2 สิงหาคม 2554

ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 2)

.....................................................................................................................

คลิกอ่าน ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 1)
.....................................................................................................................


สำหรับรีล แมดดริยักษ์ใหญ่คู่รักคู่แค้นของบาร์เซโลน่าแล้ว การถูกโยฮัน ครัยฟ์ปฏิเสธไม่มาร่วมทีมด้วยเหตุผลเพราะนายพลฟรังโก ถือเป็นการ "ตบหน้า" ให้อับอายเป็นอย่างยิ่ง เพราะด้วยอำนาจทางการเมืองที่เต็มเปี่ยม ยากนักที่ใครจะกล้าปฏิเสธนายพลเผด็จการแห่งสเปนได้ หากยังจำกันได้ นายพลฟรังโกเคยถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจแทรกแซงและชิงดิ สเตฟาโน สุดยอดนักเตะของโลกในยุค '50s มาจากบาร์เซโลน่า ชนิดที่ทำให้ความเป็นปฏิปักษ์กันระหว่างสองทีมยักษ์ใหญ่แห่งสเปนบาดหมางยิ่งขึ้น และดิ สเตฟาโนคนนี้คือผู้สร้างความแตกต่าง และทำให้รีล แมดริดคว้าแชมป์ในประเทศ (หรือแชมป์ลาลีก้าในปัจจุบัน) 8 สมัย และแชมป์ยุโรเปี้ยน 5 สมัยติดต่อกันในช่วงปี 1956-1960

หากได้ตัวครัยฟ์มาร่วมทีมในยุค '70s รีล แมดริดคงคว้าแชมป์ถ้วยต่างๆ มาครองจนเต็มตู้แน่นอน และประวัติศาสตร์ของบาร์เซโลน่าก็อาจจะไม่ยิ่งใหญ่เหมือนเช่นในวันนี้ก็ได้

เพราะพลาดหวังตัวครัยฟ์ในครั้งนั้น อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประวัติศาสตร์ของสโมสรไม่เคยมีโอกาสได้ต้อนรับนักเตะดัทช์เลย เรียกว่าไม่ได้มีความผูกพันหรือมีดัทช์คอนเนคชั่นที่ลึกซึ้งเหมือนเช่นบาร์โซโลน่าทอดยาวไปจนกระทั่งปี 1996 เมื่อคลาเรนซ์ ซีดอร์ฟตัดสินใจย้ายจากทีมอาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัมมาร่วมสังกัดรีล แมดริด

นอกจากซีดอร์ฟจะสร้างประวัติศาสตร์เป็นดัทช์คนแรกๆในถิ่นเบอร์นาบิว เรียกว่า ต้องใช้เวลารอนานกว่า 23 ปีนับตั้งแต่วันที่ครัยฟ์เลือกไปอยู่กับบาร์เซโลน่า กว่าที่สโมสรยักษ์ใหญ่ในเมืองหลวงของสเปนจะเปิดประตูต้อนรับดัทช์ชี่แล้ว ซีดอร์ฟกลายเป็นนักเตะดัทช์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในถิ่นเบอร์นาบิวด้วยการคว้าแชมป์ทั้งหมด 4 ถ้วยใน ช่วง 2 ฤดูกาลแรก โดยเฉพาะแชมป์ลาลิกาและแชมป์เปี้ยนลีก



หนึ่งเดียวดัทช์ชี่นามซีดอร์ฟนักเตะผิวสีในทีมรีล แมดริด

ซีดอร์ฟสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักเตะดัทช์ชี่คนแรก
ในสีเสื้อราชันชุดขาวที่คว้าแชมป์รายการยูเอฟ่าแชมป์เปี้ยนลีก

กุส ฮิดดิ้งค์กลายเป็นผู้จัดการทีมชาวดัทช์คนแรกและ
คนเดียวที่เคยคุมทีมรีล แมดริดและล้มเหลวไม่สามารถ
สร้างความสร้างเกียรติประวัติให้แก่ดัทช์คอนเนคชั่น
ในถิ่นรีล แมดริดเหมือนเช่นที่มิเชลส์, ครัยฟ์, ฟานกาล
และไรท์การ์ดพิสูจน์ที่บาร์เซโลน่า


ดูเหมือนว่า บทบาทและผลงานของซีดอร์ฟที่ประสบความสำเร็จอย่างเหลือหลายในช่วงสองฤดูกาลแรก สร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริหารของรีล แมดริดมากขึ้น จนนำไปสู่การแต่งตั้งกุส ฮิดดิ้งค์ให้เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ในฤดูกาล 1998-1999 ด้วยความคาดหวังที่สูงเลิศ

แต่โชคไม่เข้าข้าง  เพราะความไม่ลงรอยกันระหว่างฮิดดิงค์และซีดอร์ฟ ทำให้ทั้งสองดัทช์ชี่ไม่สามารถสร้างชื่อสร้างผลงานเกรียงไกรให้แก่ราชันท์ชุดขาวเป็นเกียรติประวัติแก่ดัทช์คอนเนคชั่นเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในถิ่นบาร์เซโลน่า  ผลสุดท้าย รีล แมดริดจบฤดูกาลนั้นโดยไม่มีตำแหน่งแชมป์ใดๆ ทั้งฮิดดิ้งและซีดอร์ฟก็ต้องโยกย้ายจากลาถิ่นเบอร์นาบิวไปตามวิถีของแต่ละคน

ความล้มเหลวดังกล่าว อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้รีล แมดริดว่างเว้นจากดัทช์คอนเนค ชั่นกว่า 7 ปี จนกระทั่งได้รุค ฟานนิสเติลรอยมาร่วมทีมในปี 2006 ถือเป็นนักเตะดัทช์คนแรกในสหัสวรรษใหม่ ถึงแม้จะมีอาการบาดเจ็บ แต่อดีตนักเตะศูนย์หน้าของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคนนี้ก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยแมดริดคว้าแชมป์ลาลิก้าเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี

ความสำเร็จของซีดอฟและฟานนิสเติลรอยอาจทำให้ผู้บริหารของรีล แมดริดเริ่มไม่เชื่อในทฤษฏีที่ว่า "ดัทช์คอนเนคชั่นไม่ถูกโฉลกกับราชันท์ชุดขาว" ในขณะที่อีกฟากหนึงของประเทศ ดัทช์เริ่มอ่อนกำลังลงที่บาร์เซโลน่า จึงเปิดโอกาสให้แมดริดทดลองดัทช์คอนเนคชั่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรก็ว่าได้


ฟานรุดเติลรอยบินได้สูงในถิ่นเบอร์นาบิว


ความสำเร็จของรีล แมดริดในปี 2007


ในฤดูกาล 2007-08 เป็นปีที่เบอร์นาบิวมีลมแรงทำให้กังหังลมพัดหมุนสะพัด การแต่งตั้งเบิร์น ชูสเตอร์ผู้จัดการคนใหม่ชาวเยอรมัน คือจุดเริ่มต้นของดัทช์คอนเนคชั่นครั้งใหญ่ และสร้างปรากฏการณ์ซื้อนักเตะดัทช์มาร่วมชายคาสมทบกับฟาน นิสเติลรอยพร้อมๆกันถึง 3 คนคือ อาร์เยิน ร็อบเบ็น, เวสลีย์  ชไนเดอร์และรอยส์เติน เดรนเธะดาวรุ่งวัตถุดิบที่รอการปรุงแต่ง 


ถึงจะเป็นเยอรมัน แต่เบิร์น ชูสเตอร์
ก็ชื่นชมนักเตะดัทช์มากๆ 

การซื้อดัทช์ชี่คลาสระดับโลกอย่างร็อบเบ็นหรือชไนเดอร์เพียงคนใดคนหนึ่งก็นับว่าเพียงพอแล้ว แต่การซื้อพร้อมๆกันทีเดียวทั้งสองคนบ่งบอกว่าแมดริดเอาจริงชนิดหวังผลทันที 

ไม่มีสิ่งใดที่จะมีน้ำหนักพิสูจน์ว่าตัดสินใจถูกหรือผิดเท่ากับกับตำแหน่งแชมป์ เพราะในฤดูกาลแรกของชูสเตอร์กับทฤษฏีดัทช์คอนเนคชั่น รีล แมดริดสามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ คือแชมป์ลาลีก้าและแชมป์ซูเปอร์โคปา


อาร์เยิน ร็อบเบนช่วยเพิ่มความเร็ว
ความกว้างให้กับราชันชุดขาว

ในสีเสื้อราชันชุดขาว ร๊อบเบ็นไม่ได้ทำให้เสียชื่อดัทช์ชี่เลย


เวสลีย์  ชไนเดอร์ได้ชื่อว่าเป็นดัทช์ชี่ที่
เล่นได้โดดเด่นและคงเส้นคงวาที่สุด


Arjen Robben celebrates his fine goal with compatriot Wesley Sneijder as Real Madrid defeat Villarreal 1-0.
ทั้งชไนเดอร์และร็อบเบ็นไม่มีสิ่งใด
ที่ต้องพิสูจน์คลาสระดับโลกอีกแล้ว



ดัทช์ชีเริงร่าในราชันชุดขาวกับแชมป์ลาลีก้าฤดูกาล 2007-08

ชื่นชมและดีใจกับแชมป์ซูเปอร์โคป้าในปี 2008

เมื่อเชื่อมั่นว่ามาถูกทางแล้ว เชื่อมั่นว่าแมดริดเป็นสโมสรที่ถูกโฉลกกับดัทช์คอนเนคชั่น ชูสเตอร์จึงได้รับไฟเขียวให้เดินหน้าต่อไป  ดัทช์ชี่คนที่ 5 คนที่ 6 จึงได้ถูกซื้อเข้ามาสมทบ ชื่อชั้นของราฟาเอล ฟานเดอฟาร์ทย่อมอยู่ในแนวคลาสเดียวกับร็อบเบ็นและชไนเดอร์ ส่วนคลาส แยน ฮุนเดล่าร์คือดาวรุ่งที่มีแววจะเป็นฟานบาสเทนคนใหม่

ในฤดูกาล 2008-09เป็นฤดูกาลแห่งประวัติศาสตร์สำหรับรีล แมดริด เพราะมีนักเตะดัทช์ ชี่ร่วมทีมมากถึง 6 คน แต่ว่ากันว่า หากเลือกได้ นักเตะดัทช์เหล่านี้มีใจและอยากย้ายไปร่วมทีมบาร์เซโลน่ามากกว่า แต่เมื่อแคมป์นูไม่เปิดประตูต้อนรับ การเลือกมาร่วมทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทีมหนึ่งของโลกอย่างแมดริด จึงอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าด้วยซ้ำ


คลาสของราฟาเอล ฟานเดอฟาร์ทไม่สามารถ
แปรเปลี่ยนเป็นฟอร์มที่เจิดจรัสได้
 
แยน ฮุนเตล่าร์ไม่สามารถสร้างชื่อให้
เป็นฟานบาสเทนคนใหม่ได้ 
  

ไม่เป็นไร....เราจะกอดคอร่วมชะตากรรมเดียวกัน


จากดาวรุ่งแห่งปี รอยส์เติน เดรนเธะ
กลายเป็นดาวดับในสีเสื้อราชันชุดขาว



ห้าดัทช์ชี่ที่ไม่สามารถแปรเปลี่ยนเป็น
พลังสร้างความเกรียงไกรให้กับแมดริดได้


แต่การถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมของชูสเตอร์ในปลายปี 2008 กลายเป็นจุดเปลี่ยนของดัทช์คอนเนค ชั่นในเบอร์นาบิวก็ว่าได้    เพราะนับตั้งแต่นั้น บรรดานักเตะดัทช์ชี่แต่ละคนเริ่มกลายเป็นส่วนเกินของทีม เริ่มเป็นที่รังเกียจและถูกมองข้ามฝีเท้าความสำคัญ เริ่มไม่มีตำแหน่งตัวจริง จนไม่เป็นที่ต้องการของผู้จัดการคนต่อๆมา

จุดจบของดัทช์คอนเนคชั่นชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประธานสโมสรคนใหม่ในกลางปี 2009 ซึ่งมีจุดยืนที่ชัดเจนว่า รีล แมดริดไม่ต้องการดัทช์ชี่อีกต่อไป นักเตะดัทช์แต่ละคนเริ่มกระเด็นกระดอนไปคนละทิศคนละทาง สโมสรยอมขาดทุนกว่าสองพันล้านบาท เพียงเพื่อให้สามารถขายหรือระบายนักเตะดัทช์ทั้ง 6 คนออกไปให้เร็วที่สุด

และเมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2010-11 ภายใต้ผู้จัดการทีมคนใหม่คนดังอย่างโฮเซ่ มูรินโญ่  แมดริดไม่หลงเหลือนักเตะดัทช์ระดับโลกอีกเลย ส่วนรอยส์เติน เดรนเธะก็เรียกว่าหมดอนาคตในทีมไปแล้ว รอวันเวลาว่าเมื่อไหร่จะมีทีมไหนสนใจได้ตัวแบบชั่วคราวหรือซื้อไปเลย  

คงเป็นเรื่องน่าคิดน่าติดตามว่า อีกนานแค่ไหนกว่าที่นักเตะดัทช์ชี่ระดับมีคลาสจะมีโอกาสหวนกลับคืนสู่ถิ่นเบอร์นาบิว อีกครั้งหนึ่ง




คลิกอ่าน ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 3)

ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 4) 

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...