11 สิงหาคม 2558

ทูตอเมริกันคนใหม่ (ตอนที่ 2)

.

กรณีต่อมาก็คือกรณีของอียิปต์ซึ่งมีความน่าสนใจมากเป็นพิเศษ ในแง่เปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทย(บทวิเคราะห์เฉพาะในเรื่องนี้จะนำเสนอในโอกาสต่อไป) เพราะทั้งอียิปต์และไทยต่างก็มีเหตุการณ์การรัฐประหารเหมือนกัน มีผู้ชุมนุมหลักล้านเป็นประวัติศาสตร์ ทูตอเมริกันทั้งในกรุงไคโรและในกรุงเทพต่างก็เป็นผู้หญิง ทั้งคู่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องท่าทีที่แทรกแซงกิจการภายใน(มากเกินไป) และวางตัวไม่เป็นกลางให้เหมาะสมกับตำแหน่งเอกอัครราชทูต



อย่างไรก็ตาม มีประเด็นข้อแตกต่างหลายๆประการ ที่ควรจะได้พินิจพิจารณาเปรียบเทียบ  ดังนี้
หนึ่ง คือความแตกต่างในช่วงระยะเวลาหรือวาระที่อยู่ในตำแหน่ง โดยปกติแล้ว ทูตสหรัฐฯจะอยู่ในตำแหน่งประมาณสามปีและสามารถอยู่ต่อได้อีกหนึ่งปีตามความจำเป็นหรือเหมาะสม   ในข้อเท็จจริง ปรากฏว่า  ทูตสหรัฐฯประจำกรุงไคโรอยู่ในตำแหน่งสองปีหย่อนๆ (26 เดือน) เมื่อเทียบกับทูตสหรัฐฯประจำกรุงเทพ ซึ่งอยู่ในวาระนานถึง 47 เดือนหรือเกือบ 4 ปีเต็ม  จนกลายเป็นทูตสหรัฐฯ(ประจำประเทศไทย)ที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในรอบ 20 ปี  

ทั้งนี้  หากพิจารณาในรายละเอียดเพิ่มเติมจะเห็นได้ว่า ทูตสหรัฐฯประจำกรุงไคโรพ้นจากตำแหน่งในเดือนสิงหาคม 2556 นั่นคือหนึ่งเดือนหลังจากอดีตประธานาธิบดีโมฮัมหมัด โมร์ซีซึ่งเป็นผู้นำคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งในประวัติศาสตร์ของอียิปต์ถูกรัฐประหารโค่นล้ม โดยอ้างเหตุผลว่าต้องไปรับตำแหน่งใหม่ที่สูงขึ้น (แต่ในอีกด้านหนึ่ง  อาจตีความได้ว่าคือการประท้วงไม่ยอมรับรัฐประหาร?)
ในขณะที่ทูตสหรัฐฯประจำกรุงเทพกลับยังอยู่ในตำแหน่งต่อเนื่องไปอีกห้าเดือนกว่าหลังจากที่เกิดเหตุรัฐ ประหารในเดือนพฤษภาคมจนหมดวาระอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน  ทั้งๆที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯสามารถเลือกแนวทางเดียวกับทูตสหรัฐฯประจำอียิปต์ โดยให้ทูตคริสตี้ เคนนีย์พ้นจากตำแหน่งแล้วไปรับตำแหน่งใหม่เร็วกว่านั้นก็อยู่ในวิสัยที่ทำได้ 
  

7 สิงหาคม 2558

ทูตอเมริกันคนใหม่ (ตอนที่ 1)


.


ภายหลังจากที่นางคริสตี้ เคนนี่ย์อดีตเอกอัคราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยพ้นจากตำแหน่งไปตอนช่วงเทศกาลลอยกระทงของเดือนพฤศจิกายนปี 2557  โดยยังไม่ปรากฏเค้าลางว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะแต่งตั้งใครเข้ามารับตำแหน่งแทนที่  ก็เกิดให้เกิดกระแสความคิดเห็นต่างๆนานา 


การดีเลย์ออกไปเดือนแล้วเดือนเล่าจึงถูกตีความและพยายามที่จะเชื่อมโยงให้เกี่ยวข้องกับรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยตรง          จนกระทั่ง เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา หลังจากตกอยู่ในภาวะคลุมเครือมาตลอด 5-6 เดือน ในที่สุด  ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า จึงได้ประกาศชื่อ  Glyn Townsend Davies” ให้เป็น(ว่าที่)เอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่ 
มีเหตุการณ์หลายๆกรณีที่น่าสนใจและเหมาะสมนำมาเปรียบเทียบกับกรณีของประเทศไทย เพื่อพิจารณาว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งทูตอเมริกันคนใหม่นั้น สามารถตีความให้เป็นเรื่องน่าวิตกหรือผิดปกติได้มากน้อยแค่ไหน
กรณีแรกคือกรณีของโรมาเนีย  ถึงแม้ในอดีต จะเคยเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ในม่านเหล็กของอดีตสหภาพโซเวียต แต่ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โรมาเนียเลือกใกล้ชิดตะวันตกมากยิ่งกว่ารัสเซียจนแทบจะกลาย เป็นเนื้อเดียว นับตั้งแต่เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรทางทหารอย่างนาโต้ในปี 2547 และอีกสามปีต่อมาก็เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป(อียู)

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...