นอกเหนือจากมหกรรมกีฬาโอลิมปิคและฟุตบอลโลกแล้ว
ว่ากันว่า รายการแข่งรถเฟอร์มูล่าวันหรือ F1 ถือเป็นรายการที่ประเทศต่างๆทั่วโลกปรารถนาใฝ่ฝันที่จะร่วมเป็นหนึ่งในสนามเซอร์กิต
มากที่สุดก็ว่าได้
F1
เป็นรายการที่มีผู้ชมทั่วโลกกว่า
500 ล้านคนซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงมากๆ สำหรับเอเชียแล้ว F1
เป็นเมกะสปอร์ตที่มีเสน่ห์ดึงดูดให้หลงใหลมากที่สุด
ทำให้ภาพพจน์ของประเทศดู “เซ๊กซี่” ยิ่งขึ้น และมีพลังดึงดูดสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
Formular One - ของแท้มีเพียงแค่สูตรเดียว |
เสน่ห์ของเอฟวัน - ความมันส์ที่รอลุ้น |
ณ
เวลานี้ ฝันของคนไทยกำลังใกล้จะเป็นจริง เมื่อการกีฬาแห่งประเทศไทย(กกท.) ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า
ประเทศไทยกำลังจะมีชื่อปรากฏบนแผนที่ F1 ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า
การพิจารณาตัวอย่างของประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์รวมทั้งประเทศอื่นๆ
น่าจะเป็นแนวทางและให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยไม่น้อย
สำหรับการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพรายการ
F1
มาเลเซียสร้างประวัติศาสตร์เป็นประเทศแรกในอาเซียนที่จัดการแข่งขัน
F1 ในปี 2542
และถือเป็นประเทศที่
2 ในเอเชียต่อจากญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่แห่งอุตสาหกรรมรถยนต์ เรียกว่าล้ำหน้าประเทศยักษ์ใหญ่อื่นๆในเอเชียอย่างจีน เกาหลีใต้ อินเดีย
รวมทั้งสิงคโปร์และรัสเซีย นอกจากนี้
มาเลเซียก็ได้ชื่อว่าเป็นประเทศมุสลิมประเทศแรกที่จัดรายการแข่งขันความเร็ว
F1 เปิดทางให้ประเทศมุสลิมอื่นๆอย่างบาห์เรน
ตุรกี และสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์เจริญรอยตามในเวลาต่อมา
ความสำเร็จของมาเลเซียดังกล่าวยากจะเกิดขึ้นได้
หากไม่ใช่เป็นเพราะวิสัยทัศน์และแรงสนับสนุนอย่างเต็มสูบของอดีตนายกรัฐมนตรีดร.มหาเดร์
โมฮัมหมัด ผู้วางวิสัยทัศน์ “2020” ให้ประเทศก้าวสู่ความเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี
2563
ภายใต้วิสัยทัศน์ดังกล่าว
ดร.มหาเดร์ ต้องการสร้างความทันสมัยให้แก่ประเทศเพื่อพิสูจน์ให้โลกเห็นว่า
มาเลเซียยอดเยี่ยมในหลายๆด้านเทียบเท่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ และปลูกฝังความคิดตามแนว
นโยบายหรือม๊อตโต “มาเลเซียทำได้”
ตึกแฝดตั้งสูงตระง่านเสียดฟ้า |
ภายใต้วิสัยทัศน์และความทะเยอทะยานของดร.มหาเดห์ มาเลเซียสร้างตึกแฝดปิโตรนาสที่สูงที่สุดในโลก สร้างสนามบินกัวลาลัมเปอร์ขนาดใหญ่
สร้างสะพานปีนังขนาดยาวติดอันดับ
สร้างเมืองราชการที่มีพื้นที่กว้างขวาง สร้างแบรนด์รถยนต์ประจำชาติ รวมทั้งผลักดันให้คนมาเลเซียเป็นชาติแรกในอาเซียนที่พิชิตยอดเขาเอฟเวอเรสต์
ด้วยสายตาที่กว้างไกล
ดร.มหาเดห์มองเห็นศักยภาพของการแข่งขัน F1
และเชื่อว่า
F1 จะทำให้โลกเห็นศักยภาพของมาเลเซียจริงๆ
ด้วยเหตุนี้
จึงออกแรงผลักแรงดันจนทำให้มาเลเซียจัดแข่ง F1 ตั้งแต่ปี 2542
ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทำให้คนมาเลเซียมีความมั่นใจและรู้สึกภูมิใจในความสำเร็จหลายๆด้าน
ห่างออกไปเพียงแค่
300 กิโลเมตรคือที่ตั้งของประเทศสิงคโปร์ คู่รักคู่แค้นแลคู่แข่งตลอดกาลของมาเลเซีย
สิงคโปร์เกาะเล็กๆที่เต็มไปด้วยความมั่งคั่งทั้งโภคทรัพท์และไอเดีย
ถึงแม้จะเปิดตัวหลังมาเลเซียกว่า
9 ปี แต่สิงคโปร์เซอร์กิตกลับมีเสน่ห์มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นกว่ามาเลเซียเซอร์กิตชนิดที่ว่าผู้นำมาเลเซียต้องอิจฉา
เล่ากันว่า ในการเสนอตัวเพื่อขอจัด
F-1 นั้น
ทีมงานของสิงคโปร์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอดีตนายกรัฐมนตรีลีกวนยูอย่างเต็มที่ ไม่ได้มีแนวคิดเรื่องการจัดการแข่งขันในช่วงเวลากลางคืนเลย
เพียงแต่เสนอขอจัดแบบ street circuits หรือบนถนนในเมืองเหมือนเช่นสนามโมนาโก
ถนนที่ถูกปรับให้เป็นสนามแข่ง |
เสน่ห์ของไนซ์เรซที่ต้องแข่งขันในยามค่ำคืน |
แต่เหมือนโชคช่วย เมื่อบอสใหญ่ของ F1
คือ
เบอร์นี
เอ็คเคิลสโตนจุดประกายและเสนอให้สิงคโปร์จัดแข่งขันในช่วงเวลากลางคืน
ด้วยเหตุผลทางธุรกิจเป็นสำคัญ
เนื่องจากฐานของผู้ชมรายการนี้ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป
หากจัดแข่งขันในช่วงเวลากลางคืนในสิงคโปร์ก็จะตรงกับช่วงบ่ายๆในยุโรปที่ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด
ต้องยอมรับว่า รายการ
F1 ที่สิงคโปร์นั้นถือว่าโดดเด่นมากเป็นพิเศษ
หนึ่ง ถือเป็นรายการแรก(และเพียงรายการเดียว)ในประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน
F1 ที่จัดแข่งขันในเวลากลางคืน
สอง ถือเป็นการแข่งขันบนท้องถนนสนามแรกในเอเชีย และ สาม สิงคโปร์เซอร์กิตเป็นสนาม
F1 เพียงแห่งเดียวในเอเชียที่ใช้ระบบขับทวนเข็มนาฬิกา
ซึ่งถือเป็นงานยากแต่ท้าทายสำหรับนักขับ
ตั้งแต่แรกเริ่ม
สิงคโปร์วางตำแหน่งให้เป็น “โมนาโกแห่งเอเซีย”
การจัดการแข่งขันในเวลากลาง คืนของสิงคโปร์
พูดได้ว่าสมบูรณ์ลงตัวมากๆสำหรับทั้งนักขับ ผู้ชมขอบสนามและผู้ดูทางบ้าน
ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นสนามที่มีเสน่ห์มากๆ และเป็นที่ชื่นชอบของบรรดานักขับ
เพราะถือเป็นความท้าทายที่ต้องแข่งกลางคืน (ถึงแม้จะมีไฟที่สว่างจ้าเหมือนเช่นกลางวันก็ตาม)
เสน่ห์ของสนามโมนาโก - ความท้าทายที่นักขับทุกคนใฝ่ฝัน |
ถึงแม้ว่าสิงคโปร์จะเริ่มต้นช้ากว่ามาเลเซียเกือบหนึ่งทศวรรษ
แต่ปัจจุบันและอนาคตของสิงคโปร์เซอร์กิตกลับสดใสยิ่งกว่า ว่ากันว่า
โอกาสที่มาเลเซียจะได้รับการต่อสัญญาและมีโอกาสจัดแข่ง F1
หลังปี 2558
มีน้อยมากถึงแม้ดร.มหาเดห์จะออกโรงผลักดันด้วยตนเองก็ตาม ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า สนามเซปังเซอร์กิตที่ใกล้สนามบินเริ่มหมดมนต์ขลัง
นอกจากนี้ การได้รับเลือกให้เป็นสังเวียนประลองความเร็วติดต่อ กันมายาวนานถึง 16
ปีก็นับว่านานเกินเพียงพอแล้ว กอปรกับคนมาเลเซียเริ่มให้ความสนใจรายการนี้น้อยลงๆ อนาคตของมาเลเซียเซอร์กิตจึงอยู่ในช่วงขาลงที่คนมาเลเซียต้องทำใจรับสภาพ
แต่ในขณะที่สิงคโปร์มีโอกาสสูงมากที่จะได้ต่อสัญญาภายหลังปี
2560 ตราบเท่าที่ไม่มีคู่แข่งที่มีจุดเด่นจุดขายในระดับระนาบเดียวกัน
นอกจากนี้
สิงคโปร์(จะ)เป็นแหล่งระดมทุน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ของบริษัท CVC
Capital Partners ผู้ถือหุ้นใหญ่ในฟอร์มูล่าวัน
ก็ยิ่งทำให้โอกาสของสิงคโปร์ในระยะยาวมีมากขึ้นตามไปด้วย
ในกรณีของประเทศไทยนั้น
สิ่งแรกที่ควรต้องกล่าวถึงก็คือ
ประเทศไทยจะมีโอกาสได้รับเลือกให้เป็นสนาม F1 ในปี 2558 ตามที่ กกท.ระบุไว้หรือไม่?
โดยข้อเท็จจริงแล้ว
ต้องยอมรับว่า มีโอกาสเป็นไปได้น้อยที่จะเห็นมาเลเซีย สิงคโปร์และไทยถูกบรรจุอยู่ในตารางการแข่งขันประจำปี
2558 พร้อมๆกันทั้ง 3 ประเทศ เพราะอาเซียนเล็กเกินกว่าที่จะมี 3 เซอร์กิตในปีเดียวกัน
แตกต่างจากเอเชียตะวันออก เนื่องจากญี่ปุ่น จีนและเกาหลีใต้ล้วนแต่เป็นประเทศใหญ่ที่มีศักยภาพสูงกว่ามาก
ด้วยเหตุนี้ จึงมีโอกาสเป็นไปได้ว่า
ประเทศไทยจะได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในสนามแข่งในปี 2559
หลังจากที่หมดยุคของมาเลเซียแล้ว
ปัญหาต่อมาก็คือว่า
ข้อเสนอของฝ่ายไทยนั้น ถือว่า unique หรือมีคุณลักษณะพิเศษที่โดดเด่นแล้วหรือยัง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเรายึดแนวทางจัดการแข่งขันแบบแบบ city
race หรือบนถนนในเมืองแล้ว
เรามีเสน่ห์ความโดดเด่นเทียบเท่าโมนาโกหรือสิงคโปร์หรือไม่
ความฝันของเอฟวันบนเส้นทางราชดำเนิน - เป็นได้เพียงแค่ขับโชว์ |
แน่นอนที่สุดว่า
หากเส้นทางรอบเกาะรัตนโกสินทร์ได้รับเลือกให้เป็นสนามแข่ง F1
จริง
ผู้ชมทั่วโลกก็จะเห็นภาพวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ไทย
โดดเด่นยิ่งกว่าสถาปัตย
กรรมยุคใหม่บริเวณอ่าวมารีน่าของสิงคโปร์เป็นไหนๆ
แต่ในมุมมองของนักขับแล้ว
เส้นทางรอบเกาะรัตนโกสินทร์อาจจะไม่ได้มีลักษณะที่พิเศษมากๆหรือแตกต่างจากโมนาโกและสิงคโปร์จนเรียกว่าเป็นความท้าทายก็ได้
ณ เวลานี้
ดูเหมือนว่าโอกาสความเป็นไปได้ของเส้นทางรอบเกาะรัตนโกสินทร์จะลดน้อยลงตาม ลำดับ
เนื่องจากเสียงคัดค้านที่ดังขึ้นของผู้อยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว
มิพักต้องพูดถึงตัวเลือกที่สองที่สามอย่างบริเวณศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะและเมืองทองธานี
ที่หาความโดดเด่นหรือเสน่ห์ได้ยาก
สิ่งที่ทางกกท.และรัฐบาลรวมทั้งภาคเอกชนจะต้องพิถีพิถันมากเป็นพิเศษก็คือ
การพิจารณาเลือกเส้นทางที่มีลักษณะ unique หรือโดดเด่นแตกต่างจากทุกๆสนามเซอร์กิตทั่วโลก
ต้องถูกใจทั้งในมุมมองของนักขับและผู้ชมข้างสนาม และต้องเป็นสนามที่มีคุณสมบัติ 3
เอสครบถ้วนสำหรับนักขับ นั่นคือ ความเร็ว (speed) ความชำนาญ (skill) และความปลอดภัย (safety)
ข้อเสนอหนึ่งที่จะทำให้ไทยแลนด์กรังด์ปรีซ์
มีเอกลักษณ์พิเศษที่เรียกว่าท้าทายสำหรับบรรดานักขับนักแข่งชั้นเซียนก็คือ
การพิจารณาเส้นทางบริเวณ(หน้า)สนามบินสุวรรณภูมิ ด้วยเหตุผลหลายๆประการ
หนึ่ง
จุดเด่นหนึ่งของสนามสุวรรณภูมิก็คือทางยกระดับ(ระยะสั้นๆ)
หากสามารถปรับแต่งให้เข้ากับมาตรฐานเซอร์กิต F1 แล้ว
ก็จะทำให้สุวรรณภูมิเซอร์กิตมีความโดดเด่นมากๆ
เพราะจะเป็นสนามแรกและสนามเดียวในโลกF1 ที่วิ่งบนทางด่วนหรือทางยกระดับ
เรียกว่าเป็นการสร้างจุดขายหรือเอกลักษณ์ของสนามสุวรรณภุมิ เหมือนเช่นการขับลอดอุโมงค์ความยาว
670 เมตรซึ่งถือเป็นไฮไลต์ของโมนาโกกรังปรีซ์
หรือการขับแข่งบนเส้นทางตรงที่ยาวมากๆและมีลักษณะเป็นเนินเขาของสนามเดอ
สปา-ฟรองโกชองในเบลเยี่ยม
ถึงแม้ว่า
ทั้งสองเซอร์กิตจะได้ชื่อว่าอันตรายมากๆเมื่อเทียบกับสนามอื่นๆทั่วโลก
แต่เป็นสนามที่มีเสน่ห์และนักขับชื่นชอบ เพราะเต็มไปด้วยความท้าทาย เป็นสนามสร้างเซียน
เฉพาะนักขับที่เก่งจริงๆจึงจะสามารถชนะได้ ว่ากันในทางเทคนิคแล้ว
การประยุกต์ใช้ทางยกระดับเป็นสนามแข่ง ถือว่ามีอันตราย(ต่อนักขับ)
น้อยกว่าทั้งสองสนามหากมีการพิจารณาออกแบบอย่างพิถีพิถันที่สุด
เพราะฉะนั้นแล้ว
จะทำอย่างไรให้สุวรรณภูมิเซอร์กิตเป็นความฝันความท้าทายสำหรับนักขับเช่น เดียวกับสนามโมนาโก ทำให้สุวรรณภูมิเซอร์กิตเป็นสนามที่มีครบทุกอย่างและมีในสิ่งที่สนามอื่นๆ
ยังไม่มี นับตั้งแต่การแข่งขันกลางคืน การขับทวนเข็มนาฬิกา
ผ่านทางยกระดับ
ทางแคบๆ ทางเลี้ยวหักศอก 90 องศารวมทั้งการสร้างอุโมงค์เพิ่มเติมก็สามารถทำได้
เพื่อทำให้สนามสุวรรณภูมิมีลักษณะ unique จริงๆ
ทั้งนี้
การลงทุนปรับเพิ่มสนามแข่งสุวรรณภูมินี้ถือว่ามีความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ
เพราะสามารถเปิดใช้ได้ตลอดทั้งปีในช่วงเวลาอื่นๆนอกตารางการแข่งขัน
และจะเป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้กับสนามบินสุวรรณภูมิไปในตัวด้วยฉากหลังของสุวรรณภูมิเซอร์กิต |
สุวรรณภูมิเซอร์กิตจากมุมไกลที่มีแบ๊คกราวน์สวยเด่น |
สอง
นอกเหนือจากเส้นทางรอบเกาะรัตนโกสินท์แล้ว สนามสุวรรณภูมิน่าจะมีเสน่ห์มากกว่าตัว เลือกอื่นๆ
ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด บริเวณสนามบินมีพื้นที่กว้างขวางพอที่จะปรับสภาพให้เป็นเซอร์กิตชั่วคราวสำหรับ
F1 ได้ ซึ่งไม่มีปัญหาเรื่องเสียงอย่างแน่นอน ในขณะเดียวกัน ก็ควรจะจัดงานมอเตอร์โชว์ที่ไบเทคบางนา(ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากสนามบิน)
ให้สอดคล้องเป็นธีมเดียวกับ F1 เพื่อโปรโมตเทคโนโลยี่ยานยนต์ที่ล้ำสมัยที่สุด
ตอกย้ำความเป็นดีทรอยต์แห่งเอเชีย หรือศูนย์กลางแห่งอุตสาหกรรมรถยนต์ด้วย
นอกจากนี้
ด้วยศักยภาพของแอร์พอร์ตลิงค์ ทำให้การคมนาคมขนส่งระหว่างใจกลางมหานครและสนามแข่งสะดวกมากๆ
รวมทั้งจุดขายทางวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยวและบรรยากาศยามค่ำคืนที่ไม่เคยหลับใหลของมหานครกรุงเทพฯ
(ที่จังหวัดอื่นๆไม่มี) ค่าครองชีพที่ถูกกว่าเมืองที่จัด F1
ในประเทศอื่นๆ
ย่อมเป็นจุดเด่นจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวผู้ชื่นชม F1
ได้เป็นจำนวนหลักแสน
(ตลอดช่วงระยะเวลา 1-2 เดือน) โดยเฉพาะนักธุรกิจระดับโลกที่จะถือโอกาสนัดมาพบปะเจรจาบรรลุดีลต่างๆในเทศกาลเอฟวันบันลือโลกนี้
ทั้งนี้ การปรับเส้นทางยกระดับและเส้นทางอื่นๆบริเวณด้านหน้าของสนามบินเพื่อใช้เป็นสนาม
แข่งขัน (ชั่วคราว)นั้น
ไม่น่าจะมีผลกระทบหรือขัดต่อกฏเกณฑ์ขององค์กรการบินระหว่างประเทศ เนื่อง จากเป็นการปิดเฉพาะเส้นทางบางส่วนเท่านั้น
การเดินทางไปสนามบินยังสามารถทำได้ตามปกติทั้งในเส้น ทางรถยนต์และแอร์พอร์ตลิ้งค์
กล่าวได้ว่า
การได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสนาม F1 ย่อมมีคุณค่ามีประโยชน์อย่างแน่นอนทั้งในทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
ภาพพจน์ของประเทศตลอดจนผลทางจิตวิทยาที่มีต่อคนในประเทศ
โอกาสของประเทศไทยได้มาถึงแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ณ เวลานี้ ทีม Red Bull ที่มีเซบาสเตียน เวทเทลแชมป์โลก 3 สมัยอยู่ในสังกัด
ถือเป็น “ทุนแบรนด์” ที่สามารถสร้างความได้เปรียบให้แก่ประเทศไทย
อย่างชนิดที่มาเลเซียและสิงคโปร์ต้องอิจฉา
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น