ที่สุดแล้ว, ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตรก็ชนะการเลือกตั้งได้เป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานครคนที่ 16 ด้วยเหตุปัจจัยหลายๆประการ
มีปัจจัยมูลเหตุมูลผล 4-5 ข้อที่อาจช่วยอธิบายว่า ทำไมม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตรจึงสามารถชนะเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากทม. เป็นสมัยที่่สองอย่างชนิดหักคีย์บอร์ดของเจ้าสำนักโพลล์ต่างๆ
สองผู้สมัครหลักสำหรับตำแหน่งผู้ว่าฯกรุงเทพฯ |
หนึ่ง ต้องยอมรับว่าปัจจัยด้านสถิติมีผลในระดับหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามได้ ในสหรัฐฯ การเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกๆครั้งมักจะนำเอาสถิติต่างๆมาเป็นองค์ประกอบเพื่อพิจารณาว่า ผู้สมัครคนไหนมีโอกาสชนะการเลือกตั้งมากกว่ากัน
คนอเมริกันเชื่อว่า ใครก็ตามที่ชนะการเลือกตั้งในรัฐโอไฮโอจะได้รับเลือกเป็นผู้นำประเทศ สถิตินี้ยืนยาวมากว่าเกือบ 6 ทศวรรษแล้ว
คนอเมริกันเชื่อว่า ไม่มีใครที่จะชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีได้ หากไม่สามารถชนะในรัฐที่เป็นฐานทางการเมืองของตัวเอง หรือเป็นรัฐที่ผู้สมัครคนนั้นๆเป็นวุฒิสมาชิกมาก่อน
เมื่อพิจารณาดูพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนกรุงเทพฯจะพบเห็นสถิติที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง นั่นคือ คนกรุงเทพฯมีพฤติกรรมเลือกผู้สมัครที่ไม่ได้สังกัดพรรครัฐบาล หรืออีกนัยหนึ่ง คนกรุงเทพฯอยากได้ผู้ว่าฯที่ไม่ได้อยู่พรรคเดียวกับพรรครัฐบาล หรือเป็นผู้สมัครที่ไม่ได้ใกล้ชิดหรือผูกพันกับพรรครัฐบาล
สอง โดยวัฒนธรรมของคนไทยแล้ว ไม่ค่อยยอมรับการดูถูกปรามาสถึงแม้จะเป็นความจริงก็ตาม จะเห็นได้ว่า การที่คุณพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในขณะนั้นเรียกขานเปรียบเปรยพลตรีจำลอง ศรีเมืองว่าเป็น "สินค้าแบกะดิน" เมื่อเทียบกับ "สินค้าห้าง" ของพรรค ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้มหาจำลองสร้างประวัติศาสตร์ชนะการเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากทม.ในปี 2528 อย่างพลิกความคาดหมาย
พลตรีจำลอง ศรีเมืองในวันที่เป็น "สินค้าแบกะดิน" |
เพราะฉะนั้นแล้ว คำพูดที่ว่า "ส่งเสาไฟฟ้าลงก็ชนะ" ของคนฝั่งพรรคเพื่อไทยสำหรับการเลือกตั้งในปี 2556 จึงกลายเป็นมุมเมอแรงย้อนกลับมาเล่นงานแบบ "ยิงเข้าประตูตัวเอง" อย่างไรอย่างนั้น เป็นคำพูดที่ปรามาสดูถูกคนในเมืองหลวงที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจังหวัดอื่นๆ
สาม ช่วงตลอดการหาเสียงกว่า 2 เดือนก่อนถึงวันเลือกตั้งในวันที่ 3 มีนาคม พรรรคปชป.พยายาม remind
หรือตอกย้ำเตือนให้คนกรุงเทพฯหวนนึกถึงภาพเก่าๆเมื่อวันที่เมืองหลวงของประเทศถูกเผา
มีการนำเสนอภาพ(ตัดต่อ)เพื่อเชื่อมโยงให้เห็น ย้ำเตือนอย่าให้อดีตตามมาหลอกหลอนคนกรุงได้อีก
ภาพ "เผาบ้านเผาเมือง" ที่ตัดต่อเพื่อผลทางการเมือง |
ก่อนหน้านี้ กลยุทธ์ตอนหาเสียงเลือกตั้งส.ส.ของปชป.คือการพยายามนำเสนอให้คนกรุงต้องเลือกว่า “(ถ้า) ไม่เลือกเรา เขามาแน่” แต่ในการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.ครั้งนี้
การเผาบ้านเผากรุงยังเป็นภาพในอดีตแห่งความทรงจำที่ยากจะลืมเลือนได้ในทันที การตอกย้ำเพื่อเชื่อมโยงเหตุการณ์การเผากรุงเมื่อสองสามปีก่อนไม่ได้ต้องการให้คนกรุงหวาดกลัวตามที่นักวิเคราะห์นักวิชาการรวมทั้งคุณพานทองแท้ ชินวัตรที่ระบุว่า คนกรุงจำเใจเลือกหม่อมสุขุมพันธุ์เพราะความกลัวเช่นว่านี้ แต่น่าจะมีเจตนาเพื่อปลุกต่อมอารมณ์เจ็บแค้นของคนกรุงเป็นสำคัญ
การเลือกหม่อมสุขุมพันธุ์ ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า จะไม่มีการเผาเมืองหลวงอีกในวันหน้า และถ้าหากคนกรุงกลัวจริงแล้วตามที่มีการวิเคราะห์กล่าวอ้างถึง ทำไมจึงไม่ปรากฏวาทกรรมทางสื่อรณรงค์เพื่อผลชนะทางการเมืองในทำนองว่า "ถ้าเลือกเราไม่มีเผา ถ้าเลือกเขามีเผาแน่" อะไรทำนองนี้
เพระการตอกย้ำและเผยแพร่วาทกรรม "การเผาเมือง" ที่ทำให้คนกรุงยังรู้สึกเจ็บแค้นไม่ลืมเลือนจนได้ผล ซึ่งปรากฏว่ากลยุทธ์ได้ผลอย่างมหาศาล เพราะผลการเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นว่า ในที่สุดคนกรุงก็ตัดสินใจ "เผาเสาไฟฟ้า" เป็นการลงโทษ(?)
ถ้าหากจะมีความกลัวอยู่ในใจ เชื่อว่า คนกรุงเทพฯน่าจะกลัวอยู่ 2 อย่าง และมีความพยายามรณรงค์อย่างเด่นชัดจนประสบผล
หนึ่ง กลัวว่าพรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทยจะครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จทั้งรัฐบาลและกรุงเทพฯ
สอง กลัวว่านายจตุพร พรหมพันธุ์จะร่วมทีมเป็นรองผู้ว่าฯหากผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง
การเลือกหม่อมสุขุมพันธุ์ ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่า จะไม่มีการเผาเมืองหลวงอีกในวันหน้า และถ้าหากคนกรุงกลัวจริงแล้วตามที่มีการวิเคราะห์กล่าวอ้างถึง ทำไมจึงไม่ปรากฏวาทกรรมทางสื่อรณรงค์เพื่อผลชนะทางการเมืองในทำนองว่า "ถ้าเลือกเราไม่มีเผา ถ้าเลือกเขามีเผาแน่" อะไรทำนองนี้
เพระการตอกย้ำและเผยแพร่วาทกรรม "การเผาเมือง" ที่ทำให้คนกรุงยังรู้สึกเจ็บแค้นไม่ลืมเลือนจนได้ผล ซึ่งปรากฏว่ากลยุทธ์ได้ผลอย่างมหาศาล เพราะผลการเลือกตั้งสะท้อนให้เห็นว่า ในที่สุดคนกรุงก็ตัดสินใจ "เผาเสาไฟฟ้า" เป็นการลงโทษ(?)
ถ้าหากจะมีความกลัวอยู่ในใจ เชื่อว่า คนกรุงเทพฯน่าจะกลัวอยู่ 2 อย่าง และมีความพยายามรณรงค์อย่างเด่นชัดจนประสบผล
หนึ่ง กลัวว่าพรรคการเมืองใหญ่อย่างพรรคเพื่อไทยจะครองประเทศอย่างเบ็ดเสร็จทั้งรัฐบาลและกรุงเทพฯ
สอง กลัวว่านายจตุพร พรหมพันธุ์จะร่วมทีมเป็นรองผู้ว่าฯหากผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง
ผู้อาวุโสแห่งปชป.ที่ยังมี "เสียง" เหลืออยู่ |
สี่ ท่าทีของผู้ใหญ่อาวุโสของพรรคปชป. อย่างคุณพิชัย รัตตกุลก็ต้องถือว่ามีส่วนสำคัญ(ทางอ้อม)ในการดึงคนรุ่นใหม่ให้เทคะแนนเสียงเลือกหม่อมสุขุมพันธุ์อย่างไม่น่าเชื่อ เรียกว่าเป็นกลยุทธที่ทางฝั่งพรรคเพื่อไทยคงคาดไม่ถึงเช่นกัน
ทั้งนี้ การที่คนรุ่นใหม่ตัดสินใจเลือกหม่อมสุขุมพันธุ์ อาจจะไม่ใช่เพราะศรัทธาหม่อมสุขุมพันธุ์โดยตรง แต่เพราะชื่นชอบคุณคุณอภิสิทธิ์มากกว่า เพราะคนรุ่นใหม่ในเมืองหลวงจำนวนมากชื่นชอบคุณอภิสิทธิ์เป็นทุนเดิม ความเห็นของคุณพิชัย(ที่โดยส่วนตัวแล้วก็ไม่ค่อยปลื้มกับบทบาทและภาวะผู้นำของคุณอภิสิทธิสักเท่าไหร่) และเรียกร้องให้คุณอภิสิทธิรับผิดชอบโดยการลาออกจากจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ปชป. หากหม่อมสุขุมพันธุ์พ่ายแพ้ จึงเป็นเสมือนกุศโลบายหนึ่งที่ฝั่งพรรคเพื่อไทยมองข้ามไป เพราะคนรุ่นใหม่เหล่านี้ ไม่ต้องการเห็นคุณอภิสิทธิต้องเจอสภาวะถูกกดดันให้ลาออก เพราะฉะนั้นจึงอาจจะเป็นไปได้ว่า สำหรับแฟนคลับของคุณอภิสิทธิ์แล้ว การช่วยกันเลือกหม่อมสุขุมพันธุ์คือการช่วยชีวิต(ทางการเมือง)ของคุณอภิสิทธิ์นั่นเอง
ทั้งนี้ การที่คนรุ่นใหม่ตัดสินใจเลือกหม่อมสุขุมพันธุ์ อาจจะไม่ใช่เพราะศรัทธาหม่อมสุขุมพันธุ์โดยตรง แต่เพราะชื่นชอบคุณคุณอภิสิทธิ์มากกว่า เพราะคนรุ่นใหม่ในเมืองหลวงจำนวนมากชื่นชอบคุณอภิสิทธิ์เป็นทุนเดิม ความเห็นของคุณพิชัย(ที่โดยส่วนตัวแล้วก็ไม่ค่อยปลื้มกับบทบาทและภาวะผู้นำของคุณอภิสิทธิสักเท่าไหร่) และเรียกร้องให้คุณอภิสิทธิรับผิดชอบโดยการลาออกจากจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค ปชป. หากหม่อมสุขุมพันธุ์พ่ายแพ้ จึงเป็นเสมือนกุศโลบายหนึ่งที่ฝั่งพรรคเพื่อไทยมองข้ามไป เพราะคนรุ่นใหม่เหล่านี้ ไม่ต้องการเห็นคุณอภิสิทธิต้องเจอสภาวะถูกกดดันให้ลาออก เพราะฉะนั้นจึงอาจจะเป็นไปได้ว่า สำหรับแฟนคลับของคุณอภิสิทธิ์แล้ว การช่วยกันเลือกหม่อมสุขุมพันธุ์คือการช่วยชีวิต(ทางการเมือง)ของคุณอภิสิทธิ์นั่นเอง
ห้า ในบรรดาผู้สมัครทั้งหมดปฏิเสธไม่ได้ว่า
หม่อมสุขุมพันธุ์แสดงออกซึ่งอารมณ์ความรู้สึกในฐานะมนุษย์ธรรมดาสามัญคนหนึ่งได้ชัดเจนมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเกือบสองเดือนกว่าที่ผ่านมา
หม่อมสุขุมพันธ์สร้างสถิติเป็นผู้นำที่หลั่งน้ำตาบ่อยครั้งที่สุดก็ว่าได้
ถึงแม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์โจมตีจากฝ่ายคู่แข่งทางการเมืองว่า
"เป็นผู้นำขี้งอแง" แต่ใครจะเชื่อว่า
การหลั่งน้ำตาแต่ละครั้งของหม่อมสุขุมพันธ์กลับได้รับผลดี ได้รับความเห็นใจและคะแนนเสียงเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
ในวันที่จำใจต้องลาออกจากตำแหน่ง (9 มกราคม)และไปรับทราบข้อกล่าวหาที่กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอในคดีการต่อสัญญาจ้างการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการขนส่งมวลชน น้ำตาหยดแรกของหม่อมสุขุมพันธ์ก็ปรากฏให้เห็นต่อสาธารณชน
น้ำตาหยดนี้เพื่อต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม(?) |
หม่อมสุขุมพันธ์พยายามสื่อให้เห็นว่า น้ำตาหยดนี้คือเครื่องมือหรืออาวุธที่มีไว้ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม(จากดีเอสไอ) พร้อมทั้งใช้น้ำตาเรียกร้องขอความเห็นใจและขอโอกาสกลับมารับใช้ชาวกรุงเทพฯอีกสมัย
ดูเหมือนว่า หม่อมสุขุมพันธ์จะรู้จักการเลือก "เล่น" กับน้ำตาได้อย่างน่าชื่นชมและเป็นประโยชน์ โดยไม่แยแสกับคำวิจารณ์กล่าวหาว่าเป็นผู้นำขี้งอแง ตราบเท่าทีน้ำตานั้นเรียกคะแนนเสียงโหวตได้ เหมือนเช่นผู้นำในต่างประเทศหลายๆคน โดยเฉพาะผู้นำสหรัฐฯอย่างบิลล์ คลินตัน จอร์จ บุชและบารัค โอบาม่า ที่รู้จัก "เล่น" กับน้ำตาและหลั่งน้ำตาได้อย่างถูกกาละเทศะ
ผู้ว่าฯงอแงที่คนกรุงเทพฯยังเลือก |
ในช่วงสถานการณ์ที่โพลล์เกือบทุกสำนักออกมาเป็นแนวทางเดียวกันหมดแบบฟันธงว่า หม่อมสุขุมพันธ์มีคะแนนเป็นรองพลตำรวจเอกพงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทยไม่น้อย ด้วยเหตุนี้ น้ำตาจึงถูกเลือกเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้ในช่วงโค้งสุดท้าย 2-3 วันก่อนถึงวันเลือกตั้ง
น้ำตาหยดนี้ชนะใจ "นก" ได้ทีเดียว 2 ตัว |
ในการแถลงข่าว ณ ที่ทำการพรรคปชป. เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ หม่อมสุขุมพันธ์ได้แถลงเปิดอกเปิดใจด้วยน้ำเสียงสั่นเครือและน้ำตาคลอเบ้าว่า
ถึงแม้ว่าจะมีข้อบกพร่องในระหว่างบริหารกทม. แต่สามารถตอบคำถามกับบรรพบุรุษว่าได้ทำงานเพื่อกทม.อย่างทุ่มเท เสียสละและสุจริต หม่อมสุขุมพันธ์ได้ถือโอกาสนี้ พรั่งพรูความรู้สึกในใจออกมาอย่างชนิดเพื่อหวังผลหวังคะแนนเสียงอย่างชัดเจนว่า
“ถ้าผมจะหยุดหายใจในวันนี้ชีวิตผมก็คุ้มค่าที่ได้ทำงานให้คนกทม. เพราะผมเป็นคน
กทม.
บรรพบุรุษของผมก็เป็นคนกทม. ได้ร่วมสร้างกทม.มาแล้วกว่า 200 ปี และผมก็รักกทม.แม้จะไป
เรียนที่ต่างประเทศ แต่วันที่ผมนั่งเครื่องบินมาถึงดอนเมืองเห็นกรุงเทพแล้วผมร้องไห้
ซึ่งวันนี้
ผมก็ดีใจที่ได้ทำงานเพื่อคน กทม.”
ด้วยโทนของคำพูดเช่นนี้ที่พรั่งพรูออกมาพร้อมน้ำตาย่อมสร้างความประทับใจให้กับคนกรุงเทพฯอย่างแน่นอน และเป็นการตอกย้ำว่า หม่อมสุขุมพันธ์คือผู้ที่เหมาะสมที่สุดทั้งสายเลือดและจิตวิญญาณสำหรับตำแหน่งผู้ว่าเมืองหลวงของประเทศ
นอกจากนี้ การกล่าวขอบคุณทั้งน้ำตาต่อพรรคปชป.ที่ให้โอกาสลงสมัครในนามพรรคครั้งที่ 2 ทั้งๆที่มีเสียงต่อต้านมากพอสมควร ก็น่าจะมีผลทำให้หม่อมสุขุมพันธ์ได้ใจสามารถหลอมใจคนในพรรคปชป.รณรงค์หาเสียงร่วมกันเป็นพลังหนึ่งเดียวจนได้รับชัยชนะ
เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวก็ว่าได้
วันต่อมา ในการปราศรัย
"รวมพลังคนรักกรุงเทพฯ เลือกเบอร์ 16" ที่สวนเบญจสิริ หม่อมสุขุมพันธ์ไม่อายที่จะหลั่งน้ำตาอีก(สัก)ครั้งต่อหน้าสาธารณชน เป็นการหลั่งน้ำตาของผู้นำที่เราไม่ค่อยเห็นกันบ่อยนักในสังคมการเมืองไทย ที่ยังคงเชื่อว่า ผู้นำจะต้องไม่ร้องไห้หลั่งน้ำตาให้ใครเห็น
น้ำตาในวันปราศรัย |
ไม่ว่าน้ำตาหลายๆหยดที่หลั่งออกมาจะเป็นกลกุบาย กลยุทธ์หรือเกิดจากความอัดอั้นตันใจที่หลั่งออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจโดยธรรมชาติจริงๆ แต่น้ำตาก็มีผลช่วยทำให้หม่อมสุขุมพันธ์มีเสน่ห์ที่แตกต่างจากพลตำรวจเอกพงศพัศ(ผู้ยืนยันว่าเป็นคนไม่มีน้ำตา) ไม่มากก็น้อย
ในต่างประเทศโดยเฉพาะในสหรัฐฯ การพิจารณาผู้นำคนหนึ่งๆนั้น ไ่ม่ได้พิจารณาดูเฉพาะภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำเพียงด้านเดียวเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญในมุมของความเป็นมนุษย์ ที่มีความรู้สึกเหมือนคนธรรมดาคนหนึ่งๆด้วย
ตัวอย่างล่าสุดของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่าอาจจะสามารถเทียบเคียงได้กับกรณีของหม่อมสุขุมพันธ์ได้ใกล้เีคียงที่สุด จะเห็นได้ว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ บารัก โอบาม่าได้ปราศรัยหาเสียงพร้อมกับหลั่งน้ำตาบนเวทีสุดท้ายต่อหน้าสาธารณชนกว่า 2 หมื่นคน ณ มลรัฐไอโอวาเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ก่อนที่จะคว้าชัยเป็นผู้นำประเทศอย่างขาดลอย
น้ำตาอาบแก้มของบารัก โอบาม่า |
ว่ากันว่า "น้ำตา" สามารถเชื่อมโยงผู้นำกับประชาชนได้เป็นอย่างดี และน้ำตาเป็นเครื่องบ่งบอกว่า สุดท้ายแล้ว ไม่มีความแตกต่างระหว่างคนที่เป็นผู้นำกับคนธรรมดาทั่วไป
ภายหลังจากชนะเลือกตั้งได้รับเลือกตั้งเป็นผู้นำอีกหนึ่งสมัย บารัก โอบาม่าก็กล่าวขอบคุณ(อย่างจริงใจ?)คนเมริกันผู้สนับสนุนทั้งน้ำตา เช่นเดียวกับผู้นำรัสเซียอย่างประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินที่หลั่งน้ำตากล่าวขอบคุณคนรัสเซียน อย่างชนิดที่ไม่มีใครคาดหวังมาก่อนว่าจะเห็นน้ำตาจากผู้นำที่มีบุคลิกเข้มแข็งเช่นนี้
น้ำตาอาบแก้มของวลาดิเมียร์ ปูติน |
น่าเสียดายว่า หม่อมสุขุมพันธ์พลาดโอกาสทองที่จะหลั่งน้ำตาขอบคุณเสียงสวรรค์ที่ช่วยสนับสนุนให้ชนะเลือกตั้งเหมือนอย่างเช่นผู้นำสหรัฐฯและรัสเซีย กลายเป็นว่า ผู้ว่าฯคนใหม่ไม่มีน้ำตาในวันที่ขอบคุณคนกรุงเทพฯ
แต่กลับกลายเป็นว่า นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรแถลงขอบคุณและยอมรับผลการเลือกตั้งร่วมกับพลตำรวจเอกพงศพัศด้วยน้ำเสียงสั่นเครือและมีน้ำตาซืม
เป็นการหลั่งน้ำตายอมรับความพ่ายแพ้โดยดุษฏี(?)
.
ประเด็นดีค่ะ แต่อาจารย์มองข้ามไปอีกจุดนึงที่เทคะแนนให้เบอร์ 16 นั่นคือกลยุทธ์การหาเสียงในช่วงสุดท้ายของพรรค ปชป.ที่รณรงค์ไมให้เลือกผู้สมัครอิสระ โดยบอกว่าเป็น "เสียงที่ตกน้ำ" ไม่เกิดประโยชน์ ส่งผลให้คนที่ไม่ชอบหม่อมสุขุมพันธ์แต่ไม่ชอบเพื่อไทย หันมาเทคะแนนให้
ตอบลบ