28 พฤษภาคม 2555

112 : วิกฤติซ้ำรอย

.



    
          เป็นเรื่องแปลกหรือจะเรียกว่าเป็นความบังเอิญก็ได้ ที่หมายเลข "112" เข้ามาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของประเทศไทยอย่างน่าสนใจ
          เป็นความเกี่ยวข้องที่ต้องกังวลต้องเรียกว่าวิกฤติของชาติ




วิกฤติ 112



ย้อนหลังไปเมื่อ 119 ปีก่อน ชาติสยามของเรา ณ เวลานั้นกำลังเผชิญกับวิกฤติครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์นับ ตั้งแต่ยุคสุโขทัยเป็นต้นมา เมื่อเกิดความขัดแย้งจนถึงขั้นนำไปสู่การเผชิญหน้าทางทหารระหว่างสยามกับฝรั่งเศส  หนึ่งในมหาอำนาจทางยุโรปที่เพิ่งบอบช้ำจากการพ่ายแพ้ทางทหารอย่างน่าละอายเป็นที่สุดต่อกองทัพปรัสเซียซึ่งก็คือชนชาติเยอรมัน
          ความขัดแย้งระหว่างกรุงเทพฯและปารีสในปี พ.ศ.2436 เป็นผลสืบเนื่องมาตั้งแต่ปี 2431 ในการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ถือเป็นวิกฤติ "ภัยตะวันตก" ที่ร้ายแรงที่สุดในยุคสมัยรัตนโกสินทร์ก็ว่าได้ จนเรียกขานและรู้จักกันดีว่า "วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112"
        ถึงที่สุดแล้ว "วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112" ก็ลงเอยด้วยความจำใจจำยอมของฝ่ายสยามที่ต้องยกดินแดนลาวฝั่งซ้ายของแม่ น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  รวมทั้งตราดและจันทบุรี
        ความสูญเสียดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การสูญเสียดินแดนในกัมพูชาและ ลาวที่เหลืออยู่ในเวลาต่อมา  ทำให้ชื่อของเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ ไชยบุรี จำปาศักดิ์กลายเป็นชื่อดินแดนในอดีตของชาติสยามไปอย่างอย่างขมขื่นช้ำใจเป็น ที่สุดจวบจนถึงปัจจุบัน
        ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความขมขื่นที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งกรุงรัตน โกสินทร์  ว่ากันว่า การสูญเสียดินแดนอันเนื่องมาจาก "วิกฤติการณ์ ร.ศ. 112" ในครั้งนั้น ส่งผลทำให้รัชกาลทีี่่ 5 ทรงไม่เป็นอันเสวยหรือบรรทมจนกระทั่งประชวรหนัก เพราะเหตุทรงเจ็บช้ำพระราชหฤทัย ขมขื่นและระทมทุกข์เป็นยิ่งนักกับการสูญเสียดินแดนอย่างถาวร
       ถึงขนาดทำให้พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ บิดาแห่งกองทัพเรือไทย ต้องทรงสักยันต์ "ตราด ร.ศ.๑๑๒" ไว้ตรงพระอุระของพระองค์ เพื่อเป็นการย้ำเตือนถึงความเจ็บช้ำที่เกิดจากเหตุการณ์ในกาลนั้น




ภาพการรบระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ใน วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ที่ปากน้ำเมือง
สมุทรปราการ จนนำไปสู่การเสียดินแดนของไทยให้แก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก




ThailandWithFlags.gif
พื้นที่สีฟ้าที่เป็นดินแดนประเทศลาว คือส่วนที่
สยามต้องยกให้ฝรั่งเศสหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112


        
ไม่น่าเชื่อว่า หมายเลข "112" จะกลับคืนมากลายเป็นหมายเลขที่ผ่านหูผ่านตาคนไทยมากที่สุด ณ เวลานี้
         เป็นที่รับรู้กันดีว่า  การรัฐประหารยึดอำนาจในพ.ศ.2549 ได้กลายเป็นจุดเิริ่มต้นที่ทำให้เกิดวิกฤติทางการเมืองภายในประเทศที่ร้าว ลึกต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
         น่าสนใจว่า ปีพ.ศ.2549 เป็นช่วงเวลาที่ครบ 100 ปีพอดีพอดีของช่วงวิกฤติที่สยามต้องเสียดินแดนส่วนที่เรียกว่าเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณรวมทั้งเกาะกูดให้แก่ฝรั่งเศสอย่างไม่มีวันได้กลับคืน  
         หนึ่งศตวรรษแห่งวิกฤติ ร.ศ.112 ได้ผ่านไป  แต่สังคมไทยกลับต้องเผชิญกับวิกฤติครั้งร้ายแรงอีกครั้งหนึ่ง เป็นความแตกแยกแตกร้าวทางการเมืองอย่างชัดเจน เป็นวิกฤติทางการเมืองที่เรียกว่าเลวร้ายที่สุดในรอบ 100 ปีก็ว่าได้
         ผลพวงหนึ่งของความขัดแย้งดังกล่าวก็คือประเด็นเรื่องของมาตรา 112 ที่ทำให้ความขัดแย้งและแตกแยกในสังคมไทยดำรงอยู่อย่างชัดเจนต่อไป เพราะความละเอียดอ่อนของมาตรา 112 ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวเนื่องกับ "รากแก้ว" ของชาติไทย




นักวิชาการกลุ่ม "นิติราษฏร์"




วิกฤติ 112: ปัญหาคนหรือปัญหาตัวอักษร?

        
ความคิดเห็นที่แตกแยกแตกต่างกันในสังคมไทยต่อมาตรา 112 โดย-เฉพาะนักวิชาการกลุ่มนิติราษฏร์ (ซึ่งสมาชิกบางคนมีความคิดค่อนข้าง "ถอนรากถอนโคน" ผ่านการศึกษาจากฝรั่งเศส) ที่มีบทบาทโดดเด่นเป็น "หัวหอก" ในการรณรงค์ให้มีการแก้ไข มาตรา 112 จนถูกมองว่า ช่วยตอกย้ำและขยายวงความขัดแย้งให้ร้าวลึกยิ่งขึ้น จนอาจกลายเป็น "วิกฤติการณ์ 112" อีกครั้งหนึ่ง 
          ครั้งหนึ่ง มาตรา 112 ถูกมองว่าเป็นผลพวงที่เกิดมาจากรัฐประหาร 2549  จนค่อยๆพัฒนากลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างไม่น่าจะเป็น และในปัจจุบัน มาตรา 112 ถูกโยงใยให้กลายเป็นเงื่อนไขทีสำคัญหนึ่งของการสมานฉันท์ปรองดองอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้  รวมถึงการโยงใยเพื่อสะท้อนให้เห็นว่าเป็นเสมือนหนึ่งมาตรวัดระดับความเป็น ประชาธิปไตยและเสรีภาพ
           ไม่มีใครทราบว่า ความขัดแย้งจนขยายวงกลายเป็น "วิกฤติ ม.112" ณ พ.ศ.ปัจจุบันนี้ จะมีส่วนทำให้ในหลวงพระองค์ท่านต้องทรงโทมนัสมากน้อยแค่ไหน 
         เว้นเสียแต่ว่าสังคมไทยจะสามารถหาทางออกและพลิก "วิกฤติการณ์ ม.112" ให้กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ผลักดันทำให้การสมานฉันท์เกิดขึ้นเป็นจริงได้




.

4 พฤษภาคม 2555

ในวันที่ City(ไม่)United

.




    เชื่อว่าในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้านี้ เมืองแมนเชสเตอร์จะต้องคึกคักเหมือนที่เคยเห็นป็นภาพคุ้นตาในเกือบทุกๆเดือนพฤษภาคมของแต่ละปี   
    สิ่งที่แน่นอนที่สุด ไม่ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวที่ไหนหรือไม่ว่าจะเกิดการรัฐประหารที่ใด  แชมป์ถ้วยพรีเมียร์ลีกในฤดูกาลนี้จะต้องอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์อย่างแน่นอน
     ไม่ว่าบรรยากาศแห่งการฉลองแชมป์จะอบอวลไปด้วยสีฟ้าของแฟนแมนฯซิตี้ หรือ สีแดงของแฟนแมนฯยูไนเต็ดก็ตาม



ท่านเซอร์ฯ ถ้วยใบนี้ขอผมเถอะ


    
     ต้องถือเป็นครั้งแรกๆในประวัติศาสตร์ก็ว่าได้ ที่สองทีมร่วมเมืองแมนเชสเตอร์ต้องสู้ต้องลุ้นกับตำำแหน่งเกียรติยศสูงสุดของประเทศใบนี้
     สำหรับแมนเชสเตอร์ ซิตี้แล้วนี่คือการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการครั้งยิ่งใหญ่นับตั้งแต่มหาเศรษฐี อาหรับเข้ามาซื้อทีมเมื่อสามสี่ปีก่อนพร้อมทุ่มงบมหาศาลจนกลายเป็นผู้ท้าชิงที่น่ากลัวที่สุดของทีมปีศาจแดงในปีนี้
     ณ เวลานี้ ว่ากันว่าแมนฯซิตี้จะได้แชมป์หรือไม่ก็อยู่กับฝีมือของตัวเองเท่านั้น  หากสามารถเอาชนะทั้งสองนัดสุดท้ายที่เหลือ ทีมเรือใบสีฟ้าก็จะเป็นแชมป์อย่างแน่อย่างนอน เบียดเอาคู่ปรับคู่แค้นอย่างปีศาจแดงให้ชอกช้ำแบบน่าเสียดายน่าเจ็บใจ



บางทีประตูโทนของวินเซนต์ กอมปานีลูกนี้อาจจะหมายถึงประตูแชมป์ก็ได้?


     แต่ในวงการฟุตบอล บางครั้งดวงก็เป็นเรื่องสำคัญและมีส่วนสำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ
     เพราะถ้าเลือกได้ แมนฯซิตี้คงอยากสลับคู่แข่งสองนัดสุดท้ายกับแมนฯยูไนเต็ดอย่างแน่นอน เพราะสองนัดสุดท้ายที่จะชี้ชะตากับตำแหน่งแชมป์และรองแชมป์นั้น ดูเหมือนแมนฯยูไนเต็ดจะมี
ดวงทีดีกว่าได้เจอทีมที่มีแรงจูงใจน้อยกว่า เพราะแมนฯซิตี้ต้องเจอกับสองทีมที่ลุ้นอันดับ 4 เหมือนกันอย่างบังเอิญ ในขณะที่แมนฯยูไนเต็ดเจอกับทีมที่ไม่ได้มีแรงจูงอะไรเป็นพิเศษ
     นัดรองสุดท้ายในวันอาิทิตย์นี้ แมนฯซีตี้ต้องพบกับศึกหนักนัดชี้ชะตาแชมป์กับทีมนิวคาสเซิลทีมที่กำลังรอลุ้นเป็นอันดับ 4 จากหัวตาราง เพื่อสิทธิในการเข้ารอบไปแข่งฟุตบอลยูเอฟ่าแชมป์เปี้ยนลีกในฤดูกาลหน้า 




'ทักษิณ' ในวันเริงร่ากับแฟนๆเรือใบสีฟ้า


ในใจ 'อภิสิทธิ์' คงกำลังรอลุ้นให้นิวคาสเซิลจมเรือใบสีฟ้า



        
       คงต้องติดตามอย่างน่าสนใจว่า ทีมของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรกับทีมขวัญใจของ อดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ เวชชาชีวะใครจะเข้าวิน
      บางที เราอาจจะได้เห็นอดีตผู้นำทั้งสองคนเกทับข้ามทวีปกันด้วยผลแพ้ชนะของฟุตบอลคู่นี้ก็เป็นได้
      นัดสุดท้ายของแมนฯซิตี้จะเปิดบ้านสนามเอธิฮัด สเตเดี้ยมที่เช่าจากเทศบาลเมืองแมนเชสเตอร์ เพื่อรอลุ้นว่าจะมีโอกาสได้ฉลองแชมป์ในบ้านหรือไม่ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับผลการแข่งขันกับทีมทหารเสือราชินีอย่างควีนปาร์ค แรงเจอร์  ทีมทีรอลุ้นอันดับ 4 จากท้ายตารางเพื่อให้รอดพ้นการตกชั้น 
       และที่ไม่ควรลืมก็คือว่า ในหลายๆครั้งหลายๆโอกาส ศิษย์เก่าโอลด์แทรฟฟอร์ดมีส่วนช่วยเสริมดวงให้กับทีมเก่าอย่างปีศาจแดงคว้าแชมป
       ซึ่งต้องดูว่า มาร์ค ฮิวส์ อดีตนักเตะเก่าของแมนฯยูไนเต็ด ที่ ณ เวลานี้ กุมบังเหียนเป็นนายใหญ่ของทีมควีนปาร์ค แรงเจอร์จะสามารถทำได้มากแค่ไหน  และขึ้นอยู่กับว่าฮิวส์จะพกพาอารมณ์ความหลังเดิมๆที่ถูกปลดออกจากทีมแมนฯซิตี้แบบยอมรับไม่ได้เพื่อพิสูจน์ตัวเองอีกหรือไม่
       อย่าลืมว่า ฮิวส์เคยทำได้มาแล้ว ในช่วงที่คุมทีมฟูลแล่มสามารถยันเสมอแมนฯซิตี้ถึงถิ่น เมื่อต้นปี 2011
      ถ้าทำได้อีกครั้งในปีนี้ กระแสคำขอบคุณจากโอด์ลแทรฟฟอร์ดจะหลั่งไหลไปถึงฮิวส์แบบไม่รู้จบ ทำให้ฮิวส์กลายเป็นฮีโร่อีกครั้งของแฟนๆปีศาจแดง
 
      

ไม่ต้องห่วงครับนาย

       ด้วยเหตุเพราะดวงของแมนฯซิตี้ต้องเจอกับทีมที่มีแรงฮึดแรงจูงใจเพื่อลุ้นอันดับ 4 จึงต้องถือว่าโชคไม่ดีนัก เพราะดวงเช่นนี้ อาจทำให้แมนฯซิตี้พลาดอดได้แชมป์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร
      ในขณะที่ทีมแมนฯยูไนเต็ดก็ใช่ว่า จะมีดวงดีขี่คู่แข่งร่วมเมืองจนสามารถคว้าแชมป์แบบเฉียดฉิวไปได้เสียทีเดียว เพระสองนัดสุดท้ายที่เจอกับสวอนซี และ ซันเดอร์แลนด์นั้น ก็มีความหมายบางอย่างที่ไม่อาจมองข้ามได้
     เพราะทั้งสวอนซีและซันเดอร์แลนด์คือสองทีมที่เคยยัดเยียดความปราชัยให้กับทีมแมนฯซิตี้มาแล้ว อย่างไม่น่าเชื่อ

      แต่เหตุการณ์ที่กำลังจะเำกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปี 2012 กลับคลับคล้ายคลับคลากับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1968 อย่างเหลือเชื่อ
      สำหรับแฟนบอลรุ่นแรกๆที่ยังไม่ถูกโรคอัลไซเมอร์รบกวน ก็คงอาจจะจำเหตุการณ์เมื่อ 44 ปีก่อนได้ไม่มากก็น้อย และเป็นเหตุการณ์ที่อาจจะทำให้แฟนๆของทีมแมนฯซิตี้ภาวนาให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย 
      ในการแข่งขันฟุตบอลดิวิชั่น 1 (ซึ่งถือเป็นลีกสูงสุดของอังกฤษในเวลานั้น) นัดสุดท้ายประจำฤดูกาลเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 1968 เป็นนัดที่สำคัญที่สุดที่ชี้ชะตาว่าแมนฯซิตี้หรือแมนฯยูไนเต็ดใครจะเข้าวินคว้าชมป์ไปครอง นั่นเป็นครั้งสุดท้ายทีทั้งสองทีมร่วมเมืองแมนเชสเตอร์ต้องทำศึกจนถึงวันสุดท้ายเพื่อแย่งแชมป์ก่อนจะเกิดขึ้นอีกครั้งในฤดูกาลนี้





ประตูแรกของไมค์ ซัมเมอร์บีที่เปิดทางให้แมนฯซิตี้คว้าชัย 4-3 เหนือนิวคาสเซิล





ภาพแฟนๆเรือใบสีฟ้าที่วิ่งลงสนามเซนต์เจมส์ปาร์คฉลองแชมป์เมื่อปี 1968






        ณ เวลานั้น ทั้งสองทีมต่างมีคะแนนเท่ากัน โดยแมนฯซิตี้มีลูกได้เสียดีกว่าเหมือนเช่นในวันนี้ และที่บังเอิญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ  นัดสุดท้ายชี้ชะตา แมนฯซิตี้ต้องล่องเรือใบไปเยือนถิ่นนิวคาสเซิลด้วยเป้าหมายว่าชัยชนะคือแชมป์เีปี้ยนแน่นอนเช่นเดียวกับเหตุการณ์ในฤดูกาลนี้ ส่วนแมนฯยูไนเต็ดทำศึกกับซันเดอร์แลนด์ ด้วยเป้าหมายที่ต้องทำให้ได้ดีกว่าทีมปฏิปักษ์คู่เมือง   
         สุดท้ายแล้ว กลายเป็นแมนฯซิตี้ที่สามารถคว้าแชมป์ได้อย่างชนิดลุ้นจนตัวโกร่ง  ชัยชนะต่อนิวคาสเซิลในวันนั้นเพียงพอสำหรับตำแหน่งแชมป์ที่เป็นแชมป์ฟุตบอลลีกสูงสุดของประเทศครั้งล่าสุดของสโมสร  เพราะแมนฯยูไนเต็ดพ่ายแพ้ให้แก่ซันเดอร์แลนด์ไปแบบหมดลุ้น
       คงต้องรอลุ้นในอาทิตย์นี้ว่า สุดท้ายแล้ว ดวงใครจะแข็งกว่ากัน ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยหรือไม่  แมนฯซิตี้จะสามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ได้หรือไม่ หลังจากที่เฝ้ารอคอยมานานกว่า 44 ปี หรือว่าแมนฯยูไนเต็ดจะตอกย้ำความยิ่งใหญ่ด้วยการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก เป็นสมัยที่ 13 ได้หรือไม่   
       แต่ที่แน่ๆ ไม่ว่าใครจะเป็นแชมป์ เมืองแมนเชสเตอร์จะไม่เป็นหนึ่งเดียวอย่างแน่นอน




.

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...