัพและการเมืองไทย
แน่นอนที่สุด เสธ.แดงได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่สังคมไทยควรที่จะเรียนรู้บทเรียนที่ได้จากกรณีของเสธ.แดง เพื่อป้องกันวิกฤติในบ้านเมืองที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ทำอย่างไร ที่จะให้โอกาสคนดีได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมมากขึ้น
ทำอย่างไรที่จะใช้คน "หน้าเก่ง" ให้เป็นประโยชน์กับส่วนรวมมากที่สุด
และจะทำอย่างไรให้คนไม่ดี ได้มีโอกาสกลับตัว ทำดีเพื่อประเทศเหนือสิ่งอื่นใดทั้งหมด
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น