11 กุมภาพันธ์ 2554

ทฤษฏี "คอนโดมิเนียม" กับปัญหาปราสาทพระวิหาร

.



           ปฏิเสธไม่ได้ว่า เชื้อรากเหง้าส่วนหนึ่งของปัญหาความความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาในปัจจุบันนี้ เป็นผลมาจากคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลกเมื่อปี 2505 ที่ให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขต อธิปไตยของกัมพูชา




                        
                          คำตัดสินของศาลโลกยุติที่กรุงเฮกเท่านั้น แต่กลาย
                          เชื้อแห่งความขัดแย้งตลอด 5 ทศวรรษที่ผ่านมา
 
         ความชัดเจนที่สุดก็คือ กัมพูชาเป็นเจ้าของปราสาทพระวิหารโดยนิตินัย แต่ศาลโลกก็ทิ้งมรดกความคลุมเครือจากคำตัดสินดังกล่าว

        เป็นความคลุมเครือว่า การเป็นเจ้าของปราสาทพระวิหารนี้หมายถึงการเป็นเจ้าของพื้นที่บริเวณโดยรอบด้วยหรือไม่  โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่โดยรอบ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่กลายเป็นหัวใจของความขัดแย้งในวันนี้

         ดูเหมือนว่า ฝ่ายกัมพูชาและผู้สนับสนุนจะยึดเอาทฤษฏี "คอนโดมิเนียม" เป็นหลักในการตีความ  นั่นคือโดยหลักการแล้ว การเป็นเจ้าของห้องชุดหนึ่งๆ ย่อมหมายถึงการเป็นเจ้าของ(ร่วม)ในที่ดินทังหมดที่เป็นที่     ตั้งของคอนโดฯด้วย  เพราะฉะนั้น   ภายใต้หลักการนี้ ผู้นำกัมพูชาจึง(อาจ)เชื่อว่า การเป็นเจ้าของปราสาทพระวิหารจึงครอบคลุมถึงสิทธิการเป็นเจ้าของพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งและพื้นที่บริเวณโดยรอบด้วย





         
            ปราสาทพระวิหารในฐานะอสังหาริมทรัพย์เช่นเดียวกับคอมโดมิเนียม?



            ในขณะที่ฝ่ายรัฐไทย มองว่าคำตัดสินของศาลโลกสอดคล้องกับหลักการ "ตึกเซ้ง" มากกว่า นั่นคือ     เป็นเจ้าของเฉพาะตัวตึกเท่านั้น แต่ไม่มีสิทธิหรือเป็นเจ้าของที่ดินด้วย เพราะฉะนั้น  โดยนัยยะนี้      กัมพูชาเป็นเจ้าของเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น แต่ไม่ได้รวมถึงสิทธิการเป็นเจ้าของเขาพระวิหารเฉพาะพื้นที่บริเวณใต้และรอบๆปราสาท     

            เพราะต่างฝ่ายต่างยึดถือหลักการและมุมมองที่แตกต่างกันดังกล่าว ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากและเกี่ยวข้องกับปัญหาปราสาทพระวิหารจึงยากจะหาข้อยุติ ได้ง่ายๆ เว้นเสียแต่บุคคลที่สามที่จะเป็นผู้ตัดสินว่า กรณีนี้ควรยึดเอาทฤษฏี "คอนโดมิเนียม"   หรือทฤษฏี "ตึกเซ้ง" มากกว่ากัน


 

                           
                                      ปัญหาความข้ดแย้งไทย-กัมพูชาที่ต้อง
                                    ใช้เวลาสมานเฉกเช่นระยะทางที่ต้อง
                                     เดินสู่ชั้นบนสุดของตัวปราสาท

          ได้แต่หวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถหาข้อยุติในปัญหาข้อพิพาทนี้ได้อย่างสนิทใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องในโอกาสครบ 50 ปีของคำตัดสินของศาลโลกในปี 2555 แทนที่จะเป็นการกลับสู่เวทีศาลโลก  อีกครั้งหนึ่งหลังจาก 5 ทศวรรษผ่านพ้นไป



.

2 ความคิดเห็น:

  1. เทียบกับซื้อบ้านเดี่ยว คือ ซื้อทั้งที่ดิน และตัวบ้าน
    ถ้าตัวบ้านถล่ม หรือ รื้อถอนไป ก็ยังเหลือที่ดิน
    กรณีเขมร จึงไม่ใช่คอนโด เพราะเจ้าของที่ดินที่สร้างคอนโด มีเจตนาให้ผู้ซื้อห้องมีกรรมสิทธิ์ร่วม ซึ่งไม่ใช่ในกรณีเขาพระวิหาร
    ซึ่งเป็นการซื้อตึกเซ้ง คือได้แต่ตัวอาคาร ดังนั้น
    สมมติว่า คำพิพากษาศาลโลกยุติแค่นี้ เขมรจะต้องเสียค่าเช่าที่ดินสำหรับอาคารของตน

    ตอบลบ
  2. ถึงรบไม่ขลาด24 พฤษภาคม 2554 เวลา 19:17

    ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องคำนึงเรื่องการครอบครองพื้นที่ของอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ในเมื่อพื้นที่สิทธิที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทยทั้งหมดที่มีการปักปันเขตแดนแล้วคือสันปันน้ำอันได้แก่หน้าผาซึ่งรวมทั้งพื้นที่ตัวปราสาทพระวิหารด้วยนั้น อยู่ในกรรมสิทธิ์ของไทยทั้งสิ้น
    แต่การที่ปราสาทพระวิหารถูกศาลตัดสินให้อยู่ในกรรมสิทธิ์ของกัมพูชาเพราะเราไม่คัดค้านตอนที่มีการไปเยือนปราสาทพระวิหารแล้วคนฝรั่งเศสมาต้อนรับ ในขณะที่เขตแดนของไทยกินบริเวณกว้างไปถึงหน้าผา ในเมื่อได้ครอบครองปราสาทพระวิหารไปแล้วจึงเป็นการยกสิทธิเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น ดินแดนไม่เกี่ยวข้องครับ แค่เราไปยอมเล่นละครลิงกับเขาตอนเสียปราสาทพระวิหารก็แย่อยู่แล้วครับ

    ตอบลบ

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...