นอกเหนือจากรถยนต์ประจำตำแหน่งของท่านผู้นำแล้ว
รถจักรยานยนต์ก็ถือว่ามีบทบาทเชื่อมโยงกับฐานะความเป็นผู้นำอย่างน่าสนใจ
รวมทั้งจักรยานที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของผู้นำในโลกปัจจุบัน
ถึงแม้จะไม่ได้มีฐานะเป็น
“รถประจำตำแหน่ง” เหมือนรถยนต์คันหรูคันโตโก้ขรึม
แต่มอเตอร์ไซค์กลับมีบทบาทหลายๆประการ ที่รถยนต์ทำไม่ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการการหนุนเสริมภาพลักษณ์ของท่านผู้นำในหลายๆมิติ
โดยพื้นฐานที่สุด จักรยานยนต์มีฐานะเป็น “ยานพาหนะ” ที่ใช้สำหรับการคมนาคมเดินทางทั่วไปและสำหรับคนทั่วๆไป แต่สำหรับบุคคลในระดับผู้นำหรือผู้มีชื่อเสียงในวงการต่างๆแล้ว มอเตอร์ไซค์เป็นอะไรที่มากกว่าเพียงแค่ยานพาหนะคันหนึ่ง ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองกลุ่ม
โดยพื้นฐานที่สุด จักรยานยนต์มีฐานะเป็น “ยานพาหนะ” ที่ใช้สำหรับการคมนาคมเดินทางทั่วไปและสำหรับคนทั่วๆไป แต่สำหรับบุคคลในระดับผู้นำหรือผู้มีชื่อเสียงในวงการต่างๆแล้ว มอเตอร์ไซค์เป็นอะไรที่มากกว่าเพียงแค่ยานพาหนะคันหนึ่ง ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรกคือบรรดาผู้นำ
(รวมทั้งคนมีชื่อเสียงในวงการต่างๆ) ที่รักและหลงใหลในมอเตอร์ไซค์อย่างจริงจัง
มีความสุขกับการได้ขับขี่มอเตอร์ไซค์ไปในพื้นที่ต่างๆด้วยตนเอง ได้สลัดความเป็น “ทางการ” ออกจากรถยนต์ประจำตำแหน่งที่ไม่สามารถขับขี่เองได้ และรู้สึกถึงความเป็นอิสระบนหลักอานสองล้อยนต์ที่มีเสน่ห์เหลือล้น ถือเป็นวิธีการพักผ่อนหย่อนใจที่มีคลาสมีราคา
(เหมือนเช่นกีฬากอล์ฟที่กลายเป็นกีฬาเฉพาะสำหรับผู้นำ)
ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่ง
มองหรือใช้มอเตอร์ไซค์ในฐานะ “เครื่องมือ” หนึ่งในการหนุนสร้างภาพพจน์ของผู้นำ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
ด้วยเอกลักษณ์หรือรูปแบบเฉพาะตัวของมอเตอร์ไซค์ (โดยเฉพาะฮาร์เลย์ เดวิดสัน)
ที่แตกต่างจากจักรยานยนต์ของคนทั่วๆไป จึงกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงตัวตนของผู้นำที่แตกต่างจากคนอื่นๆ
ที่สำคัญที่แตกต่างจากการขับเรือยอร์ชหรือเครื่องบินส่วนตัวก็คือ
การขับขี่มอเตอร์ไซค์ช่วยหนุนเสริมภาพลักษณ์ของผู้นำให้มีความเป็นมนุษย์
เหมือนเช่นปุถุชนตาดำตาสีฟ้าคนอื่นๆ
เพราะการขับขี่มอเตอร์ของผู้นำแทบจะไม่มีความเป็นพิธีการให้ยุ่งยาก
แต่คงความเป็นส่วนตัวหรือตัวตนของผู้นำคนนั้นๆ
จึงเป็นเหมือนการสื่อสารไปถึงสาธารณชนว่า ตัวผู้นำไม่ได้แตกต่างจากคนทั่วๆไป
สามารถเข้าถึงหรือสัมผัสได้
ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อความนิยมชมชอบผู้นำคนนั้นๆไม่มากก็น้อย
ด้วยความที่อังกฤษเป็นประเทศแรกๆที่ผลิตมอเตอร์ไซค์และมอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะหนึ่งที่จำเป็นในสมรภูมิศึกสงครามโลก ดังนั้น
การเชื่อมโยงระหว่างผู้นำกับมอเตอร์ไซค์จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกๆที่นี่
ถึงแม้ว่าสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 (พระอัยกาของสมเด็จควีนอลิซาเบธที่ 2) จะทรงไม่เห็นด้วยกับการที่พระโอรสคือ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 (พระบิดาของสมเด็จควีนอลิซาเบธที่ 2) ทรงหลงใหลในมอเตอร์ไซค์
เพราะเชื่อว่า สุภาพบุรุษควรขับรถยนต์(ไม่ใช่มอเตอร์ไซค์) ก็ตาม
แต่ก็ไม่สามารถบังคับห้ามได้
แม้กระทั่ง สมเด็จควีนอลิซาเบธที่ 2
ในขณะที่ยังดำรงฐานะเป็นเจ้าฟ้าหญิงก็ทรงชื่นชอบมอเตอร์ไซค์เหมือนพระบิดา
พระองค์เคยทำหน้าที่เป็น “พลขับและช่างเครื่อง” ของกองทัพอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
และหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 1952 ก็ไม่เคยปรากฏให้เห็นว่า
พระองค์จะทรงขับขี่รถมอเตอร์ไซค์อีกเลย