คนไทยมีความเชื่อและยอมรับต่อพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ
ที่สามารถส่งผลดีหรือผลร้ายต่อชีวิตของคนหนึ่งๆได้อย่างน่าอัศจรรย์
ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าหรือพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริง
แต่คนไทยก็ยอมรับการดำรงอยู่ของความเชื่อหนึ่งๆ และให้ความเคารพเกรงกลัว
บางคนยอมรับในเรื่องอิทธิพลและการดำรงอยู่ของความเชื่ออย่างมากจนถูกมองว่างมงายเกินเหตุ
แต่ในขณะเดียวกัน
ก็เป็นเรื่องยากที่ใครสักคนหนึ่งจะเป็นอิสระจากอิทธิพลของความเชื่อได้อย่างสิ้นเชิง
โดยเฉพาะการปรามอยู่ในทีสำหรับใครก็ตามที่ปฏิเสธการดำรงอยู่ของความเชื่อด้วยคำเตือนว่า
“ไม่เชื่ออย่าลบหลู่”
ด้วยความเชื่อที่มีต่อสิ่งหนึ่งๆ
อย่างไม่มีข้อสงสัย จนถึงขั้นเลื่อมใสและเห็นดีเห็นงาม
จึงทำให้เกิดพฤติกรรมต่างๆตามมา เพื่อสนองตอบต่อความเชื่อนั้นๆ
ด้วยเหตุนี้
เราจึงเห็นผู้นำในสังคมไทยแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับการดำรงอยู่ของความเชื่อหนึ่งๆอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะความเชื่อที่เกี่ยวกับฤกษ์ยามและตัวเลข รวมถึงเรื่องเคล็ดต่างๆ
ผู้นำแต่ละคนจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมและจำเป็นเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง
เพื่อสร้างเสริมกำลังใจ และขอพรให้ประสบความสำเร็จความสมหวังในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งล่าสุดเมื่อวันที่
3 มีนาคมที่ผ่านมา เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนที่สะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงนี้ พฤติกรรมหลายๆประการของทั้งม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
บริพัตรและพล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญสะท้อนให้เห็นถึงข้อเท็จจริงนี้อย่างชัดเจนตลอดช่วงระยะเวลาของการเลือกตั้งครั้งนี้
ถึงแม้ว่าจะร่ำเรียนศึกษาในต่างประเทศตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงปริญญาโทนานกว่า
15 ปี แต่หม่อมสุขุมพันธุ์ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำคนหนึ่งที่เชื่อถือในเรื่องของโชคลางและสิ่งศักดิ์สิทธิค่อนข้างมาก
และมีพฤติกรรมที่สะท้อนถึงเรื่องความเชื่อที่โดดเด่นมาก (เมื่อเทียบกับผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย)
รอยยิ้มกับหมายเลข 16 ที่ไม่ได้ปรารถนา? |
จะเห็นได้ว่า ก่อนถึงเวลาจับสลากเลือกหมายเลขผู้สมัคร หม่อมสุขุมพันธุ์ไปสักการะพระพุทธรูปประจำศาลาว่าการ กทม. เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัย หลังจากนั้น เมื่อจับสลากได้หมายเลขแล้ว ก็เดินทางต่อไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ศาลหลักเมืองและพระบรมรูปทรงม้า เพื่อทำการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคล
ถึง
แม้ว่าจะผิดหวังที่จับฉลากได้หมายเลข
16 เพราะเชื่อและหวังจะได้หมายเลข 2 ซึ่งถือเป็นเลขนำโชคอีกครั้งมากกว่า
เพราะเคยประสบประสบความสำเร็จได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าสมัยแรกเมื่อปี
2552
เดินสายสักกาะระไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ |
แต่เมื่ออดวงชะตากำหนดให้ได้หมายเลข 16
ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
หม่อมสุขุมพันธุ์ก็ยังสามารถหาเหตุผลเพื่อสร้างเสริมกำลังใจ ด้วยการอ้างอิงว่า
หมายเลข 16 เป็นหมายเลขที่ถูกโฉลกเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะมีฐานะเป็นผู้ว่ากทม.คนที่
16 พอดิบพอดีหากชนะการเลือกตั้งครั้งนี้
ไม่เพียงแต่เท่านั้น หม่อมสุขุมพันธุ์ก็ยังถือฤกษ์เวลา 8.16
เดินทางไปถึงคูหาเลือกตั้งที่โรงเรียนศรีอยุธยาเพื่อเอาชัย แต่เมื่อกำลังจะกาบัตร ก็ให้เกิดปัญหาบังเอิญปากกาภายในคูหาเขียนไม่ติด
จนหม่อมสุขุมพันธุ์ต้องใช้ปากกาของตนเองมากาบัตรลงคะแนนแทน ด้วยสีหน้าไม่ค่อยสู้ดีเพราะหวั่นว่าจะเป็นลางไม่ดี แน่นอนที่สุดว่า ณ วินาทีนั้น เชื่อได้ว่า
หม่อมสุขุมพันธุ์เริ่มหวั่นวิตกกับความเชื่อบางประการที่อาจจะไม่ส่งผลดีต่อตัวเอง
ทั้งนี้ ก่อนจะเดินทางไปยังคูหาเลือกตั้งตามฤกษ์เวลาดังกล่าว
หม่อมสุขุมพันธุ์ก็ได้พยายามใช้ทุกโอกาสเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลและแน่นอนที่สุดเพื่อความสมหวังสมปรารถนา หม่อมสุขุมพันธุ์เดินทางไปสักการะเสาพ่อฟ้าแม่ดิน
บริเวณด้านหน้าทางเข้าโบสถ์ณ วัดสุทัศน์เทพวรารามวรมหาราชวิหาร พร้อมทั้งเข้าไปกราบไหว้องค์พระศรีศากยมุนี
พระประธานภายในพระวิหารวัดสุทัศน์ฯ ก่อนออกมาไหว้พระบรมราชาอนุสาวรีย์รัชการที่ 8
ที่อยู่ในวัด
เดินทางถึงคูหาเลือกตั้งเวลา 8.16 ในชุดเสื้อตัวเก่งนำโชค |
ยิ่งไปกว่านั้น
หม่อมสุขุมพันธุ์ก็ยังถือโอกาสวันเลือกตั้งนี้เอาฤกษ์เอาชัยให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และทำในเกือบทุกรูปแบบ
จะเห็นได้ว่า ในเช้าวันเลือกตั้งนี้
หม่อมสุขุมพันธุ์เลือกสวมเสื้อโปโลลายขวางสีกรมท่า แดง เขียวเป็นเคล็ด
เพราะเชื่อว่าเป็นเสื้อตัวเก่งนำโชคนำชัย เพราะหม่อมสุขุมพันธุ์จะประสบชัยชนะในทุกการเลือกตั้งที่ใส่เสื้อตัวเก่งตัวนี้
นับตั้งแต่ปี 2539 ถึงแม้ว่าจะเป็นเสื้อที่เก่าเก็บกว่า 16
ปีจนสีดูซีดไประดับหนึ่งก็ตาม
ภายหลังหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลงและทราบผลอย่างไม่เป็นทางการ
หม่อมสุขุมพันธุ์ก็ได้เดินทางไปยังที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ และทันที่ที่ไปถึง
หม่อมสุขุมพันธุ์ตรงเข้าไปคุกเข่า พนมมือและหลับตาเพื่อสักการะ(และขอบคุณ)พระแม่ธรณีบีบมวยผม
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำพรรคที่(หม่อมสุขุมพันธุ์เชื่อว่า)เป็นกำลังใจทำให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในครั้งนี้
ในวันรุ่งขึ้น
ก่อนที่จะเดินทางไปถวายพระพรและนำแจกันดอกไม้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ ศาลาศิริราชร้อยปี โรงพยาบาลศิริราช
หม่อมสุขุมพันธุ์ก็ได้ไปสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร
อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ทางด้านของผู้สมัครพรรคเพื่อไทยอย่างพล.ต.อ.พงศพัศก็มีพฤติกรรมที่ไม่แตกต่างจากผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์มากนัก
ดีใจเป็นที่สุดกับโชคหมายเลข 9 |
การเริ่มต้นของพล.ต.อ.พงศพัศต้องถือว่าดวงดีและโชคดีกว่าหม่อมสุขุมพันธุ์มาก
ทั้งๆที่เป็นผู้จับสลากคนสุดท้าย แต่ก็จับได้หมายเลข 9 ซึ่งถือเป็นหมายเลขที่สังคมไทยเชื่อว่าเป็นมงคลที่สุด
โชคดีของพล.ต.อ.พงศพัศลำดับต่อมาที่อาจจะเรียกว่าชะตาลิขิตหรือความบังเอิญก็ได้ เพราะไม่เพียงแต่เกิดวันที่ 9 ธันวาคมเท่านั้น
แต่ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยรายนี้พักอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 19 และอยู่ในลำดับที่ 19
ของบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งประจำหน่วยเลือกตั้งภายในกองบัญชาการศึกษาแขวงลาดยาว
เขตจตุจักร
สำหรับผู้สนับสนุนพล.ต.อ.พงศพัศย่อมมีความเชื่อว่า
ความบังเอิญดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของชะตาลิขิต แต่ภายใต้ทฤษฏีสมคบคิด
ผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ย่อมมีเหตุผลที่ยากจะเห็นคล้อยตามได้ และตั้งข้อสงสัยว่า
เป็นเรื่องความบังเอิญหรือความตั้งใจที่ทำให้ได้ลำดับที่ 19
ในบัญชีรายชื่อเพื่อให้ถูกโฉลก(เพื่อผลในชัยชนะ?) โดยลูกสาวและภรรยาอยู่ในลำดับที่ 17 และ 18
ตามลำดับ
งวดวันที่ 16 กพ. รวยอย่างเดียวกัยเลขท้าย 909 ถึง 16 ใบ |
ความบังเอิญต่อมาก็คือผลการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดกลางเดือนกุมภาพันธ์
ซึ่งปรากฏผลเลขท้าย 2 ตัวหมายเลข
09 และเลขท้าย 3 ตัวหมายเลข 109 จนทำให้เกิดกระแสความเป็นไปได้ของทฤษฏีสมคบคิดไปทั่วแผ่นดิน
เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องยากเกินกว่าที่จะเกิดความบังเอิญเช่นนี้ได้ เพียง 2
อาทิตย์ก่อนถึงวันเลือกตั้ง
แต่สิ่งอื่นๆที่อยู่นอกเหนือจากความบังเอิญหรือชะตาลิขิต
ก็เป็นสิ่งที่พล.ต.อ.พงศพัศสามารถกำหนดและแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นว่ามีความเชื่อในเรื่องของโชคลางและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับหมายเลข 9 ในทุกโอกาสที่เอื้ออำนวยเพื่อตอกย้ำลัคกี้นัมเบอร์นี้
ครั้งหนึ่ง
พล.ต.อ.พงศพัศตั้งใจลงมือทำขนมถ้วยจำนวน 9 ถ้วย รวมทั้ง
ร่วมแต่งหน้าเค๊กเป็นหมายเลข 9
ครั้งหนึ่ง ในช่วงเดินทางลงพื้นที่หาเสียงที่ ตลาดอมรพันธ์ 9 พล.ต.อ.พงศพัศก็ถือโอกาสนี้
ทอดปาท่องโก๋เป็นรูปหมายเลข 9 และหั่นซี่โครงหมู
9 ชิ้นอย่างตั้งใจ
เตรียมปาท่องโก๋หมายเลข 9 |
ช่างหมูได้ 9 ขีด |
ครั้งหนึ่ง ในระหว่างการเดินหาเสียงบริเวณตลาดกลางดินแดง
ซอยประชาสงเคราะห์ 9 พล.ต.อ.พงศพัศได้เจตนาอย่างชัดเจน โดยได้นำหมูสดที่แผงขายหมูขึ้นชั่งกิโลได้
9 ขีด (พอดิบพอดีอย่างบังเอิญ?)โชว์สื่อมวลชน
ในขณะเดียวกัน บรรดาพ่อค้าแม่ค้าผู้สนับสนุนต่างก็ช่วยกันแสดงออกเพื่อเป็นการให้ฤกษ์ให้ชัยแก่ผู้สมัครหมายเลข
9 ท่านนี้ ไม่ว่าจะเป็นการ ลดราคาข้าวปลาอาหารเหลือเพียง 9 บาท
แกงส้มถุงละ 9 บาท มะละกอใบละ 9 บาท
และหมูปิ้ง 2 ไม้ 9 บาท
ในเช้าวันเลือกตั้ง
พล.ต.อ.พงศพัศผู้มีดีกรีปริญญาทางด้านอาชญาวิทยาจากสหรัฐฯก็เดินทางไปทำบุญถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ที่วัดศรีมหาธาตุฯบางเขนเป็นศิริมงคลก่อนที่จะเดินทางไปถึงคูหาเลือกตั้ง
ณ เวลา 9.39 ซึ่งถือเป็นเวลาฤกษ์งามยามดีตามความเชื่อ
พล.ต.อ.พงศพัศและผู้สนับสนุนตระหนักดีว่า ด้วยคะแนนฐานกว่า 9 แสนเสียงที่หม่อมสุขุมพันธุ์ได้รับเลือกเมื่อสี่ปีที่แล้วนั้น
ย่อมทำให้ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยเสียเปรียบค่อนข้างมากถึงมาก
แต่ถึงที่สุดแล้ว ถึงแม้ว่าจะได้รับคะแนนเสียงกว่า 1,077,899 คะแนน
และคะแนนเสียงก็ลงท้ายด้วยหมายเลข 9 ถึงสองตัว (ด้วยความบังเอิญจนทำให้เชื่อว่าถูกโฉลกกับหมายเลข
9 จริงๆ) ก็ยังไม่มีเพียงพอที่จะทำให้ได้รับเลือกเป็นผู้ว่ากทม.คนใหม่ได้ แบบเจ็บกระดองใจ
หากมองย้อนกลับไป ไม่มีใครสามารถคาดเดาได้ว่า
พล.ต.อ.พงศพัศจะโชคดีถึงที่สุดได้เป็นผู้ว่าฯกทม.หรือไม่
หากที่ประชุมพรรคเพื่อไทยมีมติเสนอชื่อพล.ต.อ.พงศพัศเป็นผู้สมัครในนามพรรคในวันที่
9 มกราคม (แทนที่จะเป็นวันที่ 8 มกราคม)
เพื่อตอกย้ำความบังเอิญหรือโชคชะตาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
"อดุยย์" ผบ.ตร.คนที่ 9 คนปัจจุบัน |
และถึงจะไม่ได้โชคดีจนถึงที่สุด แต่อย่างน้อย
เส้นทางในอาชีพตำรวจผู้พิทักษ์สันติราษฏร์ของพล.ต.อ.พงศพัศก็น่าจะแจ่มใสก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดได้
เพราะมีอายุราชการจนถึงปี 2559
แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้บัญชาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนที่ 9 ก็ตาม
.
ขอติงเพื่อความถูกต้อง ชื่อวัดสุทัศน์ฯ เขียนเต็มว่า วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร คำที่ ๒ พระบรมราชาอนุสาวรีย์ คำนี้ผิดหลักการสมาส ต้องใช้ว่า พระบรมราชานุสาวรีย์ และ คำสุดท้าย รัชการ ต้องสะกดว่า รัชกาล
ตอบลบเพื่อความถูกต้องและสมบูรณ์นะครับ ครูบ้านนอก