23 เมษายน 2555

ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 4)

.....................................................................................................................



คลิกอ่าน 

ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 1) 

ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 2)

ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 3)


 

ในเกาะอังกฤษเองอาจจะมีหลายๆทีมที่รู้จักมักคุ้นและยอมรับในฝีเท้าของนักเตะเลือดดัทช์ นับตั้งแต่อิปสวิท ทาวน์ในยุคของบ๊อบบี้ ร็อบสันผู้บุกเบิกนำนักเตะอัศวินสีส้มเข้ามาบรรเลงเพลงเตะเป็นครั้งแรกเมื่อ 30 ปีก่อน รวมทั้งเชลซี, อาร์เซนัลและลิเวอร์พูล

จอห์น ม็องคูสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักเตะดัทช์ชี่และนักเตะยุโรปคนแรกของสโมสรเชลซี โดยย้ายมาร่วมทีมในปี 1989 ซึ่งเชลซี่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมา และสร้างผลงานยอดเยี่ยมจนได้รับการโหวตให้เป็นนักเตะยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลของสโมสรแห่งนี้ กลายเป็นนักเตะผิวสีคนแรกในประวัติศาสตร์ของทีมที่ได้รับรางวัลเกียรติยศนี้

แต่นักเตะดัทช์ชี่คลาสระดับโลกที่สุดก็คือรุด กุลลิค ถึงแม้ว่าจะผ่านจุดพีคในฐานะนักฟุตบอลอาชีพกับเอซี มิลานมาแล้ว แต่คลาสของกุลลิคคือจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติเปลี่ยนโฉมเชลซี ที่เปิดทางให้นักเตะระดับโลกคนอื่นๆได้เข้ามาค้าแข้งอยู่เชลซีและทีมอื่นๆ


เกลน ฮ๊อดเดิลดึงลุด กุลลิคเข้าสู่ถิ่นสแตมฟอร์ดบริดจ์ในปี 1995

ถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จใดๆในฐานะนักเตะ แต่กุลลิคก็สร้างประวัติศาสตร์ให้แก่ดัทช์คอนเนค ชั่นในถิ่นสแตมฟอร์ดบริดจ์แห่งนี้ เมื่อได้รับการโปรโมตให้เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่แทนที่เกลน ฮ๊อดเดิลและสร้างผลงานคว้าแชมป์เอฟเอคัพในปี 1997


กุลลิคกับประวัติศาสตร์ในถิ่นสแตมฟอร์ดบริดจ์
ผู้ริเริ่มเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าใหม่ของ
สโมสรเชลซีที่มีมาจนถึงทุกวันนี้

ในวันที่ดัทช์ชี่เบิกบานเต็มใบ


เอ็ดเดอ-กอยสร้างประวัติศาสตร์เป็นผู้รักษา
ประตูค่าตัวแพงที่สุดในปี 1997 และสร้าง
เกียรติยศให้แก่ดัทช์คอนเนคชั่นร่วมกับกุลลิค
ในถิ่นสแตมฟอร์ดบริดจ์

หลังจากที่กุลลิคได้สร้างชื่อให้กับดัทช์คอนเนคชั่นแล้ว เชลซีก็เปิดประตูต้อนรับนักเตะดัทช์ชี่คนใหม่ๆเรื่อยมาเรียงเสียงเรียงนามตั้งแต่มาริโอ เมลคิอ็อต,วินส์ตัน โบกาเด่,จิมมี่ ฟลอยด์ ฮัสเซลแบงค์และอาเยิน ร๊อบเบ็นเป็นยุคที่ดัทช์ชี่ประสบความสำเร็จมากที่สุดก็ว่าได้

และกุส ฮิดดิ้งค์ก็มาขยายดัทช์คอนเนคชั่นในถิ่นสแตมฟอร์ดบริดจ์ให้ฝังรากลึกยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าจะทำหน้าที่บอสใหญ่ชั่วคราวเพียงแค่ 3 เดือน แต่ฮิดดิ้งค์ได้ฝากผลงานและความประทับใจที่แสนอบอุ่นในถิ่นสแตมฟอร์ดบริดจ์




วินส์ตัน โบกาเด่ผู้สร้างประวัติศาสตร์หน้า
อับอายให้แก่ดัทช์ชี่ในชุดสีน้ำเงินคาม
ลงเล่นเพียง 7 นัดตลอด 4 ฤดูกาล

จิมมี่ ฟลอยด์ ฮัสเซลแบงค์ระเบิดฟอร์มจนทำให้ดัทช์ชี่บินได้

มาริโอ เมลคิอ๊อตและฮัสเซลแบงค์สองคู่เกลอดัทช์ชี่


ร็อบเบ็นผู้สร้างความปรากฏการณ์ให้แฟนๆ
สิงโตน้ำเงินครามได้ลุ้นตลอดเวลา

เกียรติประวัติถ้วยเอฟเอคัพสำหรับฮิดดิ้งค์และเชลซีในปี2009

ความใกล้ชิดกับโรมัน อับราโมวิกมหาเศรษฐีเจ้าของทีมทำ
ให้ประตูของสแตมฟอร์ดบริดจ์เปดต้อนรับฮิดดิ้งค์เสมอ


เมื่อหมดยุคของฮิดดิงค์แล้ว ดูเหมือนว่าดัทช์ชี่ก็อยู่ในช่วงขาลงไปด้วย สแตนฟอร์ดบริดจ์ในวันนี้ไม่มีนักเตะดัทช์ชี่คลาสระดับโลกหลงเหลืออีกเลยนอกเหนือจากเพียงนักเตะดาวรุ่งสองหน่ออย่างเจ๊ฟ ฟรี่ บรูมา และแพรทริค ฟานอันฮอลท์ที่ชื่อยังโนเนมเกินไป


ในอีกฟากหนึ่งของมหานครลอนดอน อาร์เซนัลเป็นอีกสโมสรหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับดัทช์คอนเนคชั่น ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นช้ากว่าเชลซีและมีนักเตะดัทช์ร่วมทีมน้อยกว่ามาก แต่จุดเปลี่ยนของเชลซีและอาร์เซนัลก็เริ่มต้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน

เดนนิส เบิร์กแคมป์คือดัทช์ชี่คนแรกๆในประวัติศาสตร์ของสโมสร โดยเริ่มเปิดศักราชในปี 1995 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่กุลลิคย้ายมาร่วมสังกัดเชลซี

ในช่วงแรกๆ เบิร์กแคมป์มีมาร์ก โอเวอมาร์สเป็นดัทช์ชี่คนที่ 2 ที่ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์คว้าดับเบิลแชมป์ในฤดูกาล 1997-1998  เมื่อโอเวอมาร์สย้ายไปร่วมทีมบาร์เซโลน่าในปี 2000 เบิร์กแคมป์เป็นดัทช์ชี่โลนลี่เพียงแค่ปีเดียวเท่านั้น เพราะจิโอ ฟาน บรอนค์ฮอสท์ได้ย้ายมาร่วมชายคาด้วย 



 
ฟาน บรอนค์ฮอสท์อาจจะเป็นดัทช์ชี่
ที่เงียบฉี่ที่สุดในถิ่นไฮบิวรี่

ตลอดช่วงระยะเวลา 11 ปีในถิ่นไฮบิวรี่ เบิร์กแคมป์มีบทบาทสำคัญมากๆ ในการสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับอาร์เซนัลในยุคของอาร์เซง แวงเกอร์ จนคว้าแชมป์ต่างๆรวมกันถึง 10 แชมป์  โดยเฉพาะการสร้างประวัติศาสตร์ The Invicibles ไม่แพ้ติดต่อกัน 49 นัดในฤดูกาล 2003-2004  ที่อาจจะไม่มีทีมไหนทำลายสถิติได้

ถึงแม้จะได้รับการโหวตจากแฟนคลับของเดอะกันเนอร์ให้เป็นนักเตะทียิ่งใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเธียรี่ อองรีในประวัติศาสตร์ของสโมสร แต่เบิร์กแคมป์ก็ได้รับการยกย่องจากอลัน แฮนเซ่นอดีตนักเตะตำนานลิเวอร์พูลว่าเป็นนักเตะต่างชาติที่สุดยอดที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลของเกาะอังกฤษ


หมายเลข 10 ของเบิร์กแคมป์ย่อมบ่งบอกความพิเศษเมื่อเทียบกับอองรี

ตำนานเสื้อหมายเลข 10 ของเบิร์กแคมป์ได้ถูกส่งผ่านต่อไปให้ดัทช์ชี่คนใหม่นามโรบินฟาน เปอร์ซี่ ผู้ยืนหยัดอยู่กับสโมสรมาอย่างยืนยาวนับแต่ปี 2004 ถึงแม้ว่าอาร์เซนัลจะล้มเหลวไม่สามารถคว้าแชมป์ใดๆได้เลยนับตั้งแต่ปี 2005  ถือเป็นความท้าทายสำหรับฟาน เปอร์ซี่เป็นยิ่งนัก ในฐานะนักเตะดัทช์ชี่หนึ่งเดียว ที่ได้รับความไว้วางใจให้สืบทอดตำแหน่งอันยิ่งใหญ่เป็นตำนานจากเบิร์กแคมป์ และได้รับความไว้วางใจให้เป็นกัปตันทีม




ฟาน เปอร์ซี่กำลังร้อนแรง ไต่เต้าสร้าง
ประวัติศาสตร์ให้เทียบเท่าหรือล้ำเกินหน้าเบิร์กแคมป์


หมายเลข 10 ของฟาน เปอร์ซี่ที่เป็นมรดกตกทอด
มาจากดัทช์ชี่รุ่นพี่อย่างเบิร์กแคมป์

ดูเหมือนว่า     ไม่มีทีมไหนที่ถูกโฉลกกับนักเตะดัทช์มากเท่าแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดอีกแล้ว อาร์โนลด์ มูห์เรน คือเฟิสต์ลิงค์ผู้ปักธงดัทช์คอนเนคชั่นในถิ่นโอลด์แทฟฟอร์ดเมื่อปี 1982 หลังจากมีส่วนสำคัญช่วยให้อิปสวิชคว้าแชมป์ยูเอฟ่าคัพหรือคัพวินเนอร์คัพเป็นประวัติศาสตร์ของสโมสรในปี 1981  ไม่เพียงเป็นดัทช์ชี่คนแรกเท่านั้นแต่ยังเป็นนักเตะยุโรปจากภาคพื้นทวีปคนแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร
(และของเกาะอังกฤษ) ด้วย


ชื่ออาร์โนลด์ มูห์เรนอาจจะไม่สตาร์ชื่อดังในความทรงจำ


ในฤดูกาลแรก ถึงแม้จะไม่โดดเด่นแต่มูห์เรนมีส่วนสำคัญไม่น้อยช่วยให้แมนฯยูไนเต็ดคว้าถ้วยแชมป์เอฟเอคัพเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี แต่มูห์เรนไม่ใช่สตาร์ระดับโลกเหมือนเพื่อนร่วมชาติอย่างฟานบาสเตน กุลลิค หรือไรท์การ์ดที่สามารถเปิดทางให้ดัทช์ชี่รุ่นน้องๆ ได้เจริญรอยตามอย่างง่ายๆ

กว่าที่ดัทช์ชี่คนที่ 2 คนที่ 3 จะมีโอกาสก้าวเข้ามาร่วมชายคาถิ่นโอลด์แทรฟฟอร์ดก็ต้องรอจนถึงปี 1996 ซึ่งเป็นปีที่เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสันอยู่ในตำแหน่งบอสใหญ่แห่งปีศาจแดงครบทศวรรษ ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ดาวเด่นระดับโลก แต่ทั้งไรมอนด์ ฟาน เดอฮาวและยอร์ดี ครัยฟ์ (ลูกชายของโยฮัน ครัยฟ์)  ก็เล่นบทบาท "มือสอง" ในความสำเร็จไม่มากก็น้อย 



ถึงแม้จะสวมบทบาทมือสองของปีเตอร์ ชไมเคิล
แต่ไรมอนด์ ฟาน เดอร์ ฮาวก็มีบทบาทสำคัญในความสำเร็จ
ในยิ่งใหญ่ของทีมปีศาจแดงในปี 1999



ถึงจะเป็นลูกชายของนักเตะเทวดา แต่
ยอร์ดี้ ครัยฟ์ก็ไม่ใช่นักเตะเทวดาเหมือนพ่อ
 
แต่ดัทช์ชี่คนแรกที่สร้างชื่อมีบทบาทมีอิทธิพลต่อทีมมากๆ ก็คือยาป สตัม ซึ่งแมนฯยูไนเต็ดลงทุนซื้อกองหลัง "ภูผา" คนนี้ด้วยค่าตัวสูงลิ่วเกือบ 11 ล้านปอนด์สำหรับฤดูกาล 1998-99 ที่กำลังจะเริ่มต้น

การเป็นนักตะดัทช์ที่มีค่าตัวแพงที่สุดและเป็นนักเตะกองหลังที่มีค่าตัวแพงที่สุดในประวัติศาสตร์ลูกหนังในช่วงเวลานั้น บ่งบอกว่า "เดอะร็อคหน้าตาย" คนนี้ย่อมไม่ธรรมดาแน่นอน และสตัมก็พิสูจน์ให้เห็นว่า เฟอร์กูสันตัดสินใจไม่ผิดพลาด


สตัมเหมือนเขื่อนที่กั้นไม่ให้ประตูรั่วไหล
ทำให้ทีมปีศาจแดงเสียประตูยากขึ้น

เพราะข้าเป็น "ภูผา" ความสำเร็จจึงมาถึง

เมื่อมี "ภูผา" คนนี้เป็นด่านขวางกองหน้าคู่ต่อสู้ แมนฯยูไนเต็ดก็กลายเป็นอีกทีมหนึ่งที่แพ้ยากขึ้น เพียงแค่ในฤดูกาลแรก สตัมได้กลายเป็นนักเตะคีย์แมนที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวด ต่อความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรในการคว้า 3 แชมป์คือแชมป์รายการพรีเมียร์ลีก ยูเอฟ่าแชมป์เปี้ยนลีก และเอฟเอคัพ แถมยังสร้างประวัติศาสตร์ช่วยให้แมนฯยูไนเต็ดเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีก 3 สมัยติดต่อกันชนิดที่ต้องโค้งคำนับให้อย่างไม่มีข้อโต้แย้ง

ถึงแม้ฟุตบอลจะเป็นเกมกีฬาที่เน้นความเป็นทีมและเป็นปรัชญาของสโมสรแห่งนี้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สตัมคือผู้ที่สมควรได้รับเครดิตมากที่สุดคนหนึ่งในความสำเร็จและความยิ่งใหญ่ของแมนฯยูไนเต็ดในช่วงเวลาดังกล่าว เฟอร์กูสันถึงกับยอมรับว่า การขายสตัมให้แก่ทีมลาซิโอในปี 2001 คือความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตการเป็นผู้จัดการปีศาจแดง เพราะในฤดูกาล 2001-02 แมนฯยูไนเต็ดล้มเหลวในทุกรายการอย่างไม่น่าเชื่อ  

ความสำเร็จของสตัมเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เฟอร์กูสันเริ่มปักใจเชื่อว่า ดัทช์คอนเนคชั่นจะเป็นปัจจัยที่สำคัญและจำเป็นสำหรับแมนฯยูไนเต็ดหากจะคงความยิ่งใหญ่ไว้ต่อไป   แน่นอนที่สุดว่า บอสใหญ่คนนี้จะไม่มีวันที่จะประยุกต์ "ฟานกาลโมเดล" และซื้อนักเตะดัทช์ชี่พร้อมๆกันหลายคนจนล้นทีม

 
ฟาน นิสเตลรอยผู้ยิงประตูเถิดเทิง
ทำสถิติจารึกไว้ในถิ่นโอลด์แทรฟฟอร์ด

ในปีที่ขายสตัมออกไป เฟอร์กูสันก็ได้นักเตะดัทช์คนใหม่มาร่วมทีมที่สร้างชื่อเสียงสร้างเครดิตให้แก่ดัทช์คอนเนคชั่นไม่ด้อยไปกว่าสตัม นั่นคือรุค ฟานนิสเตลรอยที่เฟอร์กูสันเพียงพยายามตามตื้อจนชนะใจศูนย์หน้าทีมชาติเนเธอร์แลนด์คนนี้


พลายอิ้งดัทช์ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด


ในเวลานั้น เฟอร์กูสันมีความคิดที่จะสร้างดัทช์ชี่คู่ขวัญคู่หน้าเพื่อความยิ่งใหญ่ทั้งในเวทีพรีเมียร์ลีก และสมรภูมิแชมป์เปี้ยนลีก ความคิดที่จะมีทั้งฟานนิสเติลรอยและแพรทริค ไคล์เวิร์ทเป็นคู่กองหน้าหมายเลข 9 หมายเลข 10 แห่งทีมปีศาจแดง  ด้วยความเชื่อมั่นว่า แมนฯยูไนเต็ดจะไร้เทียมทานด้วยสองกองหน้าดัทช์ชี่คู่อันตรายนี้

แต่ความคิดความฝันของเฟอร์กูสันก็ไม่อาจจะเป็นจริงได้ นับเป็นความผิดหวังครั้งที่ 2 สำหรับเฟอร์กูสันที่ชื่นชมและเพียงพยายามที่จะได้ไคล์เวิร์ทมาร่วมทีมให้ได้ เพราะก่อนหน้านี้ ก็ได้พยายามจะซื้อไคล์เวิร์ทเป็นดัทช์ชี่คนที่ 2 ที่จะได้มาอยู่ร่วมกับสตัม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เล่ากันว่า เหตุผลส่วนตัวหนึ่งที่ทำให้ไคล์เวิร์ทตัดสินใจไม่มาร่วมทีมแมนฯยูไนเต็ด เพราะต้องการอาศัยอยู่ในลอนดอนเท่านั้น 
เมื่อโอลด์แทรฟฟอร์ฟอยู่ในเมืองแมนเชสเตอร์ ไคล์เวิร์ทจึงตัดสินใจไปอยู่บาร์เซโลน่า


ในวันรุ่งโรจน์ของดัทช์ชีนามฟาน นิสเตลรอย


แต่การได้ฟานนิสเตลรอยเป็นดัทช์ชี่โดดๆ กลับไม่ได้สร้างความผิดหวังให้กับเซอร์อเล็กซ์แม้แต่น้อยเลย เพราะฟานนิสเตลรอยทำหน้าที่ของศูนย์หน้าได้อย่างยอดเยี่ยมไม่มีข้อบกพร่องเลย ในฤดูกาลแรก สามารถระเบิดระบายฟอร์มสุดยอดประหนึ่งเก็บกดมาจากอาการบาดเจ็บเรื้อรังก่อนหน้านั้น ทำลายสถิติต่างๆ ในฐานะดาวซัลโว จนได้รับรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของพรีเมียร์ลีกและดาวซัลโวทรงคุณค่ารายการยูเอฟ่าแชมป์เปี้ยนลีกรวมทั้งตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุดของรายการยูเอฟ่าแชมป์เปี้ยนลีก 3 สมัยติดต่อ กัน

ถึงแม้จะมีดีกรีเป็นแชมป์แห่งเกาะอังกฤษ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีนักเตะคนใดกล้าปฏิเสธที่จะมาร่วมทีมด้วย และไม่ว่าเฟอร์กูสันจะเชื่อมั่นในคุณภาพของดัทช์ชี่มากแค่ไหนก็ตาม แต่บอสใหญ่ทีมปีศาจแดงก็ไม่ได้ตัวนักเตะที่ต้องการเสมอไป

ผลงานอันยอดเยี่ยมของฟานนิสเตลรอยทำให้เฟอร์กูสันกระหยิ่มใจและต้องการจะเพิ่มดัทช์ชี่เข้าร่วมทีมอีกคนหนึ่งในช่วงต้นปี 2004 ถึงแม้ว่าจะใช้ความพยายามมากแค่ไหนก็ตาม และถึงแม้จะให้ฟานนิสเติลรอยเป็นพ่อสื่อช่วยกล่อมให้แล้วก็ตาม  แต่ท้ายที่สุดแล้ว อาเยิน ร็อบเบ็นก็เลือกที่จะไปร่วมทีมเชลซี 

แต่ฤดูกาลต่อมา เซอร์อเล็กซ์ก็สมหวังในดัทช์ชี่คนใหม่ที่อยู่ในใจมานานหลายปี เป็นความสมหวังที่มีค่ามีความหมายต่อทีมปีศาจแดงมากๆ เพราะการได้ตัวเอ็ดวิน ฟานเดอ ซาร์ผู้รักษาประตูทีมชาติฮอลแลนด์มาร่วมทีมในปี 2005 คือการแก้ปัญหาจิ๊กซอร์ที่ถูกปล่อยไว้นับตั้งแต่ปีเตอร์ ชไมเคิลย้ายออกไปตั้งแต่ปี 1999 และยังไม่สามารถหาใครมาแทนที่ได้

ฟานเดอซาร์กลายเป็นดัทช์ชี่อีกคนหนึ่งที่สร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมให้แก่แมนฯยูไนเต็ด จนได้รับการขนานนามว่า "ฟานเดอเซฟ" ถึงขั้นเฟอร์กูสันยกย่องให้เป็นผู้รักษาประตูที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ยุคของ ชไมเคิล


เอ็ดวิน ฟานเดอ ซาร์สร้างตำนานอันยิ่งใหญ่ให้กับดัทช์ชี่

ดัทช์ชี่ผู้ยิ่งใหญ่คนสุดท้ายในยุคเซอร์เฟอร์กูสัน?

เมื่อสามารถปักหลักและสร้างความมั่นใจให้แก่เซอร์อเล็กซ์แล้ว ฟานเดอซาร์ก็โชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมไม่มีที่ติ กลายเป็นนักเตะดัทช์ที่อยู่ในถิ่นโอลด์แทรฟฟอร์ดนานที่สุด และตลอดระยะเวลา 6 ฤดูกาลก่อนที่จะรีไทร์จากอาชีพนักฟุตบอล ฟานเดอซาร์คือดัทช์ชี่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดด้วยเกียรติประวัติผลงานรวม 10 แชมป์ทุกรายการ


ฟานเดอ ซาร์คือดัทช์ชี่ที่ก้าวเดินออกจากโอล์ดแทรฟฟอร์ด
ได้อย่างสวยหรูที่สุด เพราะไม่ได้ถูกอัปเปหิขายออกไปเหมือนสตัมหรือฟานนิสเตลรอย

บทบาทและความสำเร็จของสตัม ฟานนิสเตลรอยและฟาน เดอซาร์ในรอบ 13 ปีที่ผ่านมากลายเป็นหลักฐานประจักษ์แจ้งว่า แมนฯยูไนเต็ดถูกโฉลกกับดัทช์ชี่มากๆ

ดูเหมือนว่า ดัทช์คอนเนคชั่นจะถูกโฉลกกับแมนฯไนเต็ดและเฟอร์กูสันอย่างเหลือเชื่อ ด้วยผลงานเป็นที่ประจักษ์นับตั้งแต่สตัมย้ายมาร่วมทีมในปี 1998 เป็นต้นมา  จะเห็นได้ว่า แมนฯยูไนเต็ดมักจะโชคดีได้ลาบได้แชมป์เมื่อมีดาวเด่นดัทช์ระดับโลกหนึ่งคนเป็นดาวเด่นประดับทีมในแต่ละช่วงเวลา 

ด้วยเหตุนี้ อาจเป็นคำตอบหนึ่งว่า ทำไมแมนฯยูไนเต็ดจึงเพียรพยายามและต้องการจะได้ตัวนักเตะหมายเลข 10 ของทีมชาติเนเธอร์แลนด์คนปัจจุบันอย่างเวสลีย์ ชไนเดอร์มาร่วมทีมมากๆ มากกว่าเพียงแค่เหตุผลทางด้านเกมฟุตบอลเพียงอย่างเดียว




เวสลีย์ ชไนเดอร์ดัทช์ชี่ที่อาจจะกลายเป็นอาถรรพ์สำหรับแมนฯยูไนเต็ด?
 

ไม่มีหมายเลข 10 ว่างที่โอลด์แทฟฟอร์ดสำหรับนักเตะหมายเลข 10 คนนี้


เพราะชไนเดอร์เป็นนักเตะดัทช์ที่มีดวงถูกโฉลกกับปีศาจแดงอย่างขาดไม่ได้  เฟอร์กูสันอาจจะไม่กล้าพอที่จะเสี่ยงเริ่มต้นฤดูกาลใหม่โดยไม่มีดัทช์ชี่ระดับโลกอยู่ในทีมเลย

แต่สุดท้าย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตาม ปีศาจแดงก็ไม่ประสบความสำเร็จในการคว้าตัวชไนเดอร์มาร่วมทีม จนทำให้ใครๆหลายคนรวมทั้งเซอร์อเล๊กเริ่มหวั่นใจว่า แมนฯ ยูไนเต็ดอาจจะคว้าน้ำเหลว ไม่ได้แชมป์ใดๆเลนก็ได้สำหรับในฤดูกาล 2011-2012 นี้ก็เป็นได้ นับตั้งแต่ตกรอบบอลถ้วยลีกคัพ  บอลถ้วยเอฟเอคัพ โดยเฉพาะการตกรอบแรกในรายการยูเอฟ่าแชมป์เปี้ยนลีคอย่างไม่น่าเชื่อ

ณ เวลานี้ แมนฯยูไนเต็ดเหลือลุ้นอย่างใจหายใจคว่ำกับตำแหน่งแชมป์พรีเมียร์ลีคเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น

เพื่อพิสูจน์ว่า ดวงแชมป์ของทีมปีศาจแดงนั้นผูกติดกับดัทช์คอนเนคชั่นจริงๆ หรือไีม่



.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...