6 สิงหาคม 2554

ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 3)

.....................................................................................................................

คลิกอ่าน 
ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 1) 
             
ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 2)

......................................................................................................................


ตำนานแห่งความสำเร็จของดัทช์คอนเนคชั่น ย่อมมีให้กล่าวถึงอยู่เสมอ และช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งความสำเร็จของทีมยักษ์ใหญ่อย่างเอซี มิลานและบาเยิร์น มิวนิคก็ ส่วนเกี่ยวข้องกับดัทช์คอนเนคชั่นอย่างชัดเจน

ก่อนหน้านี้ หลุยส์ ฟานกาลเป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งของดัทช์คอนเนคชั่นในถิ่นแคมป์นูของบาร์เซโลน่า และเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมบาเยิร์น มิวนิค ในปี 2009 ก็สร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งกับทีมยักษ์ใหญ่แห่งเยอรมนี

มาร์ค ฟานบอมเมลเป็นนักเตะดัทช์เพียงคนเดียวในบาเยิร์น มิวนิคในช่วงเวลาที่ฟานกาลเข้ามาเป็นรับหน้าที่นายใหญ่ ถึงแม้ว่าจะชื่นชมและเชื่อมั่นนักเตะเพื่อนร่วมชาติเป็นการส่วนตัว แต่ฟานกาลก็เรียนรู้ประสบการณ์หนึ่งจากบาร์เซโลน่าว่า ไม่มีใครชื่นชอบที่เห็นนักเตะดัทช์ชี่มากเกินไปจนล้นทีม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นประเทศคู่แค้นของเนเธอร์แลนด์มาตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

ฟานกาลไม่ต่างจากดัทช์คนอื่นๆโดยทั่วไปที่ยังมีอารมณ์ความรู้สึกเกลียดชังและเจ็บแค้นจากการกระทำของกองทัพนาซี แม้ช่วงเวลาจะผ่านไปแล้วกว่า 65 ปี แต่ก็คงเป็นเรื่องไม่ฉลาดหากฟานกาลจะทำให้สโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเยอรมนีแห่งนี้เต็มไปด้วยนักเตะดัทช์เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในบาร์เซโลน่าก่อนหน้านี้


 
ฟาน รอมเมลโชว์ฟอร์มได้สมค่าสมคลาสและสมตำแหน่ง
กัปตันทีมที่ทำให้คนดัทช์ภาคภูมิใจและคนเยอรมันยอมรับ

ฟานกาลโชคดีที่ฟานบอมเมลได้รับเลือกให้เป็นกัปตันทีมของบาเยิร์นก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่ง ซึ่งถือเป็นสิ่งที่มีความหมายมีนัยยะอย่างมากมาก การเป็นกัปตันทีมต่างชาติและเป็นดัทช์คนแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสรยักษ์ใหญ่ที่สุดของประเทศ ย่อมต้องได้รับไฟเขียวจากบรรดาผู้อาวุโสและนักเตะระดับตำนานของเยอรมนี โดยเฉพาะฟรานท์ เบคเคนเบาว์ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดา สะท้อนให้เห็นกลิ่นกลายของความสมานฉันท์และความพยายามของเยอรมันที่จะสร้างความประทับใจให้กับชนชาติดัทช์ อย่างน้อยที่สุดเพื่อเป็นการไถ่บาปในอดีตที่กองทัพนาซีได้กระทำต่อชาติฮอลแลนด์ในช่วงสงครามโลก

เทียบเคียงกันแล้ว ไม่ต่างกับสิ่งที่เบิร์น ชูสเตอร์ได้ทำเมื่ออยู่ในตำแหน่งผู้จัดการทีมรีล แมดริด เพราะเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงที่จะเห็นผู้จัดการทีมเชื้อเยอรมันคนนี้จะชื่นชมและไว้วางใจนักเตะดัทช์มากขนาดนี้ ถึงขนาดยอมให้มีนักเตะดัทช์ชี่อยู่ในทีมถึง 6 คน

เป็นครั้งแรกๆที่ได้เห็นคนสองชาตินี้ทำงานร่วมกันอย่างให้เกียรติและไว้วางใจขนาดนี้

แต่ถึงแม้จะมีดัทช์คอนเนคชั่นคลาสระดับโลกอยู่ในทีมหลายคน แต่ชูสเตอร์ก็ทำผิดพลาดชนิดที่คนเป็นผู้จัดการทีมแมดริดไม่ควรทำ ก็คือการยอมรับว่าแมดริดยังไม่ดีพอที่จะสู้กับคู่แค้นคู่เคืองอย่างบาร์เซโลน่าได้  สุดท้ายชูสเตอร์ก็ถูกกดดันให้ลาออก จนทำให้ดัทช์คอนเนคชั่นในถิ่นเบอร์นาบิวแพแตก




การได้รับเกียรติให้ใส่หมายเลข 10 ใน
ทีมบาเยิร์น มิวนิคสำหรับนักเตะดัทช์อย่าง
ร็อบเบ็นไม่ใช่เป็นเรื่องธรรมดาอย่างแน่นอน

ถึงแม้จะเป็นนักเตะร่างเล็ก แต่ร็อบเบ็นก็
ดูตัวสูงขึ้นๆ ด้วยการโชว์ฟอร์มสมคลาส

สำหรับฟานกาลแล้ว การได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการดัทช์คนแรกของบาเยิร์น มิวนิคถือเป็นเกียรติที่พิเศษมากๆ นอกเหนือจากการมีบอมเมลเป็นกัปตันทีม อาเยิน ร็อบเบ็นเป็นนักเตะระดับโลกคนเดียวที่ฟานกาลซื้อมาร่วมทีมสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับทีมเสือใต้

สามประสานดัทช์ชี่ได้ช่วยกันสร้างความสำเร็จให้กับบาเยิร์นในทันที
 ด้วยมันสมองของฟานกาลบวกกับฝีเท้าที่โดดเด่นทุ่มเทของทั้งฟานบอมเมลและร็อบเบ็น เพียงฤดูกาลแรก(2009-10)ของดัทช์คอนเนคชั่น บาเยิร์นสร้างประวัติศาสตร์ได้ลุ้น 3แชมป์ก่อนที่จะสมหวังเพียงแค่ดับเบิ้ลแชมป์ และพ่ายอินเตอร์มิลานในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลแชมป์เปี้ยนลีก
 
เกียรติประวัติที่ฟาลกาลมีส่วนร่วมสำคัญ
ในความสำเร็จของบาเยิร์น มิวนิค

ฤดูกาลต่อมา ดัทช์คอนเนคชั่นเหลือเพียงเฉพาะฟานกาลและร็อบเบ็นสองหน่อหลังจากที่บอมเมลขอย้ายไปร่วมทีมเอซี มิลาน ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บาเยิร์นไม่ประสบความสำเร็จใดๆเลยในฤดูกาลนั้น จนกระทั่งฟาลกาลต้องลาออกไป แต่ผลงานของดัทช์คอนเนคชั่นในฤดูกาล 2009-10 เป็นช่วงประวัติศาสตร์ที่ได้รับคำชื่นชมและอยู่ในความทรงจำของแฟนๆเสื้อใต้แห่งเยอรมันทีมนี้ และมีส่วนทำให้ความรู้สึกของคนสองชาตินี้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย
 
เอซี มิลานเป็นอีกทีมหนึ่งที่มีช่วงแห่งความทรงจำทีดีกับดัทช์คอนเนคชั่น เป็นยุคที่เรียกว่าดัทช์คอนเนคชั่นเบ่งบานที่สุดและเป็นยุคที่เอซี มิลานเกรียงไกรที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรก็ว่าได้  มิลานโชคดีเหลือหลายที่มีนักเตะดัทช์ระดับโลกอยู่ในทีมพร้อมๆกันทั้งสามคน นั่นคือ มาร์โค ฟานบาสเทน, รุค กุลลิค และแฟรงค์ ไรท์การ์ด อาจเรียกได้ว่าสามดัทช์ชี่คือปัจัยสำคัญที่นำความสำเร็จและความยิ่งใหญ่มาสู่มิลานในช่วงระหว่างปี 1987-1992(ในยุคที่มีอริโก ชาคคี่และฟาบิโอ คาเปลโลเป็นผู้จัดการทีม) 


 8, 9 และ 10 คือหมายเลขสำหรับสามดัทช์ชี่


กุลลิค, ฟานบาสเทนและไรท์การ์ดกลายเป็นตำนาน
สามทหารเสื้อดัทช์ชี่ที่สร้างประวัติศาสตร์คว้าแชมป์
มากที่สุดในบรรดาดัทช์คอนเนคชั่นทั้งหมด

ในยุคสามทหารดัทช์ชี่ เอซี มิลานคือทีมที่ยิงใหญ่
เกรียงไกรที่สุดในยุโรปยุคนั้นอย่างไม่มีข้อสงสัย


ภายใต้พลังของสามทหารเสือดัทช์ชี่ มิลานคว้าแชมป์ต่างๆมาประดับบารมีถ้วยแล้วถ้วยเล่ารวม 10 แชมป์ นอกจากแชมป์ซีรีย์อา 2 สมัยแล้ว ที่สำคัญพิเศษสุดก็คือการคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพ(หรือยูเอฟ่าแชมป์เปี้ยนลีกในปัจจุบัน) 2 สมัยติดต่อกันในปี 1989 และ 1990 เป็นประวัติศาสตร์ที่อยู่คงกระพันมาจนถึงทุกวันนี้  ประกาศศักดาเป็นแชมป์เปี้ยนตัวจริงที่เก่งกาจที่สุดในยุคนั้น โดยนัดชิงชนะเลิศทั้งสองครั้ง มิลานได้ประตูจากสามดัทช์ชี่ทั้งหมด เป็นผลงานดัทช์ชี่ที่ยากจะลืมเลือน

เมื่อหมดยุคสามดัทช์ชี่มหัศจรรย์  มิลานก็อาจจะไม่(กลับมา)ยิ่งใหญ่เกรียงไกรเหมือนเดิม แต่อย่างน้อยที่สุด มิลานในวันนี้ก็ยังมีนักเตะดัทช์ชี่เป็นกำลังสำคัญอยู่ แน่นอนที่สุดว่า ณ วันนี้คลาเรนซ์ ซีดอร์ฟ คือนักเตะดัทช์ที่อยู่กับมิลานนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2002 เป็นนักเตะหมายเลข 10 ที่คงกระพันและได้รับการยอมรับเป็นอย่างมาก


ซีดอร์ฟสร้างตำนานและเกียรติประวัติให้แก่
ดัทช์ชี่ในถิ่นซานซิโรไม่น้อยหน้าสามทหารเสือ
 
นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง ที่นักเตะดัทช์มักจะนำโชคมาให้หลายๆสโมสร นับตั้งแต่ครัยฟ์นำแชมป์ลาลิก้ามาให้แก่บาร์เซโลน่าเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี (1974) เช่นเดียวกับฟานกาลที่นำบาร์เซโลน่าคว้าแชมป์ของประเทศและสองสมัยติดต่อกันเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีและสามารถพาบาเยิร์น มิวนิคทะลุเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศแชมป์เปี้ยนลีก ได้เป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี ส่วนไรท์การ์ดก็ไม่ยอมน้อยหน้า สามารถนำถ้วยลาลีก้ากลับคืนสู่แคมป์นูได้เป็นครั้งแรกในรอบ ปี  ในขณะที่ผลงานของสามประสานดัทช์ชี่แห่งมิลานนั้นสุดยอดที่สุด เพราะสามารถนำแชมป์ซิรีย์อากลับมายังถิ่นซานซิโรได้เป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี และทำให้มิลานเป็นแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี


เมื่อพูดถึงซีดอร์ฟซึ่งกำลังสร้างประวัติศาสตร์อยู่มิลานครบหนึ่งในทศวรรษ เป็นนักเตะดัทช์ที่ยืนหยัดอยู่กับหนึ่งสโมสร (ที่อยู่นอกประเทศเนเธอร์แลนด์) ได้นานที่สุด เป็นนักเตะต่างชาติที่ลงสนามให้มิลานมากที่สุด  ก่อนหน้านี้ ซีดอร์ฟมีส่วนสำคัญทำให้รีล แมดริดคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพ (แชมป์เปี้ยนลีก) ใปนี 1998 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 32 ปี และเมื่อมาอยู่มิลาน  ก็ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสถิติ ต่อไป

ในฤดูกาล 2002-03 ซึ่งเป็นฤดูกาลแรกของซีดอร์ฟในทีมปีศาจแดงดำถิ่นแฟชั่นของอิตาลี ดูเหมือนซีดอร์ฟจะเป็นผู้นำโชคมาให้แก่ทีม เพราะมิลานสามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ที่รอคอยมานาน นั่นคือได้แชมป์โคปป้าอิตาลี่เป็นครั้งแรกในรอบ 26 ปี และแชมป์เปี้ยนลีกในรอบ 9 ปี

ตลอดช่วงระยะเวลา 8 ปีก่อนที่มาร์ค ฟานบอมเมลจะย้ายจากบาเยิร์น มิวนิคมาสังกัดชายคาใหม่ ณ ถิ่นซานซิโร เอซี มิลานก็ได้มีโอกาสต้อนรับยาป สตัม (ปี2004-2006) และคลาส แยนฮุนเตลล่าร์ (ปี 2009-2010) และได้คำตอบว่า ไม่ใช่ดัทช์ชี่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จในบ้านใหม่หลังนี้ 



สำหรับสตัมแล้ว กลิ่นแห่งความสำเร็จในสีเสื้อ
แมนฯยูไนเต็ดไม่อาจงอกงามในสีเสื้อเอซี มิลานได้



สตัมกับความสำเร็จแชมป์ซูเปอร์คอปป้าหนึ่ง
เดียวในชุดสีเสื้อปีศาจแดงดำแห่งอิตาลี่

ฮุนเตลลาร์กลายเป็นนักเตะดัทช์ชี่คนเดียวที่ไม่
เคยคว้าแชมป์ใดๆได้เลยในสีเสื้อเอซี มิลานทั้งๆที่ถูก
คาดหมายว่าจะเป็นฟานบาสเตนคนใหม่ในถิ่นซานซิโร

เมื่อฟานบอมเมล ตัดสินใจย้ายมาร่วมทีมเอซี มิลานหลังจากประสบความสำเร็จกับบาเยิร์น มิวนิค ก็ได้ประสานรวมพลังกับซีดอร์ฟอย่างลงตัว กลายเป็นกุญแจสำคัญในช่วงยุคเปลี่ยนผ่านของสโมสร  ทำให้มิลานคว้าแชมป์ซีรีย์อาเป็นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี


ฟาน บอมเมลกับอีกตำนานหนึ่งแห่งความสำเร็จ

ฟานบอมเมลและซีดอร์ฟคือสองดัทช์ชี่ในยุค
ปัจจุบันที่เข้าขาเป็นปี่เป็นขลุ่ย


In demand: Wesley Sneijder (centre) has long been linked with Manchester United

สามดัทช์ชี่ในถิ่นซานซิโร - ฟานบอมเมล, ชไนเดอร์ และซีดอร์ฟ

 ทั้งซีดอร์ฟและฟานบอมเมลอยู่ในช่วงยุคสุดท้ายของอาชีพค้าแข้ง จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ใครจะเป็นดัทช์ชี่คนใหม่สืบสานตำนานดัทช์คอนเนคชั่นในถิ่นซานซิโรแห่งนี้


.

2 สิงหาคม 2554

ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 2)

.....................................................................................................................

คลิกอ่าน ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 1)
.....................................................................................................................


สำหรับรีล แมดดริยักษ์ใหญ่คู่รักคู่แค้นของบาร์เซโลน่าแล้ว การถูกโยฮัน ครัยฟ์ปฏิเสธไม่มาร่วมทีมด้วยเหตุผลเพราะนายพลฟรังโก ถือเป็นการ "ตบหน้า" ให้อับอายเป็นอย่างยิ่ง เพราะด้วยอำนาจทางการเมืองที่เต็มเปี่ยม ยากนักที่ใครจะกล้าปฏิเสธนายพลเผด็จการแห่งสเปนได้ หากยังจำกันได้ นายพลฟรังโกเคยถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจแทรกแซงและชิงดิ สเตฟาโน สุดยอดนักเตะของโลกในยุค '50s มาจากบาร์เซโลน่า ชนิดที่ทำให้ความเป็นปฏิปักษ์กันระหว่างสองทีมยักษ์ใหญ่แห่งสเปนบาดหมางยิ่งขึ้น และดิ สเตฟาโนคนนี้คือผู้สร้างความแตกต่าง และทำให้รีล แมดริดคว้าแชมป์ในประเทศ (หรือแชมป์ลาลีก้าในปัจจุบัน) 8 สมัย และแชมป์ยุโรเปี้ยน 5 สมัยติดต่อกันในช่วงปี 1956-1960

หากได้ตัวครัยฟ์มาร่วมทีมในยุค '70s รีล แมดริดคงคว้าแชมป์ถ้วยต่างๆ มาครองจนเต็มตู้แน่นอน และประวัติศาสตร์ของบาร์เซโลน่าก็อาจจะไม่ยิ่งใหญ่เหมือนเช่นในวันนี้ก็ได้

เพราะพลาดหวังตัวครัยฟ์ในครั้งนั้น อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ประวัติศาสตร์ของสโมสรไม่เคยมีโอกาสได้ต้อนรับนักเตะดัทช์เลย เรียกว่าไม่ได้มีความผูกพันหรือมีดัทช์คอนเนคชั่นที่ลึกซึ้งเหมือนเช่นบาร์โซโลน่าทอดยาวไปจนกระทั่งปี 1996 เมื่อคลาเรนซ์ ซีดอร์ฟตัดสินใจย้ายจากทีมอาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัมมาร่วมสังกัดรีล แมดริด

นอกจากซีดอร์ฟจะสร้างประวัติศาสตร์เป็นดัทช์คนแรกๆในถิ่นเบอร์นาบิว เรียกว่า ต้องใช้เวลารอนานกว่า 23 ปีนับตั้งแต่วันที่ครัยฟ์เลือกไปอยู่กับบาร์เซโลน่า กว่าที่สโมสรยักษ์ใหญ่ในเมืองหลวงของสเปนจะเปิดประตูต้อนรับดัทช์ชี่แล้ว ซีดอร์ฟกลายเป็นนักเตะดัทช์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในถิ่นเบอร์นาบิวด้วยการคว้าแชมป์ทั้งหมด 4 ถ้วยใน ช่วง 2 ฤดูกาลแรก โดยเฉพาะแชมป์ลาลิกาและแชมป์เปี้ยนลีก



หนึ่งเดียวดัทช์ชี่นามซีดอร์ฟนักเตะผิวสีในทีมรีล แมดริด

ซีดอร์ฟสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักเตะดัทช์ชี่คนแรก
ในสีเสื้อราชันชุดขาวที่คว้าแชมป์รายการยูเอฟ่าแชมป์เปี้ยนลีก

กุส ฮิดดิ้งค์กลายเป็นผู้จัดการทีมชาวดัทช์คนแรกและ
คนเดียวที่เคยคุมทีมรีล แมดริดและล้มเหลวไม่สามารถ
สร้างความสร้างเกียรติประวัติให้แก่ดัทช์คอนเนคชั่น
ในถิ่นรีล แมดริดเหมือนเช่นที่มิเชลส์, ครัยฟ์, ฟานกาล
และไรท์การ์ดพิสูจน์ที่บาร์เซโลน่า


ดูเหมือนว่า บทบาทและผลงานของซีดอร์ฟที่ประสบความสำเร็จอย่างเหลือหลายในช่วงสองฤดูกาลแรก สร้างความประทับใจให้แก่ผู้บริหารของรีล แมดริดมากขึ้น จนนำไปสู่การแต่งตั้งกุส ฮิดดิ้งค์ให้เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ในฤดูกาล 1998-1999 ด้วยความคาดหวังที่สูงเลิศ

แต่โชคไม่เข้าข้าง  เพราะความไม่ลงรอยกันระหว่างฮิดดิงค์และซีดอร์ฟ ทำให้ทั้งสองดัทช์ชี่ไม่สามารถสร้างชื่อสร้างผลงานเกรียงไกรให้แก่ราชันท์ชุดขาวเป็นเกียรติประวัติแก่ดัทช์คอนเนคชั่นเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในถิ่นบาร์เซโลน่า  ผลสุดท้าย รีล แมดริดจบฤดูกาลนั้นโดยไม่มีตำแหน่งแชมป์ใดๆ ทั้งฮิดดิ้งและซีดอร์ฟก็ต้องโยกย้ายจากลาถิ่นเบอร์นาบิวไปตามวิถีของแต่ละคน

ความล้มเหลวดังกล่าว อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้รีล แมดริดว่างเว้นจากดัทช์คอนเนค ชั่นกว่า 7 ปี จนกระทั่งได้รุค ฟานนิสเติลรอยมาร่วมทีมในปี 2006 ถือเป็นนักเตะดัทช์คนแรกในสหัสวรรษใหม่ ถึงแม้จะมีอาการบาดเจ็บ แต่อดีตนักเตะศูนย์หน้าของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคนนี้ก็มีบทบาทสำคัญในการช่วยแมดริดคว้าแชมป์ลาลิก้าเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี

ความสำเร็จของซีดอฟและฟานนิสเติลรอยอาจทำให้ผู้บริหารของรีล แมดริดเริ่มไม่เชื่อในทฤษฏีที่ว่า "ดัทช์คอนเนคชั่นไม่ถูกโฉลกกับราชันท์ชุดขาว" ในขณะที่อีกฟากหนึงของประเทศ ดัทช์เริ่มอ่อนกำลังลงที่บาร์เซโลน่า จึงเปิดโอกาสให้แมดริดทดลองดัทช์คอนเนคชั่นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสรก็ว่าได้


ฟานรุดเติลรอยบินได้สูงในถิ่นเบอร์นาบิว


ความสำเร็จของรีล แมดริดในปี 2007


ในฤดูกาล 2007-08 เป็นปีที่เบอร์นาบิวมีลมแรงทำให้กังหังลมพัดหมุนสะพัด การแต่งตั้งเบิร์น ชูสเตอร์ผู้จัดการคนใหม่ชาวเยอรมัน คือจุดเริ่มต้นของดัทช์คอนเนคชั่นครั้งใหญ่ และสร้างปรากฏการณ์ซื้อนักเตะดัทช์มาร่วมชายคาสมทบกับฟาน นิสเติลรอยพร้อมๆกันถึง 3 คนคือ อาร์เยิน ร็อบเบ็น, เวสลีย์  ชไนเดอร์และรอยส์เติน เดรนเธะดาวรุ่งวัตถุดิบที่รอการปรุงแต่ง 


ถึงจะเป็นเยอรมัน แต่เบิร์น ชูสเตอร์
ก็ชื่นชมนักเตะดัทช์มากๆ 

การซื้อดัทช์ชี่คลาสระดับโลกอย่างร็อบเบ็นหรือชไนเดอร์เพียงคนใดคนหนึ่งก็นับว่าเพียงพอแล้ว แต่การซื้อพร้อมๆกันทีเดียวทั้งสองคนบ่งบอกว่าแมดริดเอาจริงชนิดหวังผลทันที 

ไม่มีสิ่งใดที่จะมีน้ำหนักพิสูจน์ว่าตัดสินใจถูกหรือผิดเท่ากับกับตำแหน่งแชมป์ เพราะในฤดูกาลแรกของชูสเตอร์กับทฤษฏีดัทช์คอนเนคชั่น รีล แมดริดสามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ คือแชมป์ลาลีก้าและแชมป์ซูเปอร์โคปา


อาร์เยิน ร็อบเบนช่วยเพิ่มความเร็ว
ความกว้างให้กับราชันชุดขาว

ในสีเสื้อราชันชุดขาว ร๊อบเบ็นไม่ได้ทำให้เสียชื่อดัทช์ชี่เลย


เวสลีย์  ชไนเดอร์ได้ชื่อว่าเป็นดัทช์ชี่ที่
เล่นได้โดดเด่นและคงเส้นคงวาที่สุด


Arjen Robben celebrates his fine goal with compatriot Wesley Sneijder as Real Madrid defeat Villarreal 1-0.
ทั้งชไนเดอร์และร็อบเบ็นไม่มีสิ่งใด
ที่ต้องพิสูจน์คลาสระดับโลกอีกแล้ว



ดัทช์ชีเริงร่าในราชันชุดขาวกับแชมป์ลาลีก้าฤดูกาล 2007-08

ชื่นชมและดีใจกับแชมป์ซูเปอร์โคป้าในปี 2008

เมื่อเชื่อมั่นว่ามาถูกทางแล้ว เชื่อมั่นว่าแมดริดเป็นสโมสรที่ถูกโฉลกกับดัทช์คอนเนคชั่น ชูสเตอร์จึงได้รับไฟเขียวให้เดินหน้าต่อไป  ดัทช์ชี่คนที่ 5 คนที่ 6 จึงได้ถูกซื้อเข้ามาสมทบ ชื่อชั้นของราฟาเอล ฟานเดอฟาร์ทย่อมอยู่ในแนวคลาสเดียวกับร็อบเบ็นและชไนเดอร์ ส่วนคลาส แยน ฮุนเดล่าร์คือดาวรุ่งที่มีแววจะเป็นฟานบาสเทนคนใหม่

ในฤดูกาล 2008-09เป็นฤดูกาลแห่งประวัติศาสตร์สำหรับรีล แมดริด เพราะมีนักเตะดัทช์ ชี่ร่วมทีมมากถึง 6 คน แต่ว่ากันว่า หากเลือกได้ นักเตะดัทช์เหล่านี้มีใจและอยากย้ายไปร่วมทีมบาร์เซโลน่ามากกว่า แต่เมื่อแคมป์นูไม่เปิดประตูต้อนรับ การเลือกมาร่วมทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทีมหนึ่งของโลกอย่างแมดริด จึงอาจเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าด้วยซ้ำ


คลาสของราฟาเอล ฟานเดอฟาร์ทไม่สามารถ
แปรเปลี่ยนเป็นฟอร์มที่เจิดจรัสได้
 
แยน ฮุนเตล่าร์ไม่สามารถสร้างชื่อให้
เป็นฟานบาสเทนคนใหม่ได้ 
  

ไม่เป็นไร....เราจะกอดคอร่วมชะตากรรมเดียวกัน


จากดาวรุ่งแห่งปี รอยส์เติน เดรนเธะ
กลายเป็นดาวดับในสีเสื้อราชันชุดขาว



ห้าดัทช์ชี่ที่ไม่สามารถแปรเปลี่ยนเป็น
พลังสร้างความเกรียงไกรให้กับแมดริดได้


แต่การถูกกดดันให้ลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมของชูสเตอร์ในปลายปี 2008 กลายเป็นจุดเปลี่ยนของดัทช์คอนเนค ชั่นในเบอร์นาบิวก็ว่าได้    เพราะนับตั้งแต่นั้น บรรดานักเตะดัทช์ชี่แต่ละคนเริ่มกลายเป็นส่วนเกินของทีม เริ่มเป็นที่รังเกียจและถูกมองข้ามฝีเท้าความสำคัญ เริ่มไม่มีตำแหน่งตัวจริง จนไม่เป็นที่ต้องการของผู้จัดการคนต่อๆมา

จุดจบของดัทช์คอนเนคชั่นชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประธานสโมสรคนใหม่ในกลางปี 2009 ซึ่งมีจุดยืนที่ชัดเจนว่า รีล แมดริดไม่ต้องการดัทช์ชี่อีกต่อไป นักเตะดัทช์แต่ละคนเริ่มกระเด็นกระดอนไปคนละทิศคนละทาง สโมสรยอมขาดทุนกว่าสองพันล้านบาท เพียงเพื่อให้สามารถขายหรือระบายนักเตะดัทช์ทั้ง 6 คนออกไปให้เร็วที่สุด

และเมื่อเริ่มต้นฤดูกาล 2010-11 ภายใต้ผู้จัดการทีมคนใหม่คนดังอย่างโฮเซ่ มูรินโญ่  แมดริดไม่หลงเหลือนักเตะดัทช์ระดับโลกอีกเลย ส่วนรอยส์เติน เดรนเธะก็เรียกว่าหมดอนาคตในทีมไปแล้ว รอวันเวลาว่าเมื่อไหร่จะมีทีมไหนสนใจได้ตัวแบบชั่วคราวหรือซื้อไปเลย  

คงเป็นเรื่องน่าคิดน่าติดตามว่า อีกนานแค่ไหนกว่าที่นักเตะดัทช์ชี่ระดับมีคลาสจะมีโอกาสหวนกลับคืนสู่ถิ่นเบอร์นาบิว อีกครั้งหนึ่ง




คลิกอ่าน ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 3)

ดัทช์คอนเนคชั่น (ตอนที่ 4) 

.

มอเตอร์ หรือ สติกเกอร์

เมื่อตอนที่ Real Madrid ทีมดังในสเปนตัดสินใจขาย Claude Makelele ให้กับทีม Chelsea แล้วซื้อ David Beckham มาแทนที่ในช่วงกลางปี 2003 ปรา...