เป็นเรื่องแปลกหรือจะเรียกว่าเป็นความบังเอิญก็ได้
ที่หมายเลข "112" เข้ามาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างน่าสนใจ
เป็นความเกี่ยวข้องที่ต้องกังวลต้องเรียกว่าวิกฤติของชาติ
วิกฤติ 112 |
ย้อนหลังไปเมื่อ 119 ปีก่อน ชาติสยามของเรา ณ เวลานั้นกำลังเผชิญกับวิกฤติครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์นับ
ตั้งแต่ยุคสุโขทัยเป็นต้นมา เมื่อเกิดความขัดแย้งจนถึงขั้นนำไปสู่การเผชิญหน้าทางทหารระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
หนึ่งในมหาอำนาจทางยุโรปที่เพิ่งบอบช้ำจากการพ่ายแพ้ทางทหารอย่างน่าละอายเป็นที่สุดต่อกองทัพปรัสเซียซึ่งก็คือชนชาติเยอรมัน
ความขัดแย้งระหว่างกรุงเทพฯและปารีสในปี
พ.ศ.2436 เป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่ปี 2431 ในการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ถือเป็นวิกฤติ
"ภัยตะวันตก" ที่ร้ายแรงที่สุดในยุคสมัยรัตนโกสินทร์ก็ว่าได้
จนเรียกขานและรู้จักกันดีว่า "วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112"
ถึงที่สุดแล้ว "วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112"
ก็ลงเอยด้วยความจำใจจำยอมของฝ่ายสยามที่ต้องยกดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่
น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งตราดและจันทบุรี
ความสูญเสียดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การสูญเสียดินแดนในกัมพูชาและ
ลาวที่เหลืออยู่ในเวลาต่อมา ทำให้ชื่อของเสียมราฐ
พระตะบอง ศรีโสภณ ไชยบุรี จำปาศักดิ์กลายเป็นชื่อดินแดนในอดีตของชาติสยามไปอย่างอย่างขมขื่นช้ำใจเป็น
ที่สุดจวบจนถึงปัจจุบัน
ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความขมขื่นที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งกรุงรัตน
โกสินทร์ ว่ากันว่า การสูญเสียดินแดนอันเนื่องมาจาก "วิกฤติการณ์
ร.ศ. 112" ในครั้งนั้น ส่งผลทำให้รัชกาลทีี่่ 5 ทรงไม่เป็นอันเสวยหรือบรรทมจนกระทั่งประชวรหนัก เพราะเหตุทรงเจ็บช้ำพระราชหฤทัย
ขมขื่นและระทมทุกข์เป็นยิ่งนักกับการสูญเสียดินแดนอย่างถาวร
ถึงขนาดทำให้พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
บิดาแห่งกองทัพเรือไทย ต้องทรงสักยันต์ "ตราด ร.ศ.๑๑๒" ไว้ตรงพระอุระของพระองค์ เพื่อเป็นการย้ำเตือนถึงความเจ็บช้ำที่เกิดจากเหตุการณ์ในกาลนั้น
ภาพการรบระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ใน วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ที่ปากน้ำเมือง สมุทรปราการ จนนำไปสู่การเสียดินแดนของไทยให้แก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก |
พื้นที่สีฟ้าที่เป็นดินแดนประเทศลาว คือส่วนที่
สยามต้องยกให้ฝรั่งเศสหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112
|
ไม่น่าเชื่อว่า หมายเลข "112" จะกลับคืนมากลายเป็นหมายเลขที่ผ่านหูผ่านตาคนไทยมากที่สุด
ณ เวลานี้
เป็นที่รับรู้กันดีว่า การรัฐประหารยึดอำนาจในพ.ศ.2549
ได้กลายเป็นจุดเิริ่มต้นที่ทำให้เกิดวิกฤติทางการเมืองภายในประเทศที่ร้าว
ลึกต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
น่าสนใจว่า ปีพ.ศ.2549 เป็นช่วงเวลาที่ครบ 100 ปีพอดีพอดีของช่วงวิกฤติที่สยามต้องเสียดินแดนส่วนที่เรียกว่าเสียมราฐ
พระตะบอง ศรีโสภณรวมทั้งเกาะกูดให้แก่ฝรั่งเศสอย่างไม่มีวันได้กลับคืน
หนึ่งศตวรรษแห่งวิกฤติ ร.ศ.112 ได้ผ่านไป
แต่สังคมไทยกลับต้องเผชิญกับวิกฤติครั้งร้ายแรงอีกครั้งหนึ่ง เป็นความแตกแยกแตกร้าวทางการเมืองอย่างชัดเจน
เป็นวิกฤติทางการเมืองที่เรียกว่าเลวร้ายที่สุดในรอบ 100 ปีก็ว่าได้
ผลพวงหนึ่งของความขัดแย้งดังกล่าวก็คือประเด็นเรื่องของมาตรา 112
ที่ทำให้ความขัดแย้งและแตกแยกในสังคมไทยดำรงอยู่อย่างชัดเจนต่อไป เพราะความละเอียดอ่อนของมาตรา
112 ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับ "รากแก้ว" ของชาติไทย
นักวิชาการกลุ่ม "นิติราษฏร์" |
วิกฤติ 112: ปัญหาคนหรือปัญหาตัวอักษร? |
ความคิดเห็นที่แตกแยกแตกต่างกันในสังคมไทยต่อมาตรา
112 โดย-เฉพาะนักวิชาการกลุ่มนิติราษฏร์ (ซึ่งสมาชิกบางคนมีความคิดค่อนข้าง "ถอนรากถอนโคน" ผ่านการศึกษาจากฝรั่งเศส)
ที่มีบทบาทโดดเด่นเป็น "หัวหอก" ในการรณรงค์ให้มีการแก้ไข
มาตรา 112 จนถูกมองว่า ช่วยตอกย้ำและขยายวงความขัดแย้งให้ร้าวลึกยิ่งขึ้น
จนอาจกลายเป็น "วิกฤติการณ์ 112" อีกครั้งหนึ่ง
ครั้งหนึ่ง มาตรา 112 ถูกมองว่าเป็นผลพวงที่เกิดมาจากรัฐประหาร 2549 จนค่อยๆพัฒนากลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างไม่น่าจะเป็น
และในปัจจุบัน มาตรา 112 ถูกโยงใยให้กลายเป็นเงื่อนไขทีสำคัญหนึ่งของการสมานฉันท์ปรองดองอย่างหลีก
เลี่ยงไม่ได้ รวมถึงการโยงใยเพื่อสะท้อนให้เห็นว่าเป็นเสมือนหนึ่งมาตรวัดระดับความเป็น
ประชาธิปไตยและเสรีภาพ
ไม่มีใครทราบว่า ความขัดแย้งจนขยายวงกลายเป็น "วิกฤติ ม.112" ณ พ.ศ.ปัจจุบันนี้ จะมีส่วนทำให้ในหลวงพระองค์ท่านต้องทรงโทมนัสมากน้อยแค่ไหน
เว้นเสียแต่ว่าสังคมไทยจะสามารถหาทางออกและพลิก "วิกฤติการณ์
ม.112"
ให้กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ผลักดันทำให้การสมานฉันท์เกิดขึ้นเป็นจริงได้
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น